“ตำราครูช่างไทย - ตำราครูช่างเขมร”
‼️“ตำราครูช่างไทย - ตำราครูช่างเขมร”
📍โพสที่แล้ว เราพูดถึง “ครูช่าง” ไม่ใช่แค่เรื่อง ‘ยุคศิลปะ’
แต่คนเขมรมาเมนต์-แชร์ไปในทางเดียวกันหมดว่า
“มันเป็น ‘ศิลปะเขมร’ อังกอร์เกิดก่อนประเทศเสียมเกิดอีก!”
📍คือ ต่อให้ถามว่า “ลายสมัยไหน?”
มันก็ตอบผิดกันอยู่ดี เพราะคำตอบที่ถูก คือ “ลายไทย-ทวาราวดี / กระหนกไทยสมัยรัตนโกสินทร์”
👉ไม่ใช่ ‘ลายอังกอร์’ !!!! ❌🇰🇭
👉 สอบตกทั้งประเทศจ้ะ! 🤭
….………………………………………
🔴 ‘ครูช่าง’ หมายถึง ผู้มากด้วยองค์ความรู้ดั้งเดิม สะท้อนศาสตร์และศิลป์มาเป็น “พิมพ์เขียว” ที่ถูกยกเป็นต้นแบบงานสาขาต่างๆ
👉 ในที่นี้ หมายถึง “ครูช่างศิลป์ จิตรกรรม”
🔷“🇹🇭ครูช่างศิลป์ไทย”
กรมศิลปากรไทยยกย่องไว้หลายท่าน แต่ขอยกมาแค่ 2 ท่าน คือ
🔹1.) ’สมุดภาพลายไทย’ โดย “พระเทวาภินิมมิต”
👉 ประวัติ :
-เป็นช่างเขียนในกรมช่างข้างในพระองค์ สมัย ร.5 ปี 2455
-เป็นหัวหน้าแผนกตำรา กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร สมัย ร.7
-ผลงานเด่น เช่น บูรณะภาพจิตรกรรมบนระเบียงวัดพระแก้ว เมื่อครั้งปฏิสังขรณ์กรุงเทพฯ ครบ 150 ปี
👉 คนรุ่นหลังรวบรวมผลงานของท่านเมื่อปี 2507 เพื่อตีพิมพ์ในปี 2530
🔹2.) ‘ภาพจิตรกรรมไทย’ โดย “อาจารย์อมร ศรีพจนารถ”
👉 ประวัติ :
-รับราชการแผนกหัตถศิลป์ กรมศิลป์ และ สอนที่โรงเรียนช่างศิลป์ (เพาะช่าง) คณะสถาปัตยกรรม
👉 ตีพิมพ์ ปี 2514
……………………………………..
🔷“🇰🇭ครูช่างศิลป์เขมร”
❌ไม่พบตำรา ‘สูตรการวาดลายเขมร’ ที่ตีพิมพ์ ก่อนปี 2530
❌ ไม่พบชื่อกับประวัติ ‘ครูช่างศิลป์เขมร’ เลยสักคน
🔹พบเพียงหนังสือ ”Kbach A Study of Khmer Ornament“ (ลวดลายเขมร)
👉 เขียนโดย : 2 อาจารย์ประจำ ม.ภูมินทร์วิจิตรศิลป์ ได้แก่
1.) ‘Chan Vitharin’
> ปัจจุบันเป็นรองคณะวิจิตรศิลป์
> ประวัติ : เกิด พ.ศ. 2518 (ยุคสงครามเขมรแดง)
> จบตรี ม. ภูมินทร์ฯ - โทฝรั่งเศส
2.) ‘Preab Chanmara‘
> ถ้าไม่ผิด จบโทฝรั่งเศสเช่นกัน
👉 ทำวิจัยอยู่ 4 ปี : ทุนญี่ปุ่น เช่น บ. โตโยต้า
👉 ตีพิมพ์ พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) !!!
……………………………………..
