นิยายอิโรติก บนแผ่นฟิล์ม
ภาพยนตร์ติดเรตอาร์มีการสร้างออกมาไม่น้อย แต่ที่จัดว่าเป็นงานขึ้นหิ้ง เรียกเต็มปากว่างานศิลปะ มีอยู่ไม่มากนัก…
โดยเฉพราะที่นำเอานิยายชั้นครู มาสร้างให้กลมกล่อมกับบทประพันธ์ดั่งเดิม ยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่ ถึงอย่างนั้นก็ยังมีอยู่บ้าง เรามาดูกันว่ามีเรื่องอะไรบ้าง…
หนึ่งในนั้นคือ แม่เบี้ย…ถูกสร้างเป็นภาพยนต์ 3 เวอร์ชั่น…ตื่นตาตื่นใจทุกเวอร์ชั่นครับ
แม่เบี้ย” เป็นนวนิยายของวาณิช จรุงกิจอนันต์ นักเรียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ปีพุทธศักราช 2527 จากหนังสือรวมเรื่องสั้น “ซอยเดียวกัน”
ทั้งยังมีผลงานที่ผู้คนต่างยอมรับมากมายหลายเรื่องด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือนวนิยายเรื่อง แม่เบี้ย วรรณกรรมเชิงสัญลักษณ์ประเภทโกธิคที่สอดแทรกด้วยเนื้อหาอีโรติคในบางตอน และด้วยเสน่ห์ความงดงามทางวรรณศิลป์และความโดดเด่นน่าสนใจของเรื่องทำให้นวนิยายเรื่องนี้ได้รับรางวัลชมเชยประเภทนวนิยายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2530 และยังมีผู้นำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ละครเวที รวมไปถึงสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งด้วยกัน
แม่เบี้ย จึงกลายเป็นวรรณกรรมและภาพยนตร์ที่ติดตราตรึงใจผู้คนในทุกยุคทุกสมัย
ความผูกพันที่เชื่อมโยงร้อยเรียงขึ้นเป็นนวนิยาย เรื่อง “แม่เบี้ย” โดยมี สายน้ำ เป็นจุดก่อกำเนิดและจุดจบของเรื่องราว และมี ความหลัง เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ชายหนุ่ม ที่ชื่อ ‘ชนะชล’ แม้จะมีชื่อที่มีความหมายว่าชนะต่อสายน้ำแต่ในท้ายที่สุดแล้วชลกลับเป็นสิ่งที่ชนะตัวเขาเอง ชนะชลเป็นผู้ที่มีพร้อมในทุก ๆ สิ่ง ทั้ง ครอบครัว หน้าที่การงาน และฐานะ
ทางการเงินที่ดี แต่เขากลับสามารถทิ้งสิ่งเหล่านี้ได้ เพียงเพื่อผู้หญิงเพียงคนเดียว
‘เมขลา’ หญิงสาวตัวแทน
ของคนสมัยใหม่ในเรื่องที่มีชื่อเหมือนนางในวรรณคดี และยังมีลักษณะนิสัยที่เหมือนกัน ผู้ชายเป็นเพียงแค่เครื่องคลายเหงาของเธอ ความสัมพันธ์ระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวภายในเรื่อง แม้จะเล็ดลอดสายตาของผู้คน แต่ก็ไม่อาจผ่านพ้นสายตาของอสรพิษที่เฝ้าดูความสัมพันธ์ของทั้งสองไปได้ งู เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเพื่อทำลายความสัมพันธ์อันไร้ศีลธรรม ที่ซุกซ่อนอยู่ภายในจิตใจของชายหนุ่มและหญิงสาว
ถึงแม้วาณิช จรุงกิจอนันต์จะเขียนนวนิยายเรื่อง“แม่เบี้ย” ตั้งแต่ปีพ.ศ.2530 แต่นวนิยายเรื่องนี้ก็ยังสามารถสะท้อนภาพสังคมฟอนเฟะไร้ศีลธรรม ที่ผู้คนต่างผิดลูกผิดเมียผู้อื่น หรือยอมสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งความสัมพันธ์ที่ผิดครรลองครองธรรมได้ทุกยุคทุกสมัย
ซึ่งในเรื่องแม่เบี้ย ผู้เขียนจะเปิดเรื่องด้วยการบรรยายลักษณะอาการอันเป็นธรรมชาติของงูเห่า และบรรยายฉากที่ชนะชลพร้อมกับคณะนำเที่ยวกำลังนั่งเรือชมความงามของธรรมชาติตลอดทั้งสองฟากฝั่งของสายน้ำในจังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนที่ตัวละครเอกทั้งสองจะพบกัน และก่อกำเนิดเป็นเรื่องราวอันไร้ศีลธรรมของทั้งชนะชลและเมขลา
ส่วนการปิดเรื่องผู้เขียนบรรยายเหตุการณ์ที่เมขลากำลังโศกเศร้าเสียใจต่อการจากไปของชนะชล ทำให้เธอตัดสินใจฆ่า ‘คุณ’(งู) อันเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของจารีตประเพณีและศีลธรรม อันเป็นต้นเหตุให้ชนะชลเสียชีวิต และบรรยายให้ผู้อ่านเห็นภาพลักษณะอาการของงูเห่าเช่นเดียวกับตอนเปิดเรื่อง
นวนิยายเรื่องนี้มีความขัดแย้งหลัก คือความขัดแย้งภายในจิตใจของเมขลา โดยภายในจิตใจของเธอจะเกิดการต่อสู้ระหว่างศีลธรรมอันดีกับรสกามราคะ …..
