ผักเสี้ยนขาว : จากวัชพืชสู่แถวหน้าในบรรดาผักดองของไทย
เช้าวันนี้เดินออกมาที่หลังบ้านเจอเจ้าผักเสี้ยนชนิดดดอกสีขาว ขึ้นเบ่งบานเต็มหลังบ้่านไปหมดเลยทำให้นึกถึงผักเสี้นดองขึ้นมาทันทีทันใด ผักชนิดนี้คนไทยภาคกลงเรียกว่า "ผักเสี้ยน
ผักเสี้ยน ดูลักษณะภายนอกแล้วเหมือนเป็นพวกวัชพืชที่ดูไม่มีค่าและไม่มีราคาทีน่าจับต้องเลย ผักกเสี้ยนเป็นผักในสกุล Cleome ของวงศ์ Cleomaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cleome gynandra L. ชือสามัญในภาษาอังกฤษคือ spider weed หรือ spider flower ภาษาไทยเรียก ผักเสี้ยน หรือผักเสี้ยนขาว (ภาคกลาง ) ผักส้มเสี้ยน (ภาคเหนือ)
ผักเสี้ยนเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน สูงไม่เกิน 1 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง ตามลำต้นและกิ่งก้านมีต่อมขนอ่อน ปกคลุม ใบเป็นแบบมือ ประกอบด้วยในย่อย 3 - 5 ใบ ก้านใบยาวออกสลับกันบนกิ่ง กลีบดอกสีขาว หรือเหลือบม่วง ดอกมีลักษณะเป็นเส้นยาวเล็กคล้ายเสี้ยน จึงเรียกว่าผักเสี้ยน และมีลักษณะคล้ายขาแมงมุมจึ่งมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า spider flower ผลมีลักษณะเป็นฝักยาวทรงกระบอกปลายแหลม มีจงอยตรงปลายเมล็ดสีน้ำตาลดำ ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก
แหล่งกำเนิดดั้งเดิมของผักเสี้ยน อยู่ในเขตร้อนของทวีป เอเซีย (รวมทั้งไทย ) แล้วกระจายไปทั่วโลก ทั้งทวีปแอฟริกา และอเมริกาใต้ พบขึ้นเองตามที่รกร้าวว่างเปล่าทั่วไป จึงถือเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง ดังชื่อในภาษาอังกฤษว่า spider weed นั่นเอง ผักเสี้ยนนับเป็นพืชที่อาภัพ เพราะว่าลักษณะภายนอกไม่น่าดู นอกจากจะมีขนอ่อนปกคลุมทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบแล้ว ยังมีของเหลวเหนียว ๆ ติดมือ และมีกลิ่นฉุนเมื่อสัมผัส บางคนกล่าวว่ากลิ่่นคล้าย มัส่ตาร์ด นอกจากกลิ่นแรงแล้ว ใบสดยังมีรสขมไม่ชวนกินอีกด้วย ชื่อของผักเสี้ยนก็ไม่ค่อยนาฟัง หรือเป็นมงคลสำหรับคนไทย เพราะในพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำจำกัดความของ "เสี้ยน" ว่า เนื้อไม้ที่แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ ปลายแหลมอย่างหนาม หรือเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น นอกจากนี้เสี้ยนยังใช้ประกอบคำที่มีความหมาย ในทางร้าย เช่น " เสี้ยนหนาม " หมายถึงศัตรูที่มีอันตรายร้ายแรง ดังเช่นคำว่าเสี้ยนหนามแผ่นดิน เป็นต้น นอกจากนั้นผักเสี้ยนยังขึ้นได้เองทั่วไป ตามที่รกร้างว่างเปล่า เช่นเดียวกับวัชพืชต่าง ๆ ผักเสี้ยนจึงถูกมองเหมือนพืชไร้ค่า เพระหาได้ง่ายไม่ต้องลงทุนลงแรง เพาะปลูกหรือไปเสาะหาแต่ป่าลึกให้มันลำบากแต่อย่างใด จากลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ ผักเสี้ยนจึงมีลักษณะ ฐานะ ต่ำกว่าความเป็น "สามัญ" เสียอีก จนอาจกล่าวได้ว่าผักเสี้ยนมีฐานะต่ำต้อยอยู่ในกลุ่มล่างสุดขอบรรดาผักพื้นบ้านของไทย
