10 อันดับสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกค้นพบโดยบังเอิญ
โพสท์โดย mata
เมื่อจะกล่าวถึงสิ่งประดิษฐ์ส่วนมากเกิดจากความพยายาม ของเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ โดยทำการลองผิดลองถูกบ้าง มีทั้งที่ ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ แต่สิ่งประดิษฐ์ที่จะ กล่าวต่อไปนี้เป็นอันดับ 10 สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ ของผู้ประดิษฐ์คิดค้น ทำให้เกิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่า และถูกนำ มาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
อันดับที่ 1 ยาเพนิซิลลิน (Penicillin)
เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2471 หรือประมาณ 80 กว่าปีมาแล้ว เนื่องจาก Alexander Fleming ไม่ได้ทำความสะอาดห้องทดลอง ก่อนจะลาไปพักผ่อน เมื่อ Fleming กลับมายังห้องทำงาน เขา สังเกตุเห็นเชื้อราแปลกๆเจริญเติบโตอยู่บนจานอาหารที่เลี้ยงเชื้อ และรอบๆเชื้อราเหล่านั้นไม่มีการเจริญของเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเชื้อราที่ใช้ผลิตเพนิซิลลิน เพนิซิลลินจึงเป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ถูกค้นพบและยังมีการใช้งานกันอย่างแพร่ หลายในปัจจุบัน
อันดับที่ 2 เครื่องไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจ (Pacemaker)
เครื่อง Pacemaker เป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตทางการแพทย์ อุปกรณ์ชนิดนี้เกิดจากความสะเพร่าของวิศวกรชาวอเมริกันท่านหนึ่งชื่อ Wilson Greatbatch ขณะกำลังต่อวงจรไฟฟ้าของ เครื่องบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ โดย Greatbatch ต้องการ หยิบ resistor (ตัวต้านทานกระแสไฟฟ้า) ขนาด 10,000 โอห์ม แต่เขากลับไปหยิบ resistor ขนาด 1,000,000 โอห์มมาใช้แทน โดยไม่ได้สังเกตุ ซึ่งเมื่อเขานำวงจรดังกล่าวมาใช้งาน ได้พบว่า มีลักษณะเหมือนจังหวะการเต้นของหัวใจที่เต้น 1.8 มิลลิวินาที แล้วหยุดเต้นอีก 1 วินาที เป็นอย่างนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ
อันดับที่ 3 สีสังเคราะห์สีม่วง (Mauve)
เรื่องนี้ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแปลกๆ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2399 โดย William Perkin นักเคมีวัย 18 ปี พยายามคิดค้น ยารักษาโรคมาลาเรีย แต่การทดลองของ Perkin แทนที่จะได้ยา รักษาโรคมาลาเรียแต่กลับได้หมอกหนาทึบสีม่วงที่สวยงามจาก ปฏิกริยาทางเคมี ซึ่งถือเป็นสีย้อมสังเคราะห์สีแรกที่ค้นพบมี คุณสมบัติดีกว่าสีที่ได้จากธรรมชาติ เนื่องจากมีความสว่าง สดใส และสีไม่จางจากการซัก การค้นพบของ Perkin ทำให้วิชาเคมี เป็นสาขาที่สร้างรายได้ขึ้นมา เขาได้สร้างแรงจูงใจให้คนในสมัยนั้นหันมาสนใจวิชาเคมีมากยิ่งขึ้น หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ
แรงบันดาลใจจาก Perkin ก็คือ นักบัคเตรี (Bacteriologist) ชาวเยอรมันท่านหนึ่งที่ชื่อว่า Pual Ehrlich ซึ่งเป็นผู้บุกเบิก ศาสตร์ทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยา (immunology) และเคมีบำบัด (chemotherapy)
อันดับที่ 4 กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity)
