เทอรี่ ฟอค-มาราธอนข้ามแคนนาดา-ขาพิการ
"ถ้าฉันไปไม่ถึงที่หมาย แต่พวกเราต้องการให้คนอื่นไปต่อให้ถึง จงไปต่อแม้ปราศจากฉัน"
:เทอรี่ ฟอค-มาราธอนข้ามแคนนาดา-ขาพิการ -http://bit.ly/aCDksA
1 กันยายน 1980 –
มันเป็นวันที่ท้องฟ้าขมุกขมัวในเขตทางเหนือของออนทาริโอ
ขณะที่เทอร์รี่ ฟ็อกซ์
นักวิ่งขาเหล็ก ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง วิ่งเข้าสู่ไมล์สุดท้ายของการวิ่ง
เช้าวันนั้นเขาออกวิ่งด้วยความเข้มแข็งและรู้สึกเชื่อมั่นเต็มที่
มีผู้คนอออยู่เต็มถนนตะโกนว่า
“อย่ายอมแพ้ คุณทำได้”
คำพูดที่คอยกระตุ้นเขาและยกระดับจิตใจให้เขา
แต่หลังจากวิ่งไปได้ 18 ไมล์ เขาเริ่มไอและรู้สึกเจ็บที่หน้าอก
เขารู้วิธีรับมือกับมัน
เขาก็แค่ไม่สนใจมันอย่างที่เขาเคยทำมาก่อน
เขายืนหยัดวิ่งต่อไปจนกระทั่งความเจ็บปวดหายไปเอง
ระยะทางกว่า 3,339 ไมล์ จากเซนต์จอห์น นิวฟาวน์แลนด์ เมืองชายฝั่งแอตแลนติก ด้านตะวันออกของคานาดา เขาวิ่งผ่านมาแล้ว 6 จังหวัด ซึ่งคิดเป็นระยะทาง 2 ใน 3 ของระยะทางกลับบ้าน การวิ่งมาราธอนที่ไม่ค่อยมีความหมายสำหรับคนร่างกายแข็งแรงปกติ แต่มันเป็นการวิ่งที่มีความพิเศษมากสำหรับผู้ที่มีขาเดียว
เทอร์รี่มีขาซ้ายที่แข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ แต่ขาขวาของเขาด้วนและสรวมขาเทียมที่ทำจากเหล็กและไฟเบอร์กลาส เขาเสียขาข้างนี้ไปเพราะมะเร็งตั้งแต่เขาอายุ 18
ขณะที่วิ่งนั้นเขาอายุ 22 ผมหยักศก ดูดี ผิวคล้ำจากแดด แข็งแรง หัวรั้น ดื้อดึง การวิ่งที่เขาเรียกว่า Marathon of Hope เป็นการวิ่งที่ต้องการจิตใจที่เสียสละอย่างสุดๆ เขาวิ่งข้ามประเทศคานาดา โดยไม่ยำเกรงต่อสายตาและความคิดของผู้คนทั่วไปที่ว่าเขาบ้า
เทอร์รี่เชื่อว่าเขาจะเอาชนะการต่อสู้นี้ได้ เขาต้องมีชัยชนะเหนือมะเร็ง และเขาต้องการเงินทุน 1 ล้านเหรียญเพื่อใช้ในการต่อสู้กับมะเร็งร้าย และเหตุผลที่ 2 ซึ่งอาจมีความสำคัญมากกว่าในการวิ่งนี้ คือ
คนคนหนึ่งไม่ได้มีอะไรน้อยลงเลยเมื่อเขาต้องเสียขาไปข้างหนึ่ง แต่ที่จริงแล้วเขามีมากขึ้นด้วยซ้ำ
แน่นอนเขาได้แสดงให้โลกเห็นแล้วว่าไม่มีข้อจำกัดสำหรับคนที่ถูกตัดขาไปจะทำไม่ได้
เขาเปลี่ยนทัศนคติของผู้คนเกี่ยวกับผู้พิการ
และเขาแสดงให้โลกตระหนักว่าถึงแม้มะเร็งร้าย
จะเอาขาของเขาไป
แต่มันไม่สามารถทำลายจิตวิญญาณของเขาได้
ประวัติ
เทอร์รี่ ฟ็อกซ์ ( Terry Fox ) เกิดที่เมืองวินนิเพ็ก ( Winnipeg ) และเติบโตขึ้นมาในเมืองพอร์ตโคควิทแลม ( Port Coquitlam ) บริติช โคลัมเบีย ( British Columbia ) ชุมชนหนึ่งใกล้กับเมืองแวนคูเวอร์ ( Vancouver ) ชายฝั่งด้านตะวันตกของแคนาดา เขาเป็นเด็กที่กระตือรือร้น และสนใจกีฬาหลายชนิด ตอนเขาอายุ 18 ปี ก็ถูกพบว่าเป็นโรค osteogenic sarcoma ซึ่งคือมะเร็งในกระดูก และจำเป็นต้องตัดขาข้างขวาเหนือหัวเข่าขึ้นไป 15 เซนติเมตรทิ้ง
ขณะที่เขาอยู่ในโรงพยาบาล เขารู้สึกว่าจะต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องทนทุกข์จากมะเร็ง ซึ่งมีจำนวนมากที่ยังเป็นเด็กอยู่เลย เขาตัดสินใจว่าจะวิ่งข้ามแคนาดาเพื่อหาทุนในการวิจัยโรคร้ายแรงนี้
เขาเรียกการผจญภัยครั้งสำคัญนี้ว่า Marathon of Hope
เทอร์รี่เริ่มต้นออกวิ่งจากที่เซนต์จอห์น นิวฟาวน์แลนด์ ในวันที่ 12 เมษายน 1980 แม้ว่าช่วงแรกๆ จะยังไม่มีคนสนใจ แต่ความกระตือรือร้นของเขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และได้รับเงินบริจาคสนับสนุมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกันจนได้เกินเป้าที่เขาตั้งเอาไว้ ( ได้ 24 ล้านเหรียญ ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ) เขาจะวิ่งวันละ 42 กิโลเมตร ( 26 ไมล์ ซึ่งเท่ากับระยะวิ่งของนักวิ่งมาราธอนร่างกายสมบูรณ์ทั่วไป )
มันเป็นการวิ่งที่ชาวแคนาดาจะจดจำไว้ตลอดไป
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 1 กันยายน หลังจากวิ่งได้ 143 วันกับระยะทาง 5,373 กิโลเมตร ( 3,339 ไมล์ ) เขาก็ถูกบังคับให้ต้องหยุดวิ่งที่นอกเมืองธันเดอร์ เบย์ ออนทาริโอ เพราะพบมะเร็งที่ปอดของเขา แล้วผู้คนทั้งประเทศก็ตกอยู่ในอารมณ์เสียใจและไม่อยากเชื่อว่าเทอร์รี่จะจากพวกเขาไปเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1981 ขณะอายุได้ 22 ปี
ฮีโร่ในดวงใจของชาวแคนาดาจากไปแล้ว แต่มรดกแห่งความหวังของเขาเพิ่งเริ่มขึ้น
ปัจจุบัน มีเงินทุนมากกว่า 400 ล้านดอลลาร์ที่ใช้ในการวิจัยมะเร็งทั่วโลกในนามของเทอร์รี่ ผ่านทางการวิ่งเทอร์รี่ ฟ็อกซ์ ซึ่งจัดขึ้นที่แคนาดา และทั่วโลกทุกปี
You Can Change The World If You Try
ที่มาจาก http://lukeworship.wordpress.com/2010/07/09/terry-fox-marathon-of-hope/