ผักเสี้ยนในฐานะผัก ชื่อเรียกผักเสี้ยนในภาคเหนือว่า ผักส้มเสี้ยน แสดงนัยยะ ถึงคุณสมบัติในการเป็นผักของผักส้มเสี้ยน ว่าเกี่่ยวของกับรสเปรี้ยว (ส้ม ) ทั้งนี้เนื่องจากผักเสี้ยนเหมาะสำหรับ นำมาดองเปรี้ยว ซึ่งให้รสชาดดีที่สุด ( เมื่อเปรียบเทียบกับการนำไปปรุงอาหารด้วยวิธีอื่น ๆ ) เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ที่เคยกินผักดอง คงคุ้นเคยและชื่นชอบรสชาดของผักเสี้ยนดอง (เปรี้ยว ) ซึ่งใช้จิ้มน้ำพริกกระปิใส่มะนาวให้มีรสออกไปทางเปรี้ยวนำมากเป็นพิเศษ ผักเสี้่ยนดองนั้น นับเป็นผักดองที่คนไทยนิยมกินทั่วทุกภาค ดังจะเห็นได้จากมีเกษตรกร หลายรายยึดอาชีพเพาะปลูกผักเสี้ยน แล้วดองขายเป็นหลักต่อเนื่อง มีรายได้แน่นอนและมั่นคงตลอดมา สำหรับผู้บริโภคก็จะพบว่าในตลาดมีผักเสี้ยนดองวางขายตลอดปีเช่นกัน แสดงถึงความนิยมแพร่หลายของชาวไทย ที่มีต่ออาหาร ตำรับนี้ได้อย่างชัดเจน แม้ผักเสี้ยนจะนำไปประกอบอาหารด้วยวิธีอื่น ๆ ได้อีก เช่นนำไปลวกหรือต้มให้สุก ก็ทำให้หายขมและหมดกลิ่นเหม็น นำไปเป็นผักจิ้มได้เช่นเดียวกับการดอง แต่ชาวไทยไม่นิยมกัน จึงอาจกล่าวได้ว่าเมื่อนึกถึงผักเสี้ยนในฐานะผัก ก็จะนึกถึงบผักเสี้ยนดอง (เปรี้ยว) และถึงแม้ผักเสี้ยนจะไม่ใช่ผักที่อยู่ในแถวหน้า แต่ในบรรดาผักดองด้วยกันแล้ว ผักเสี้ยนดองย่อมอยู่ในอันดับต้น ๆ ของความนิยมอย่างแน่นอน
ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของผักเสี้ยน ผักเสี้ยนมีคุณสมบัติด้านสมุนไพร ตามตำราแพทย์แผนไทยหลายประการ เช่น ต้นกลิ่นฉุนร้อน แก้เลือด ระดูเน่าเสียที่ทำให้จับสั่นสะท้าน ใบ บำรุงเสมหะให้เป็นปกติ ดอก แก้เลือดสตรีอันอยู่ในเรีอนไฟ เมล็ด ฆ่าพยาธิใส้เดือนในท้อง ราก แก้ลมเป็นพิษ "ผักเสี้ยนทั้งห้า" (ต้น ใบ ดอก เมล็ด ราก ) รสร้อน แก้ปวดท้อง ลงท้อง แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ ในตำราแพทย์แผนไทยมีคำเรียกผักเสี้ยนทั้งสอง หมายถึง ผักเสี้ยนกับผักเสี้ยนผีรวมกัน ในอินเดียใช้เมล็ดผักเสี้ยน สกัดทำเป็นยากำจัดแมลง ในแอฟริการใช้ยอดและใบอ่อนของผักเสี้ยนปรุงรสและกลิ่นซอส ในอินโดนีเซียใช้เลี้ยงสัตว์ และใช้เมล็ดเป็นอาหาร ผักเสี้ยนเป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากของธรรมดาสามัญที่มีอยู่ทั่วไป หาได้ง่ายให้มีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นคนธรรมดาหรือสามัญชน แนวทางดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นทิศทางหลักของการพัฒนาทรัพยาการของประเทศ ทั้งด้านการเกษตร อาหาร ยารักษาโรค หรือปัจจัยสำหรับชีวิตด้าน อื่น ๆ













