หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

วิตามิน

Share แชร์โพสท์โดย ~...No NamE...~

Vitamin B12

วิตามิน

วิทามินบี 12 (Cyanocobalamine) มีหน้าที่ช่วยให้เซลประสาทและเซลเม็ดเลือดแดงมีความแข็งแรง และยังใช้ในการสร้าง DNA อีกด้วย

ในอาหาร วิทามินบี 12 จะจับอยู่กับส่วนของโปรทีน ดังนั้น อาหารที่มีโปรทีนมาก ก็จะมีวิทามินนี้อยู่มาก เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม 

ในร่างกาย เราสามารถเก็บวิทามินนี้ได้เป็นปี โอกาสที่จะเกิดการขาดค่อนข้างน้อย กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการขาดคือ ผู้ที่กินมังสวิรัติ เพราะในผักจะไม่ค่อยพบวิทามินนี้ 
นอกจากนี้ ในผู้ที่มีอาการบางอย่าง เช่น ไม่สามารถดูดซึมวิทามินบี 12 (Pernicious anemia) ก็อาจเกิดการขาดวิทามินได้เช่นกัน

อาการที่รักษาด้วยวิทามินบี 12 ได้
1. ภาวะขาดวิทามินบี 12 อาจเกิดความผิดปกติทางด้านระบบประสาทและด้านจิตใจหลายๆอย่าง เช่น สั่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความดันลด มองเห็นไม่ชัด ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน
2. โลหิตจางที่เกิดจากการขาดวิทามินบี 12 (Megaloblastic anemia)เซลเม็ดเลือดแดงจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ และมีนิวเคลียสที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
ปล. Megaloblastic anemia อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้ด้วย เช่น การขาด folate และโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ
3. Pernicious anemia มักเกิดจากการขาด Intrinsic factor ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้เกิดการดูดซึมวิทามินบี 12 เข้าสู่ร่างกาย ทำให้วิทามินบี 12 ไม่สามารถถูกนำไปใช้ได้

ปริมารที่ควรได้รับต่อวัน
ประมาณ 2-3 ไมโครกรัมต่อวัน
ในผู้สูงอายุ จะมีความสามารถในการดูดซึมวิทามินบี 12 ลดลง อาจให้ได้ถึงวันละ 25-100 ไมโครกรัม
ในผู้ที่ขาดวิทามิน อาจให้ได้ถึง 1-10 มิลลิกรัม

ผลข้างเคียง
ในคนที่แพ้ cobalamine หรือ cobalt อาจเกิดอาการแพ้ได้, ในผู้ที่ทำการผ่าตัดเกี่ยวกับหัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดแข็งตัวได้, เส้นเลือดอุดตัน, หัวใจเต้นเร็ว, Hypothyroid

 

Vitamin B6

วิตามิน

วิทามินบี 6 (Pyridoxine) ใช้ในการสร้างสารสื่อประสาท (Serotonin และ Norepinephrine) และในการสร้างเยื่อหุ้มเส้นประสาท

การขาดวิทามินบี 6 ในผู้ใหญ่ จะส่งผลถึงระบบประสาทส่วนปลาย, ผิวหนัง, ระบบการสร้างเม็ดเลือดแดง ส่วนในเด็ก อาจส่งผลถึงระบบประสาทส่วนกลางด้วย

การขาดวิทามินนี้ อาจเกิดในผู้ที่มีภาวะ uremia (เช่น ไตวาย), ตับแข็ง, Hyperthyroid, ระบบดูดซึมอาหารบกพร่อง, โรคหัวใจบวมคั่งน้ำ (CHF)

แหล่งอาหารที่มีวิทามินบี 6 มาก ได้แก่ เมล็ดพืช ผัก ถั่ว มะเขือเทศ นม เนย ไข่ ปลา ตับ เนื้อ

อาการที่วิทามินบี 6 ช่วยรักษาได้
1. โลหิตจางชนิด hereditary sideroblastic anemia
2. ใช้ลดอาการข้างเคียงเมื่อใช้ยา Cycloserine (Seromycin) เพราะยานี้จะทำให้เกิดโลหิตจางและปลายประสาทอักเสบได้ (ตัวยามีฤทธิ์ต้านวิทามินบี 6)
3. ปลายประสาทอักเสบจากการขาดวิทามินบี 6
ซึ่งอาจเกิดจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม หรือการได้รับยาบางชนิด (เช่น Isoniazid/INH, Penicillamine)
4. การชักที่เกิดจากการขาดวิทามินบี 6 ในเด็กแรกเกิด 
ซึ่งมักเกิดจากการที่แม่เด็กได้รับวิทามินบี 6 มากเกินไปขณะตั้งครรภ์ ลูกที่เกิดมาจะมีอาการชักที่เกิดจากความต้องการวิทามินบี 6 ในระดับสูงได้

ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน
ประมาณ 1.5-2 มิลลิกรัม
ในผู้ที่ต้องการรักษาอาการต่างๆข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
ในผู้ที่ตั้งครรภ์ ไม่ควรได้รับเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน

ผลข้างเคียงของวิทามินบี 6
อาการแพ้ทั่วไป (เช่น เกิดสิว ผื่นตามผิวหนัง แพ้แสง), เอนไซม์ตับสูงขึ้น, เพิ่มความเสี่ยงต่อลำไส้อักเสบ, เส้นประสาทเสื่อม โดยเฉพาะนิ้วมือ นิ้วเท้า ซึ่งมักเกิดจากการกินวิทามินบี 6 ในขนาดสูงกว่า 1000 มิลลิกรัมต่อวัน นานเกิน 1 เดือน (อาการจะหายไปหลังจากหยุดกิน) 
ปล. ในคนที่แพ้วิทามินบี 6 อาจเกิดอาการได้แม้จะได้รับวิทามินในระดับน้อยๆ

 

Vitamin B2

วิตามิน

Vitamin B2 (Riboflavine) มีบทบาทสำคัญในระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย, การเจริญเติบโตของเซลและการสร้างพลังงานของร่างกาย

เราสามารถพบ vitamin b2 ได้ในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์แทบทุกชนิด แหล่งอาหารที่มีวิทามินนี้มากคือ นม ไข่ เมล็ดพืช เนื้อ ตับและผัก
ดังนั้น ในคนปกติ หากสามารถกินอาหารได้ ไม่ว่าจะกินแต่ผักหรือจะกินแต่เนื้อ ก็ไม่น่าจะเกิดการขาดวิทามินนี้แต่อย่างใด (โปรดสังเกตุว่า ในยาเม็ดวิทามินบีที่กินกัน จะเป็นวิทามินบี 1+6+12 แต่จะไม่มี บี2 อยู่ด้วย)

อาการขาดวิทามินบี2 (Ariboflavinosis) ที่พบบ่อยคือ การเกิดแผลที่มุมปาก (บางคนเรียกปากนกกระจอก/cheilosis) อาการอื่นๆ เช่น อ่อนแรง เจ็บคอ คอบวม ลิ้นแห้ง
โดยมากแล้ว อาการดังกล่าว จะเกิดเมื่อได้รับปริมาณ วิทามินบี 2 น้อยกว่า 0.5-0.6 มิลลิกรัมต่อวัน

ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน
ประมาณ 1-2 มิลลิกรัมต่อวัน
ในคนที่มีอาการขาดวิทามิน อาจกินได้ถึง 50-500 มิลลิกรัม

ผลข้างเคียงของวิทามินบี2
โดยปกติ ร่างกายเราจะมีขีดจำกัดในการดูดซึมวิทามินบี2 ถึงแม้ว่าเรากินเข้าไปมาก ก็ไม่ค่อยจะมีรายงานที่จะเกิดพิษของมัน ซึ่งอาจมีอาการคัน ซึม ความดันโลหิตลดลง และสิ่งที่ปรากฏให้เห็นบ่อยๆคือ ปัสสาวะมีสีเหลือง

สรุปแล้ว การกินวิทามินบี2 ในรูปแบบยาหรืออาหารเสริม ไม่ค่อยมีความจำเป็นเท่าไรนัก ในคนที่สามารถกินอาหารได้ และถึงแม้จะกินเข้าไปมากๆ ก็จะถูกขับถ่ายออกไปจากร่างกายอยู่ดี

 

Vitamin B1

วิตามิน

วิทามินบี1 (Thiamine) มีหน้าที่หลายอย่างในร่างกาย ที่สำคัญคือ ช่วยในการทำงานของเอนไซม์หลายตัว และการทำงานของระบบประสาท

ในร่างกายเรา จะสะสมวิทามินบี1 ไว้ไม่มาก หากขาดวิทามินนี้เกิน 14 วัน อาจทำให้เกิดอาการขาดวิทามินได้

