จะเป็นอย่างไร??..หากเราเข้าใกล้หลุมดำ
หากจะพูดถึงความไวสูงสุดที่ไม่มีอะไรมาเทียบเคียงได้บนโลกนี้ ก็น่าจะเป็นความเร็วแสง เพราะความเร็วแสงนั้นถือว่า เป็นความเร็วที่สูงสุดในจักรวาล ด้วยความเร็วเกือบ 3 แสนกิโลเมตรต่อวินาที แต่ถึงแสงจะเดินทางได้เร็วแค่ไหนก็ตาม มันก็ต้องยอมสยบให้กับ “หลุมดำ” หลุมดำ คือ แหล่งรวมมวลพลังงานมหาศาลที่ดูดกลืนกินทุกอย่าง แม้กระทั่งแสงที่เดินทางเร็วที่สุดในเอกภพ และไม่มีอะไรจะมาหยุดหลุมดำนั้นได้
แล้วเพื่อนๆ คิดหรือเปล่าว่า ถ้าวันหนึ่งโลกของเราโคจรเข้าไปใกล้หลุมดำจะเกิดอะไรขึ้น โลกของเราจะถูกหลุมดำดูดกลืนมั๊ย เอาเป็นว่า วันนี้พวกเราจะพาเพื่อนๆ ทุกคนไปหาคำตอบกันว่า จะเป็นอย่างไรหากเราเข้าใกล้หลุมดำ
ในจักรวาลแห่งนี้ประกอบไปด้วนอาณาจักรของดวงดาวต่างๆ มากมาย ซึ่งมีทั้งกาแล็กซี่ และระบบดาวฤกษ์ต่างๆ ที่หมุนเวียนและโคจรกันด้วยพลังงานของเอกภพ โดยกาแล็กซีทั่วไปนั้นมักจะมีบริเวณที่เป็นแหล่งรวมพลังงานขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า "หลุมดำ" อยู่ด้วย
หลุมดำนั้นมีลักษณะมืด มีขนาดไม่ใหญ่มาก และจะเคลื่อนที่โคจรไปเรื่อยๆ เพื่อดูดกลืนดวงดาวต่างๆ ที่เข้าใกล้ เราไม่สามารถมองเห็นได้ เพราะแม้แต่แสงก็ยังไม่ตกกระทบ เป็นบริเวณใหญ่ๆ ที่ดูดกลืนทุกอย่าง แม้กระทั่งดวงดาว และวัตถุในอวกาศต่างๆ มากมาย แถมพลังงานที่เหลือล้นของมันยังสะสมพลังงาน และรังสีที่มีพลังงานสูงอีกด้วย
ว่ากันว่าในบริเวณหลุมดำนั้นมีการปล่อยรังสี X-ray ออกมารอบๆ แต่ด้วยความที่หลุมดำนั้นไม่มีแสง ไม่มีสี ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นหามันได้ยากมากๆ มีเพียงการสำรวจด้วยคลื่นวิทยุ และการสำรวจพลังงานเท่านั้น ที่จะสามารถค้นพบหลุมดำได้ หลุมดำนั้นมีมวลมหาศาล และมันไม่ได้อยู่นิ่งๆ กับที่ นั่นหมายความว่า การที่มันโคจรไปมารอบๆจักรวาลนั้น สักวันหนึ่งอาจจะเข้ามาในระบบสุริยะ และเจอกับโลกของเราแน่ๆ
หลุมดำที่พบโดยส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือ หลุมดำขนาดเล็กที่เรียกว่า หลุมดำสเตลลาร์ (Stellar mass black holes) ซึ่งหลุมดำชนิดนี้เองเกิดขึ้นจากการที่ดาวขนาดใหญ่นั้นหมดสิ้นพลังงานแล้ว มันจะทำการดูดกลืนกินดาวดวงนั้น และสะสมพลังงานขึ้นมาเรื่อยๆ จากการศึกษาของมนุษย์พบว่า อาจมีหลุมดำขนาดเล็กแบบนี้อยู่เกือบ 100 ล้านหลุมในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา
หลุมดำสเตลลาร์มีขนาดไม่ใหญ่มาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางแค่ประมาณ 600 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ถึงมันจะเล็กขนาดนี้ แต่อานุภาพมันค่อนข้างที่จะรุนแรง เพราะแค่ลองคิดว่า ถ้ามันวนโคจรเข้ามาในบริเวณของดาวเนปจูนที่อยู่ไกลจากโลกประมาณหนึ่ง แต่มันก็จะสามารถทำให้วงโคจรของโลกนั้นเปลี่ยนไปได้
