วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
โพสท์โดย moses
|
วันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน อาสาฬหะ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (ประมาณเดือนกรกฎาคม หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังในปีที่มีอธิกมาส (เดือน ๘ มี ๒ เดือน) ซึ่งมีการบูชาเป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นวันสำคัญ ในพระพุทธศาสนา ตรงกับวันท พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นเทศนากัณฑ์แรก
ความสำคัญ |
วันอาสาฬหาบูชา (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘) มีเหตุการณ์ สำคัญเกิดขึ้น สรุปได้ ๔ ประการ คือ |
๑ |
เป็นวันแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา |
๒ |
เป็นวันแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรและฤาษีโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วทูลขอบวช |
๓ |
เป็นวันแรกที่พระสงฆ์สาวกเกิดขึ้นในโลก คือ ฤาษีโกณฑัญญะ ได้บวชเป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา |
๔ |
เป็นวันแรกที่มีพระรัตนะตรัยครบบริบูรณ์ |
|
|
วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ฤดูฝนมีกำหนด ๓ เดือน ตามพระวินัยบัญญัตและไม่ไปค้างแรมที่อื่น โดยทั่วไป เรียกกันว่า จำพรรษา
ความสำคัญ ชาวไทย ได้ประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันเข้าพรรษา มาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งมีทั้ง พิธีหลวง และ พิธีราษฎร กิจกรรมที่กระทำก็มีการเตรียมเสนาสนะให้อยู่ในสภาพที่ดี สำหรับ จะได้จำพรรษาอยู่ตลอด ๓ เดือน สำหรับเทียนพรรษาจะมีการ แห่เทียน ไปยังพระอารามทั้งทางบกและทางน้ำตามแต่หนทางที่ไปจะอำนวยให้เพื่อนำเทียนเข้าไปตั้งในพระอุโบสถหรือพระวิหาร แล้วก็จะจุดเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย สำหรับการปฏิบัติอื่น ๆ ก็จะมีการถวาย ผ้าอาบน้ำฝน การอธิษฐานตนว่าจะประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของศีลห้า ศีลแปด ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามระยะเวลาที่กำหนดโดยเคร่งครัดตามกำลังศรัทธา และขีดความสามารถของตนนับว่าวันเข้าพรรษาเป็นโอกาสอันดีที่พุทธศาสนิกชนจะได้ประพฤติปฏิบัติตนในวิถีชีวิต ของชาวพุทธให้เข้มข้นยิ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ณ วัดใกล้บ้านพร้อมทั้งขอเชิญชวนเข้าร่วมพิธีหล่อเทียนและถวายต้นเทียนพรรษาในช่วงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา
กรมการศาสนา |
ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมบำเพ็ญความดีและลด ละ เลิก อบายมุข เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา พาครอบครัวเข้าวัดร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา |
- |
ทำบุญตักบาตร |
- |
ไปวัดปฏิบัติธรรม |
- |
สมาทานศีล รักษาศีล |
- |
ฟังเทศน สนทนาธรรม |
- |
ทำวัตรสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา |
- |
ถวายภัตตาหารเช้า-เพล |
- |
ถวายเทียนพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน |
- |
บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่าง |
- |
ประกอบพิธีเวียนเทียน |
|
|
การเวียนเทียนแนวทางการปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชน |
การเวียนเทียนเป็นการบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา ซึ่งพุทธศาสนิกชนจะปฏิบัติ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา และวันอาสาฬหบูชา การเวียนเทียนเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญ พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติด้วยความสำรวม เพื่อสร้างความเลื่อมใสศรัทธา ให้เกิดขึ้นแก่ผู้พบเห็นทั้งชาวไทยที่นับถือศาสนาอื่น การเตรียมตัวก่อนเวียนเทียน |
๑. |
อาบน้ำ ชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้เบิกบาน |
๒. |
แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เหมาะสมกับสถานที่ |
๓. |
เตรียมเครื่องบูชาให้พร้อม |
๔. |
ควรเดินทางมาถึงวัดหรือสถานที่ประกอบพิธีเวียนเทียนก่อนเวลาเริ่มเดินเวียนเทียน |
๕. |
เมื่อเดินทางถึงวัดควรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยเพื่อร่วมศาสนพิธีตามลำดับ ขั้นตอนที่เหมาะสมเป็นอันดับแรกจากนั้น จึงออกมาเตรียมตัวด้านหน้าพระอุโบสถหรือสถานที่ประกอบพิธี เวียนเทียน |
๖. |
เมื่อถึงวัดแล้ว ควรอยู่ในอาการสำรวม ไม่พูดคุย หยอกล้อ วิ่งเล่น หรือกระทำภารกิจ |
|
|
|
|
ผลที่ได้รับจากการประกอบพิธีกรรมในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนากับสมาชิกในครอบครัวอย่างอบอุ่น โดยใช้หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนากล่อมเกลาจิตใจให้เกิดความสุขสงบ ร่มเย็น เป็นผลให้อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสามัคคีและสันติสุขอย่างยั่งยืน
ที่มาจาก http://www.m-culture.go.th/culture01/cindex_1-read15.php
|
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
64 VOTES (4/5 จาก 16 คน)