Sex Worker ในไทย " กลับตัวก็ไม่ได้ จะไปก็ไปไม่ถึง "
จากกรณีเมื่ออาทิตย์ที่แล้วที่มีทหารอเมริกันยกพลขึ้นเนิน เอ๊ย ขึ้นบกที่พัทยา 6500 นายนั้น ก็เริ่มได้ยินตนพูดถึงคำว่า Sex Worker ขึ้นมาหนาหูอีกครั้ง คำนิยามคำว่า Sex Worker ประเทศไทยนั้น ยังผิดกฏหมายและต้องหลบๆซ่อนๆในการการค้าประเวณี คนที่อยู่ในธุรกิจนี้มีทั้งที่เต็มใจและถูกหลอกลวงและการบังคับให้ขายบริการทางเพศ บางครั้งเลยเถิดไปถึงการใช้ความรุนแรงต่อผู้ให้บริการทางเพศ ถึงแม้ไม่เคยนับจำนวนผู้ให้บริการทางเพศ หรือ Sex Worker อย่างเป็นทางการ (ทางการบอกว่าไม่มีเลยด้วยซ้ำไป) แต่จากการสำรวจของเว็บไซต์ต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2558 พบว่ามีจำนวนผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการให้บริการทางเพศทั่วโลก ประมาณเกิอบ 14 ล้านคน และยังบอกอีกว่าธุรกิจนี้ในประเทศไทยสร้างรายได้ประมาณ 6.4 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
แต่ต้องทำแบบหลบๆซ่อนๆเพราะมันไม่ถุกกฏหมาย พอจะแก้กฏหมายก็มีพวกโลกสวยคัดค้านทุกที และอาชีพโสเภณีนี้ เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยงานทางประวัติศาสตร์หลายชิ้นระบุถึงขั้นว่า อาชีพโสเภณี เป็นอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยสถานประกอบการในประเทศจีนจีนจะแขวนโคมแดงเป็นสัญลักษณ์ ส่วนในประเทศไทยนั้นจะใช้โคมสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ ปัจจุบัน กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการค้าบริการทางเพศ มีทั้งบทบัญญัติที่มุ่งแก้ไขปัญหาการค้าบริการทางเพศโดยตรงและโดยอ้อม
โดยมีแนวคิดว่าการค้าบริการทางเพศ หรือการค้าประเวณีเป็นอาชญากรรม (Criminalization) โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 ที่กำหนดความผิดอาญาและกำหนดโทษสำหรับ Sex worker ในหลายกรณีไว้ เช่น การติดต่อชักชวนเพื่อการค้าประเวณี (หาลูกค้า) การโฆษณาการค้าประเวณี เป็นต้น สำหรับประเทศที่มีแนวคิดการ จดทะเบียนการค้าประเวณีให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ล้วนมีเจตจำนง ที่คล้ายคลึงกัน คือ สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
แม้รัฐอาจไม่สนับสนุนแต่ไม่ขัดขวาง เว้นแต่เกินขอบเขตไปสู่ การค้ามนุษย์ที่นับเป็นอาชญากรรมที่ยอมรับไม่ได้ อุตสาหกรรมการค้าประเวณีในไทยก็เช่นกัน ที่ไม่ควรถูกจำกัดในมุมมืดและถูกตีกรอบด้วยศีลธรรมเท่านั้น รัฐควรทบทวนนโยบายเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ สุขภาวะทางเพศของ Sex Worker รวมทั้งการช่วยพัฒนาทักษะที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพในระยะยาว . . . เพราะเราๆท่านๆก็รู้กันอยู่ว่า มันมีอยู่จริง