ซึ่งเร็วๆนี้ นักดาราศาสตร์ได้พบบริเวณต้องสงสัยที่คิดว่าน่าจะเป็นหลุมดำขนาดเล็ก มันอยู่ในบริเวณนอกวงโคจรของระบบสุริยะ เลยดาวพลูโตไปสักนิดหนึ่ง ซึ่งตอนนี้กำลังเป็นที่สงสัยกันว่ามันใช่หลุมดำหรือไม่ เพราะหากเป็นหลุมดำจริงๆ แสดงว่ามันเข้ามาใกล้ระบบสุริยะของเราเต็มที่แล้ว
ส่วนหลุมดำอีกประเภท คือ หลุมดำมวลยิ่งยวด (Supermassive black holes) หลุมดำประเภทนี้มีมวลใหญ่กว่าดวงอาทิตย์หลายล้านเท่า มีบริเวณขอบฟ้าเหตุการณ์กว้างถึงพันล้านกิโลเมตร เป็นหลุมดำขนาดใหญ่ที่ดูดกลืนกินทุกอย่าง ตั้งอยู่ใจกลางกาแล็กซี ซึ่งกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราก็มี
แต่ข้อดีอยู่อย่างหนึ่ง คือ หลุมดำมวลยิ่งยวดนี้ถึงมันจะน่ากลัวขนาดไหน แต่มันก็ไม่เคลื่อนที่ไปไหน มันอยู่ประจำจุดประจำการของมันเพียงเท่านั้น ดังนั้นแปลว่ายากมากๆ ที่โลกของเราจะโคจรไปเจอหลุมดำมวลยิ่งยวดได้
แต่ก็อย่าเพิ่งสบายใจไป เพราะว่าอย่างที่บอกไปหลุมดำมวลยิ่งยวดมันอยู่ใจกลางของกาแล็กซี ซึ่งกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นระบบสุริยะของเราก็อยู่รอบๆหลุมดำนี้ด้วย แต่อยู่ในจุดที่ปลอดภัยโดยห่างจากหลุมดำประมาณ 25,000 ปีแสง
แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรานั้น ถูกชนด้วยกาแล็กซีข้างเคียง พลังงานจากการชนจะส่งผลให้ระบบสุริยะหรือแม้กระทั่งโลกของเรานั้นถูกเหวี่ยงเข้าไปใกล้หลุมดำมวลยิ่งยวด และก็จะถูกกลืนกินไปในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์การชนของกาแล็กซีนั้น ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะว่ามีการสำรวจพบแล้วว่าในอนาคต กาแล็กซีเรา และกาแล็กซีเพื่อนบ้านอย่างเช่นกาแล็กซีแอนโดรมีดา อาจจะชนกันในอีก 4,000 ล้านปีข้างหน้า
การค้นหาหลุมดำเป็นเรื่องที่ยากมากๆ แต่ยังไงก็ตามมนุษย์สามารถสังเกตได้จากสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นรอบๆ หลุมดำ ไม่ว่าจะเป็น การที่ดวงดาว หรือวัตถุอวกาศในบริเวณนั้นโคจรในวงโคจรที่ผิดเพี้ยนไป คือ ตามจริงแล้วการโคจรของดาว และวัตถุในอวกาศต่างๆนั้นจะโคจรตามแหล่งพลังงานของดาวฤกษ์
ซึ่งหากบริเวณไหนที่มีหลุมดำ จะทำให้วงโคจรของดวงดาวเหล่านั้นบิดเบี้ยวจนสังเกตได้ว่า มันอาจจะเจอกับพลังงานอะไรบ้างอย่างแน่ๆ เพราะหากดวงดาวนั้นๆ เข้าใกล้บริเวณหลุมดำแล้วละก็ พลังงานของหลุมดำที่มีแรงดึงดูดมหาศาลจะส่งผลให้ ดาว และวัตถุที่อยู่ใกล้โคจรด้วยความเร็วสูงขึ้น และเปล่งประกายแสงออกมา
สิ่งที่สังเกตได้อีกอย่าง คือ หลุมดำไม่มีแสง ไม่มีสีอย่างที่บอกไป ดังนั้นหากเราเจอวงโคจรแปลก ที่ดาวน้อยใหญ่ โคจรรอบพื้นที่ว่างๆ ให้เราสันนิษฐานเลยว่า มันกำลังโคจรรอบหลุมดำอยู่ เพราะพลังงานของหลุมดำนั้นจะดึงดูดดวงดาวต่างๆให้เข้ามาใกล้มันมากที่สุด และโคจรรอบมันก่อนที่มันจะกลืนกินเข้าไปในที่สุด แสงก็เช่นเดียวกัน
