อาถรรพ์"เสาชิงช้า"
พระราชพิธีตรียัมปวาย หรือ ตรียัมพวาย หรือที่ประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า “พิธีโล้ชิงช้า” เป็นพิธีหนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือน ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาทุกปี ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนกระทั่งถึงรัชการที่ 7 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเศรษฐกิจของไทยไม่ค่อยมั่นคง เงินในท้องพระคลังร่อยหลอลงเต็มที และการโล้ชิงช้าก็ต้องใช้เงินมาก ประกอบกับช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เหตุการณ์บ้านเมืองยังไม่สงบดีนัก ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ จึงได้ยกเลิกประเพณีการโล้ชิงช้าไปเสีย
พราหมณ์จะประชุมที่ เทวสถานพระอิศวรแล้วผูกพรตชำระกายสระเกล้าเตรียมรับเสด็จพระอิศวรพิธีโล้ ชิงช้า มีที่มาจากคัมภีร์ เฉลิมไตรภพซึ่งกล่าว ว่าพระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตกว่าโลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวร โดยให้พญานาคขึงตนระหว่างต้น พุทราที่แม่น้ำแล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัว โดยพระอิศวรทรงยืนขา เดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัวเท้าพระอิศวร นั้นไม่ตกลง แสดงว่าโลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคง แข็งแรงพระอิศวรจึงทรงชนะพนัน
พิธีกรรมจัดขั้นเพื่อ เสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ซึ่งเชื่อกันว่าพระอิศวรเป็นเจ้า เสด็จลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ ปีละครั้งในเดือนยี่ ครั้งหนึ่งกำหนด ๑๐วัน คือจะลงมาในวันขึ้น ๗ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เสด็จขึ้นกลับ คณะพราหมณ์จึงได้จัด พิธีต้อนรับขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว เพื่อความเป็นศรีสวัสดิมงคลแก่พระนคร
“พิธีโล้ชิงช้า” ความตื่นเต้นหวาดเสียวของคนในอดีต!
คนในอดีต กล่าวคือ เมื่อพระยายืนชิงช้า ไปถึงเสาชิงช้า ก็จะเข้าไปนั่งในโรงราชพิธี จากนั้นให้ผู้ที่จะโล้ชิงช้าขึ้นชิงช้าทีละ 4 คน (โล้ 3 กระดาน รวมเป็น 12 คน) โดยมีเชือกที่ถือยึดไว้แน่นทั้งสี่ด้าน สองคนหันหน้าเข้าหากัน พนมมืออยู่กลางกระดาน มือสอดเชือกไว้ อีกสองคนอยู่หัวท้ายมีเชือกจับมั่นคง ถีบโล้ชิงช้าเพื่อฉวยเงินรางวัล 1 ตำลึง
ส่วนการที่จะฉวยเอาเงินรางวัลได้นั้น คนที่อยู่หัวกระดานเป็นคนฉวย โดยเงินนั้นผูกแขวนไว้กับฉัตรสูงที่ปักไว้แล้วมีคันทวยยื่นออกไประยะห่างพอที่จะโล้ชิงช้ามาถึงได้ คนดูที่อยู่ข้างล่างก็ “ตีปีก” เชียร์กันอย่างสนุกสนาน
การโล้ชิงช้านี้สำคัญอยู่ที่คนท้าย คือจะต้องเล่นตลก คือพอคนหน้าจะคาบถุงเงิน คนท้ายจะทำกระดานโล้ ให้เบี่ยงไปเสียบ้าง ทำกระดานโล้ให้เลยถุงเงินเสียบ้าง จึงจะเรียกเสียงฮา จากคนดูได้
"การโล้ชิงช้าเป็นพิธีกรรมเก่าแก่ และอันตรายในสมัยอดีต
"ต่อมาได้มีการยกเลิกพิธีนี้ไปแล้ว
"ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่าน"
"คอมเมนท์ของทุกท่านจะเป็นการนำไปปรับใช้ในการเขียนบทความครั้งต่อๆไป ขอบคุณครับ"