เขมร ซื้ออาวุธ เตรียมรับศึกรอบด้าน
จากข่าวสารที่ปรากฎในสื่ออย่างเป็นทางการของสำนักข่าวในประเทศกัมพูชา ทั้งในเฟสบุ๊คส่วนตัวของผู้นำระดับสูงทางการทหารอย่าง เพจ "General TEA Banh " ได้ลงภาพการตรวจรับอาวุธยุทโธปกรณ์ด้านการป้องกันภัยทางอากาศนำสมัยที่ได้สั่งซื้อมาจากจีน และได้นำมาติดตั้งเพื่อสร้างระบบป้องกันภัยทางอากาศให้กับประเทศกัมพูชา โดยอาวุธที่ได้รับมาใหม่นี้ คือ
ระบบป้องกันภัยทางอากาศ แบบ KS-A1
วันนี้ขออนุญาตแนะนำระบบป้องกันภัยทางอากาศพอสังเขปกันนะครับ
ระบบ ป้องกันภัยทางกาศเปรียบเสมือนฝาชีที่ครอบคลุมพื้นที่ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมทางอากาศบินเข้ามาในฝาชีนั้น จรวด (มิสไซร์) ก็จะโจมตีสิ่งแปลกปลอมทางอากาศเหล่านั้นทันที ในส่วนของเรดาห์ตรวจจับ ก็ตรวจสามารถตรวจสอบสิ่งอาวุทธยุทโปกรณ์ และ ที่อยู่ในอากาศ ได้
กัมพูชาได้สั่งซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศ KS-1A ซึ่งสามารถขยายการป้องกันประเทศไปได้ไกลเกือบ 100 กิโลเมตร โดยสามารถกำหนดเป้าหมายและยิงสกัดขีปนาวุธพิสัยไกลและเครื่องบินได้ กล่าวคือ จะไม่มีเครื่องบินรบใดที่บินเข้ามาในระยะ 100 กิโลเมตรจะโดนเขมรสอยร่วงหมด
ตัวระบบยังมีเรดาร์อันทรงพลัง ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศอื่นๆ ที่เทียบเคียงได้ และทำให้สามารถแยกแยะได้ง่ายขึ้น ว่าใครเป็นมิตรและใครเป็นศัตรู ซึ่งเรดาห์สามารถตรวจจับได้ไกลถึง 400 กิโลเมตร เปรียบเทียบได้กับ ถ้าหาก F-16 ของไทย ยกตัวที่กองบิน 1 โคราช หรือ กองบิน 3 วัฒนานคร ซึ่งก็จะทำให้เขมรตรวจจับความเคลื่อนไหวได้และพร้อมที่จะเปิดระบบตอบโต้ทันทีหากเครื่องบินรบศัตรูเข้ามาในระยะอันตราย
เกร็ดน่ารู้
ราคา KS-1A ทั้งระบบอยู่ที่ราคาประมาณ 120-140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการที่ กพช. ได้รับอาวุทธด้านการป้องกันภัยทางอากาศในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการพัฒนาอีกขั้นอย่างก้าวกระโดดสำหรับ เขมรเพื่อเตรียมการเข้าสู่สนามรบในทุกๆ ด้าน ได้รับการแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลในรายงานของ CSIS ที่เผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคม ระบุว่า มิสไซล์สกัดกั้นหนึ่งลูก ณ ปัจจุบัน มีราคาประมาณ 4 ล้านดอลลาร์ และเครื่องยิงแต่ละตัวมีราคาประมาณ 10 ล้านดอลลาร์
โอกาสยิงสกัดพลาด?
โอกาสที่มิสไซล์ระบบ KS-1A จะยิงสกัดผิดพลาดนั้นเป็นไปได้ยากสำหรับการยิงสกัดในระยะไกล
ที่ผ่านมา มีผู้วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพและความแม่นยำระบบ KS-1A เป็นจำนวนมาก ซึ่งทางฝ่ายโลกตะวันตกมีความพยายามที่จะลดความน่าเชื่อถือ อาวุธยุทโธปกรณ์จากจีน โดยพาดหัวข่าวในนิตยสาร Foreign Policy เมื่อปี 2018 อ้างว่า "มิสไซร์ที่ผลิตในจีนนั้นทำงานล้มเหลวในทุกๆ ที่" โดยเฉพาะระบบชี้ตำแหน่ง เรดาห์สามารถชี้ตำแหน่งได้เป็นอย่างดีแต่ไม่สามารถควบคุมหัวรบให้ตรงเป้าได้ ซึ่
สถานการณ์ในทะเลจีนใต้เริ่มมีความน่าสนใจและทวีความรุนแรงขึ้นในทุกระดับ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีระบบป้องกันภัยทางอากาศที่เหนือกว่า เขมร (ไทยมีระบบ KS-1C) แต่เขมรก็พยายามยกระดับตัวเองขึ้นมา ไทยต้องพยายามเพิ่มขีดความสามารถตัวเองในทุกๆ ด้าน เพราะถ้าหากจะรอให้เกิดสถานการณ์ก่อนแล้วจะมาซื้อจะไม่ทันท่วงที
Cambo Defence