เมื่อปี พ.ศ. 2439 นักฟิสิกส์ชื่อ Henri Becquerel มี ความสนใจกับสิ่งสองสิ่งนั่นก็คือ การเรืองแสงตามธรรมชาติ (natural fluorescence) และความแปลกใหม่ของรังสี X-ray เขาได้ทำการ ทดลองอย่างต่อเนื่องเพื่อทดสอบว่าถ้าแร่ธาตุที่เรืองแสงตาม ธรรมชาติเมื่อถูกปล่อยทิ้งไว้ภายใต้แสงแดดจะสามารถผลิตรังสี X-rays ได้หรือไม่ Becquerel ได้ทำการทดลองในช่วงฤดูหนาว แต่มีปัญหาเกิดขึ้นคือ ในระหว่างการทดลองนั้นมีอยู่สัปดาห์หนึ่ง โดยมัดเข้าด้วยกันแล้วเก็บไว้ในลิ้นชักเพื่อรอวันที่มีแสงอาทิตย์ เพียงพอที่จะทำการทดลองต่อ หลังจากนั้นเขากลับมายังห้อง ทำงานของเขาและได้พบว่า ได้เกิดรอยพิมพ์ของก้อนหินยูเรเนียม (Uranium rock) ปรากฏอยู่บนแผ่นถ่ายภาพ (photographic plate) ที่ถูกทิ้งไว้ด้วยกันในลิ้นชักโดยที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์ มาก่อน ซึ่ง Becquerel คาดว่าน่าจะมีบางสิ่งที่พิเศษอยู่ใน หินก้อนนั้น หลังจากการทำงานร่วมกับ Marie และ Pierre Curie เขาจึงได้ค้นพบว่า สิ่งนั้นก็คือสารกัมมันตภาพรังสีนั่นเอง
อันดับที่ 5 พลาสติก
เมื่อปี พ.ศ. 2450 มีการใช้สาร shellac เพื่อเป็นฉนวนใน เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ แต่เนื่องจากการใช้สาร shellac มีราคาแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตเครื่องอิเล็กทรอนิกส์สูงตามไปด้วย เพราะต้องนำเข้าสาร shellac ที่ได้จากสารคัดหลั่งของแมลงครั่ง จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นจึงนักเคมีชื่อ Leo Hendrik Baekeland คิดว่าหากเขาสามารถผลิตสารทางเลือกอื่นที่มี คุณสมบัติคล้ายสาร shellac เขาจะได้กำไรมหาศาลจากสารที่ เขาค้นพบ แต่การทดลองของ Baekeland กลับได้วัสดุที่สามารถ พิมพ์ขึ้นรูปได้ และสามารถทนความร้อนได้สูงโดยไม่บิดงอ เรียกว่า “Bakelite” Baekeland คิดว่า Bakelite ที่คิดค้นได้นี้จะ ถูกนำไปใช้ในการบันทึกในเครื่องเสียง แต่ต่อมาอีกไม่นานได้มี การนำสาร Bakelite ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกมากมาย ซึ่งพลาสติกที่ใช้กันในทุกวันนี้ก็ได้มาจากสาร Bakelite
Charls Goodyear ได้ใช้ความพยายามนานนับ 10 ปี ในการค้นหาวิธีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติยางให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยคุณสมบัติยางที่ต้องการ คือ ต้องทนต่อความร้อนและความเย็น แต่เขาก็ไม่สามารถเปลี่ยนคุณสมบัติของยางให้เป็นตามที่ต้องการได้ จนกระทั่งวันหนึ่ง Goodyear ได้ทำส่วนผสมของยาง กำมะถัน และ ตะกั่วหกลงไปในเตาที่กำลังร้อนอยู่ ทำให้ส่วนผสมทั้งสามหลอม รวมกันและไหม้เกรียมเป็นสีดำ เมื่อ Goodyear หยิบสิ่งที่เกิดขึ้น มานั้นมาสังเกตุดูเห็นว่ามีความแข็งแรงแต่น่าจะนำมาประยุกต์ใช้งานได้ หลังจากการค้นพบยางวัลคาไนซ์โดยบังเอิญของ Goodyear ปัจจุบันนี้มีการนำยางชนิดนี้มาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น ยางรถยนต์ และรองเท้า
อันดับที่ 7 เทฟลอน (Teflon)
กลับไปเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2473 มีนักเคมีหนุ่มของบริษัท DuPont ชื่อ Roy Plunkett กำลังทำวิจัยเพื่อผลิตสาร CFC (Chlorofluorocarbons) เพื่อใช้เป็นสารทำความเย็น (refrigerant) โดย Plunkett กล่าวว่า เขามีทฤษฎีที่เชื่อว่าการนำสารประกอบ ชื่อว่า TFE (tetrafluoroethylene) ทำปฏิกริยากับกรด hydrochloric ก็จะได้เป็นสารทำความเย็นขึ้น ดังนั้น Plunkett จึงได้ ทำการทดลองบรรจุแก๊ส TFE ใส่ในกระป๋องที่เย็นและมีความดันสูง