สิทธิที่ลูกจ้างต้องได้รับ กรณีปิดกิจการ
ปิดกิจการ ไม่มีใครอยากให้เกิดคำนี้ขึ้นมากับที่ทำงานของตัวเอง แต่ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างทำให้ บางกิจการไม่สามารถไปต่อได้
ดังนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงสิทธิที่ลูกจ้างจะต้องได้รับชดเชยจากนายจ้างในกรณีปิดกิจการ
ในกรณีนายจ้างปิดกิจการและลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดต่อนายจ้าง ในกรณีนี้ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยดังนี้
1.ได้รับค่าจ้างชดเชยตามระยะเวลาการทำงาน
2.ได้รับเงินค่าตกใจ ในกรณีที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีการบอกให้รู้ล่วงหน้า โดยนายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างรู้ล้วงหน้าอย่างน้อย1 งวดค่าจ้างหรือ30วัน แต่ถ้าไม่มีการแจ้งล่วงหน้านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกล่วงหน้าในอัตราสุดท้าย 30วัน
**นายจ้างจะต้องรับผิดชอบค่าสินจ้าง ค่าชดเชยเลิกจ้าง ค่าชดเชยพิเศษ และค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างอย่างเต็มจำนวน หากไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง ลูกจ้างสามารถไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานท้องที่ได้ โดยพนักงานจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน60วันนับแต่วันที่ลูกจ้างยื่นคำร้อง
สิทธิประกันสังคม
เนื่องจากมนุษย์เงินเดือนจะต้องจ่ายสมทบประกันสังคมทุกเดือน ในกรณีถูกเลิกจ้างและว่างงานจะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานจากประกันสังคม โดยจะมีเงื่อนไขคือต้องจ่ายเงินสมทบมาไม่ต่ำกว่า 6เดือน ภายในระยะเวลา15เดือนก่อนว่างงาน
ประกันสังคมจะจ่ายชดเชยในอัตราร้อยละ50 ของค่าจ้างเฉลี่ยโดยคำนวนจากฐานเงินสมทบ ขั้นต่ำจะจ่ายเดือนละ1,650บาท และสูงสุดไม่เกิน15,000บาท เป็นระยะเวลา6 เดือน
***แนะนำว่าควรไปขึ้นทะเบียนว่างงานภายใน30วันนับตั้งแต่ออกจากงานค่ะ โดยสามารถไปยื่นเรื่องที่สำนักงานจัดหางานได้เลยค่ะ
อ่านไว้เป็นความรู้แต่ขออย่าให้ได้ใช้สิทธินี้เลยค่ะ