อีกเรื่องที่ถูกสร้างเป็นภาพยนต์ 3 ครั้งเช่นกันคือ…จันดารา
เรื่องของจัน ดารา เป็นนวนิยายเชิงสังวาส บทประพันธ์ของอุษณา เพลิงธรรม (ประมูล อุณหธูป) ตีพิมพ์เป็นตอนๆ ลงในนิตยสารสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2509
ตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2509 โดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น มีเนื้อหาแนวนาฏกรรมเชิงกามวิสัย เป็นบันทึกชีวิตของจัน ดารา ซึ่งจันเขียนขึ้นเองตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศก่อนวัยอันควรของเขา ผ่านมุมมองของเขาที่เห็นว่าคนรอบข้างล้วนมีพฤติกรรมและจิตใจจ่อมจมอยู่ในกาม ทั้งที่ตัวเขาเองก็เป็นเช่นกัน เนื้อเรื่องยังแสดงถึงอคติหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นความรักฉันญาติมิตร ความรักใคร่ฉันชู้สาว ความเกลียดและกลัว
ซึ่งอุษณา เพลิงธรรม เขียนไว้ในคำนำว่า… "ขอบอกกล่าวไว้เสียด้วยว่า เป็นเรื่องอ่านเล่นซึ่งไม่ใช่ของสำหรับเด็ก และเป็นของแสลงอย่างยิ่งสำหรับบุคคลประเภทมือถือสากปากถือศีล"
เรื่องของจัน ดารา ได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ 3 ครั้ง ในชื่อ จัน ดารา มีรายละเอียดดังนี้
- ฉบับ พ.ศ. 2520 กำกับโดย รัตน์ เศรษฐภักดี เขียนบทโดย ส. อาสนจินดา กำกับภาพโดย อดุลย์ เศรษฐภักดี อำนวยการสร้างโดย กิติมา เศรษฐภักดี สร้างโดย เทพกรภาพยนตร์ นำแสดงโดย สมบูรณ์ สุขีนัย (จัน) อรัญญา นามวงศ์ (บุญเลื่อง) ศิริขวัญ นันทศิริ (แก้ว) ประจวบ ฤกษ์ยามดี (บุญชัย) ภิญโญ ปานนุ้ย (เคน) แสงแข บุญเรือง จันทร์แรม ปวงจักรทา และ วิทยา สุขดำรงค์ เข้าฉายวันแรก 11 มีนาคม พ.ศ. 2520
- ฉบับ พ.ศ. 2544 กำกับและเขียนบทโดย นนทรีย์ นิมิบุตร สร้างโดย ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ (คุณหลวง) คริสตี้ ชุง (บุญเลื่อง) เอกรัตน์ สารสุข (จัน) ครรชิต ถ้ำทอง (เคน) และ ภัทรวรินทร์ ทิมกุล (แก้ว) เข้าฉายวันแรก 28 กันยายน พ.ศ. 2544
- ฉบับ พ.ศ. 2555 - 2556 กำกับและเขียนบทโดย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล สร้างโดย สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล นำแสดงโดย มาริโอ้ เมาเร่อ (จัน ดารา), รฐา โพธิ์งาม (บุญเลื่อง), ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ (หลวงวิสนันท์เดชา), โช นิชิโนะ (แก้ว), ชัยพล พูพาร์ต (เคน) เป็นภาพยนตร์ทวิภาค ได้แก่ จัน ดารา ปฐมบท (2555) และ จัน ดารา ปัจฉิมบท (2556 )