จากนั้นเติมกรด hydrochloric เข้าไปในกระป๋อง แต่เมื่อ Plunkett เปิดกระป๋อง แต่เขากลับพบว่าไม่มีแก๊สอะไรออกมาจากกระป๋อง แล้วแก๊สเหล่านั้นหายไปไหน เมื่อ Plunkett เขย่ากระป๋องก็มี เกล็ดเล็กๆสีขาวๆหลุดออกมา Plunkett จึงได้ส่งเกล็ดเล็กๆ เหล่านี้ไปให้นักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นที่ DuPont ไปศึกษาต่อ ซึ่งต่อมาได้นำสารนี้มาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เคลือบเทฟลอนมาก มายในปัจจุบัน
อันดับที่ 8 เครื่องดื่มโค้ก
ไม่มีผลิตภัณฑ์อาหารชนิดไหนประสบความสำเร็จเท่ากับ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโค้ก เภสัชกร ชื่อ John Pemberton จากเมือง Atlanta พยายามค้นหาตัวยาที่ใช้รักษาอาการปวดหัว เขาได้ทำการ ผสมส่วนผสมต่างๆเข้าด้วยกัน (ซึ่งยังคงถูกปกปิดเป็นความลับ มาจนถึงวันนี้) และผลิตภัณฑ์ของเขาได้วางขายในร้านขายยา และใชเ้วลาเพียงแค่ 8 ปีเท่านั้น และหลังจากนั้นยาของเขา ก็กลายเป็นเครื่องดื่มบรรจุขวดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
อันดับที่ 9 Smart Dust
Jamie Link เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชา เคมี ที่ University of California อยู่นั้น หนึ่งในชิปซิลิกอน (Silicon chips) ได้เกิดระเบิดขึ้น จากการระเบิดครั้งนี้ Link ได้ค้นพบ ว่ามีชิ้นส่วนชิ้นเล็กๆอยู่หลายชิ้นที่ยังคงทำหน้าที่เป็นตัวเซ็นเซอร์ จากผลการค้นพบ Smart dust โดยบังเอิญของ Link ทำให้เขา ได้รับรางวัลสูงสุดจาก Collegiate Inventors Competition ในปี ค.ศ. 2003 โดยเซ็นเซอร์นี้สามารถใช้ตรวจสอบความบริสุทธิ์ ของน้ำดื่มหรือน้ำทะเล ตรวจจับสารเคมีที่เป็นอันตรายหรือสารต่างๆ ที่ส่งผลทางชีวภาพในอากาศ หรือแม้แต่การระบุตำแหน่งหรือ การทำลายเซลล์เนื้องอกภายในร่างกายได้
Saccharin เป็นสารให้ความหวานที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ สีชมพู การค้นพบเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2422 โดยนักเคมีชื่อ Constantin Fahlberg ความบังเอิญนี้เกิดจากการที่ Fahlberg ไม่ได้ล้างมือ หลังจากเสร็จสิ้นการทำงาน หลังจากที่เขากลับมาบ้านและ รับประทานอาหารร่วมกับภรรยาตามปกติ เขาได้ม้วนขนมปังและ รับประทานขนมปังนั้น เขารู้สึกว่าขนมปังที่เขารับประทานมี รสหวาน Fahlberg จึงสอบถามภรรยาว่าได้ใส่อะไรเข้าไปใน ขนมปังหรือเปล่า ภรรยาตอบว่าไม่ได้ใส่อะไรเข้าไปเป็นพิเศษ เขาจึงคิดว่าความหวานนั้นอาจมาจากมือของเขาที่ไม่ได้ทำความสะอาดก่อนรับประทานอาหารนั่นเอง ในวันต่อมา Fahlberg กลับมายังห้องทดลองของเขาแล้วเริ่มชิมสารต่างๆจนพบสารให้ความหวานที่เรียกว่า Saccharin ขึ้น
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
104 VOTES (4/5 จาก 26 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นักแสดงดัง แจ้งข่าว ติดเชื้อ “HIV” ก่อนโพสต์สุดเศร้าสับปะรดแห่งทางเท้า : ความสวยงามน่ารักของธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ เป็นภาพที่เรียกรอยยิ้มได้ดีทีเดียวเลยหนา...มังคุดคัด 8 ลูก 699 บาท! "พี่เอ ศุภชัย" เจอดราม่า ราคาแรงแซงโค้งHot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
จอนนี่ โซมาลี Youtuber คนดัง ก่อวีรกรรมป่วน! ชาวเน็ตแห่ #แบนจอนนี่โซมาลีอุ๊งอิ๊งเดินหน้าเอ็มโอยู44!ลั่นไม่เกี่ยวกับ'เกาะกูด'