อาการที่พบบ่อยคือ โรคเหน็บชา (Beriberi) ซึ่งแบ่งเป็น 3 แบบคือ
1. Dry Beriberi มีอาการชาโดยไม่บวม มักชาปลายมือปลายเท้า กล้ามเนื้อของแขนและขาไม่มีกำลัง 
2. Wet Beriberi นอกจากปลายมือปลายเท้าแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการบวมด้วย มีน้ำคั่งใน ช่องท้องและช่องปอด บางรายจะมีอาการหอบเหนื่อย หัวใจโตและเต้นเร็ว อาจเกิดหัวใจล้มเหลว 
3. Cerebral Beriberiเป็นอาการทางสมอง 3 อย่างคือ การเคลื่อนไหวของลูกตาทำได้น้อยหรือไม่ได้เลย เดินเซ และมีความผิดปกติทางจิตใจ 

การขาดวิทามินบี1 อาจเกิดจากหลายกรณี เช่น 
1. ได้รับไม่เพียงพอเช่น กินอาหารไม่ครบหมู่
2. เกิดจากสภาวะที่ร่างกายมีการใช้วิทามินบี1 มากขึ้นเช่น เป็นไข้ ติดเชื้อ ตั้งครรภ์ เป็นโรคตับขั้นรุนแรง
3. เกิดจากสภาวะที่สูญเสียวิทามินบี1 มากขึ้นเช่น ผู้ที่ฟอกไต หรือกินยาขับปัสสาวะ
4. กินอาหารหรือได้รับสารที่มีฤทธิต้านวิทามินบี1 เช่น ชา กาแฟ วิทามินซีปลาบางชนิด

ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน
ผู้ใหญ่ปกติ ประมาณ 1-1.2 มิลลิกรัมต่อวัน
ผู้ที่มีอาการขาดวิทามินบี1 เล็กน้อย อาจกินได้ถึงวันละ 5-30 มิลลิกรัมต่อวัน
ในผู้ที่มีอาการขาดวิทามินบี1 มากๆ อาจใช้ได้ถึง 1000 มิลลิกรัม (ขึ้นกับอาการ)

ผลข้างเคียงของวิทามินบี1
โดยรวมแล้วค่อนข้างปลอดภัยแม้จะใช้ในปริมาณสูง ซึ่งโดยปกติ ปริมาณวิทามินบี1 ที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย จะถูกขับถ่ายออกไปทางปัสสาวะในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง (ดังนั้นการกินวิทามินในระดับสูงๆ อาจไม่เกิดประโยชน์เท่าไรนัก) 
ปัจจุบันยังไม่มีรายงานความปลอดภัยถึงการใช้วิทามินในปริมาณสูงเป็นเวลานานๆ อาการที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ ความดันสูง เกิดอาการแพ้

แหล่งของวิทามินบี1
ไข่ ตับ เนื้อต่างๆ ถั่ว ข้าวซ้อมมือ
เนื่องจากวิทามินบี1 สลายตัวได้เมื่อถูกความร้อน การประกอบอาหารที่ต้องใช้ความร้อนมากๆ เป็นเวลานานๆ อาจทำให้ปริมาณวิทามินในอาหารสูญเสียไปได้ 25-80%

 

เครดิต http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=marquez&group=3

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
~...No NamE...~'s profile


โพสท์โดย: ~...No NamE...~
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ปรี๊ดเลย! "ครูไพบูลย์" โดนแซวว่าเล็ก..โต้กลับทันที "ผมเล็กหรือคุณโบ๋" กันแน่JKN ขาดทุน 2,157 ล้านบาท ครั้งแรกในรอบ 10 ปี ธุรกิจคอนเทนต์แผ่ว"ลิซ่า" จะเดบิวต์เป็นดาวติ๊กต๊อก..แต่กลับโดนแซะว่าเลียนแบบ "กามิน"นักข่าวปาเลสไตน์โพสต์รูป ทหารอิสราเอลถือธงชาติไทยอึ้ง! ลาวขุดค้นพบ "พระเจ้าแสนแซ่" องค์พระที่มีวิธีการสร้างไม่เหมือนพระพุทธรูปทั่วไป หล่อแยกเป็นชิ้นๆ?ยลโฉมความงดงามของนครวัดก๊อปเกรดเอจากฝีมือจีน อลังการไม่แพ้นครวัดของกัมพูชา!นักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้🤓 เข้ามาร่วมค้นพบสิ่งที่น่าประหลาดใจมากมายของเหล่าผู้คนในโลก Social 😆ปลาคาร์ฟสีสันสดใส แหวกว่ายผ่านท่อระบายน้ำข้างถนนในญี่ปุ่น
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สิ่งก่อสร้างที่มีความสูงมากที่สุดในโลก ที่ไม่ใช่ตึกระฟ้าหรืออาคารที่อยู่อาศัย
ตั้งกระทู้ใหม่