แสงอาจเปนพลังงานที่ไม่มีรูปร่างเหมือนดวงดาวหรือวัตถุทั่วไปในอวกาศ แต่เเสงนั้นเมื่อเข้าใกล้หลุมดำจะเกิดการบิดเบี้ยวเนื่องจากแรงดึงดูดของหลุมดำซึ่งดูดกลืนแสงเข้าไป ดังนั้นระหว่างที่มันดูดกลืนแสงเข้าไป เราจะสังเกตเห็นได้ว่าพบแสงที่มีความเบี้ยว โค้ง งอ ต่างจากแสงปกติที่เดินทางเป็นเส้นตรง
เมื่อเรารู้แล้วว่า เราต้องสังเกตอย่างไรว่าหลุมดำอยู่ตรงไหนก็อาจจะสามารถพยากรณ์เหตุการณ์และทราบล่วงหน้าได้ว่าหายนะจะเกิดขึ้นเมื่อไร แน่นอนว่า หากหลุมดำวนเข้ามาใกล้เราจริงๆแล้วละก็ ไม่มีทางที่โลกของเรานั้นจะรอดต่อการถูกกลืนกิน เพราะต่อให้มนุษย์เก่งแค่ไหนก็ต้องสยบให้หลุมดำที่มีพลังงานมหาศาลกลืนกินอยู่ดี เราเพียงทำได้แต่การป้องกันและการเตรียมพร้อมอพยพเท่านั้น แต่เราจะไม่สามารถหยุดยั้งหลุมดำได้
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าการที่โลกของเรานั้นได้พบเจอกับหลุมดำก็มีอยู่ 2 กรณี กรณีเเรกก็คือหลุมดำขนาดเล็กที่มันเคลื่อนที่ไปมาในห้วงอวกาศ แถมยังมีอยู่หลายที่มากๆ ซึ่งเมื่อมันโคจรเข้ามาใกล้กับโลกของเรา จะทำให้โลกของเรานั้นมีวงโคจรที่เปลี่ยนไป และการที่วงโคจรของโลกเปลี่ยนไปนั้น จะส่งผลให้เวลาบนโลกเปลี่ยนแปลงรวมถึงฤดูกาลบนโลกที่จะผิดเพี้ยนไปจากเดิม ซึ่งอาจจะทำให้มนุษย์ไม่สามารถปรับตัวอยู่ได้ อาจจะมีหน้าหนาวที่หนาวกว่าในปัจจุบัน และยาวนานกว่าเดิมจนทำให้อาหารและทรัพยากรต่างๆบนโลกไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และสูญพันธุ์ไปในที่สุด
หรือเลวร้ายกว่านั้น หากว่าการคาดการณ์ว่าในอนาคต กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา และกาแล็กซีแอนโดรมีดา จะชนกันตามคำสันนิษฐาน ก็มีโอกาศที่แรงสั่นสะเทือนนั้นจะทำให้ระบบสุริยะที่มีโลกของเราอยู่ในนั้น โดนกระแทกเข้าไปใกล้กับหลุมดำมวลยิ่งยวดที่อยู่ใจกลางกาแล็กซี และเมื่อวันนั้นมาถึง โลกเราจะถูกเหวี่ยงให้เข้าไปในพื้นที่ว่างเปล่าขนาดใหญ่ ที่ไร้แสง มีสีดำมืดมิด และโลกก็จะโดนเหวี่ยงจนมีความเร็วของวงโคจรมากกว่าเดิมจนในท้ายที่สุดโดนบีบอัดเข้าไปในใจกลางหลุมดำและโดนรังสีต่างๆเข้าคลอบคลุม เกิดความร้อน เกิดการเผาไหม้ และโลกก็จะสลายเข้าไปภายในหลุมดำ
เรื่องราววันนี้ค่อนข้างหน้ากลัวมากหากเราจินตนาการว่าเรานั้นถูกหลุมดำดูดกลืนไป แต่อย่าห่วงเลยเพื่อนๆ เหตุการณ์เหล่านี้ต้องใช้ระยะเวลานานมากๆกว่าจะเกิดขึ้น หรือมันอาจจะไม่เกิดขึ้นเลยด้วยซ้ำ กว่าจะถึงวันนั้นคิดว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีน่าจะทำให้มนุษย์นั้นสามารถเดินทางหนีอพยพออกจากโลกได้ทัน ก่อนที่โลกของเรานั้นจะถูกหลุมดำดูดกลืนไป
ซึ่งนี่ก็คือเรื่องราวของหลุมดำ และคำตอบที่ว่าถ้าโลกเข้าใกล้หลุมดำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเพื่อนๆละ คิดว่าถ้าโลกของเราเข้าใกล้หลุมดำจริงๆ แล้ว มนุษย์อย่างพวกเรานั้นจะสามารถเอาตัวรอดได้หรือเปล่า