🟢 เขมรไม่ต้องรีบเฉไฉ บอก “ไทยมาจากยูนนาน” นะ!
เพราะนี่เป็นเรื่องของการทำ ‘สื่อ’ เพื่อการเผยแพร่ลวดลายศิลปะแต่ละยุคสมัย
🟢 ในรูปแบบ “ตำราต้นแบบลาย” จะต้องเก็บรวบรวมหลักฐานทางโบราณคดี + จัดหมวดหมู่ + ผ่านขั้นตอนการทำ ‘scale’ + ลงเล่ม
🟢 ‘ตำราลายไทย’ เริ่มทำมาตั้งแต่ช่วงปลาย พ.ศ. 2400
👉 จาก 2 ตัวอย่างข้างต้น : ปัจุุบันไทยมี ‘ตำราสูตรลายไทย’ แพร่ในตลาดการศึกษาก่อนเขมร อย่างน้อย 18 ปี
(อีกเล่ม เก่ากว่าถึง 34 ปี!)
🟢 เขมรมี ‘ลายอังกอร์’ กับ ลายอื่นๆ มากมาย
👉 คำถามคือ :-
“มีใครรวบรวมข้อมูล + ทำ scale ทุกลวดลายจากทุกปราสาท มาเป็น ‘ตำราลายเขมร’ ก่อนงานวิจัยของอาจารย์ ม.ภูมินทร์ฯ’ ไว้บ้าง?”
🟢 อย่าอ้าง ‘สงคราม’ !
👉 เพราะหลังยุคฝรั่งเศสปกครอง เขมรมีความทันสมัยแล้ว
ดังนั้น…ก่อนสงครามก็น่าจะมีการทำ ‘ตำราการวาดลายเขมร’ สักเล่ม โดย ‘ครูช่างศิลป์เขมร’ สักคนสิ (ถูกไหม?)
🟢 แต่หลังสงคราม ก็ไม่ปรากฎ ‘ชื่อผู้รู้ : ด้านลายเขมร’ เหลือรอดมาฟื้นฟูตำราที่สูญหายเลย
👉 ต้องรอนานถึง 30 ปี กว่านาย Chan Vitharin จะเติบโตขึ้นมา เพื่อเขียน ‘ตำราลายเขมร’ เล่มแรก!
🟢 ทั้งที่ไม่มีผลงานเก่าของ ‘ครูช่างเขมร’ ให้คนเขมรสืบสาน ‘ลายเส้นเขมร’
แต่ปี 2548 กลับมี “ตำราลายเขมร” ที่กำหนด ‘ชื่อลาย’ และสร้างหลักการขึ้น scale ได้ทุกลาย ภายในเล่มเดียว!
🟢 หลายจุดใกล้เคียงกับ ‘ตำราไทย’ มาก ทั้งที่ไทยเผยแพร่ก่อนหลายสิบปี
👉 ถ้าผู้เขียนบอกว่า
“มีตำราไทยเป็นต้นแบบ” ก็จะไม่แปลกใจเลยค่ะ 😏
🟢 ด้วยเหตุนี้ ทำให้ปัจจุบันแม้มีตำราเขมร..ก็เหมือนไม่มี
เพราะศิลปินเขมรยุคใหม่ ต่างวิ่งหา ‘ตำราลายไทย’ ไปใช้เสนอผลงานกันหมด เนื่องจากไม่เข้าใจความต่างของ ‘ลายเส้น’ กับ ‘ยุคสมัยศิลปะ’
👉 แถมใช้แล้วบอกเป็น ‘ลายเส้นศิลปะเขมร-ไทยก๊อปตำราเขมรไป’ อีกต่างหาก 😌
🟢 EP. ต่อไป แอดจะควักเนื้อหาของหนังสือออกมา(ขยี้)ให้ดูค่ะ
โปรดติดตาม !!!
📍ใครอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ กด 1 😁
Cr. ภาพและข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
อ้างอิงจาก: คุณAnna,กลุ่มamazing world culture club-awcc