เรื่องสุดท้ายจัดเป็นเพชรยอดมงกุฏเลยก็ว่าได้ ไม่เพียงโด่งดังในไทย ยังเป็นที่ยอมรับของสากลหลายประเทศ…เรื่อง บัณฑิตก่อนเที่ยงคืน หรือ…Sex and Zen…
ถูกสร้างมาแล้ว 4 ครั้ง ถูกดัดแปลงผิดเนื้อหาไปหลายเรื่อง แต่ในเวอร์ชั่นสุดท้าย ใกล้เคียงกับบทปรพพันธ์ที่สุด…
เป็นเรื่องราวของบัณฑิตหนุ่มที่ชื่อเว่ยหยังเช็งนี้ (เว่ยหยังแปลว่าก่อนเที่ยงคืน, เช็งแปลว่าบัณฑิต) ที่เริ่มแสวงหาความสุขทางโลกีย์วิสัย ด้วยการแต่งงานกับลูกสาวของพ่อค้าคนหนึ่งนามว่า ฟุ้งหอมสูงส่ง
ด้วยความมักมากในกามคุณ บัณฑิตก่อนเที่ยงคืนคบโจรคนหนึ่งเป็นสหาย เพื่อที่จะเรียนรู้การลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนต่างๆ ตอนกลางคืนเพื่อคบชู้กับผู้หญิงคนอื่นๆ อีก และหลังจากนั้นก็มีเรื่องราวของการผ่าตัดอวัยวะเพศของเขาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยในการนี้บัณฑิตก่อนเที่ยงคืนต้องยอมแลกกับการเป็นหมันไปตลอดชีวิต (ซึ่งสำหรับสังคมจีน การกระทำเช่นนั้นขณะที่ตัวเขายังไม่มีลูกชายไว้สืบสกุลสักคนเดียวย่อมเป็นบาปหนัก)
มีตัวละครหญิงจำนวนมากที่มีลักษณะแตกต่างกันไปในเรื่องนี้ ทั้งเด็กสาวไปจนถึงแม่หม้ายวัยกำดัด มีฉากการร่วมเพศหมู่ การเริงรักของผู้หญิงด้วยกันในลักษณะ Lesbian ผมคิดว่าสำนวนแปลของชลันธรนั้นเป็นไปอย่างหมดจดงดงามมาก ดังจะขอยกตัวอย่างมาให้ดูสักย่อหน้าหนึ่งจากฉากเซ็กซ์หมู่ที่กล่าวถึงไปเมื่อครู่ :
เมื่อเห็นนางอยู่หมัดไม่ขัดขืน (เขา)จึงใช้มือกุมตัวเอกอัครราชทูตของรองประธาน ให้เร่งปฏิบัติการโจมตีประตูเมืองอันคับแคบ และเพื่อให้ได้ชัยชนะในการจู่โจม ปรากฏว่าหนึ่งในสามของปีศาจสาวตัวร้าย ซึ่งยืนอยู่ด้านหลังของบัณฑิตก่อนเที่ยงคืน พลันโถมตัวเข้าผลักไสเพื่อให้เอกอัครราชทูตรีบรุดหน้าเข้าไปอย่างขมีขมัน
หลังจากนั้นเป็นเรื่องราวการคบชู้ของฟุ้งหอมสูงส่ง ภรรยาของบัณฑิตก่อนเที่ยงคืนกับคนรับใช้จนตั้งครรภ์ เธอต้องหลบหนีไปจากเมือง (เนื่องด้วยข้อหาคบชู้จะได้รับโทษสถานหนัก) และเร่ร่อนกลายไปเป็นโสเภณีในหอนางโลม
ในตอนปลายเรื่อง บัณฑิตก่อนเที่ยงคืนไปเที่ยวหอนางโลมนั้น พอฟุ้งหอมสูงส่งเห็นเขาก็รีบหนีเข้าห้อง แต่เขายังยืนยันที่จะเข้าห้องของเธอให้ได้ (โดยที่ยังไม่รู้เลยว่านางโลมคนนี้คือภรรยาของเขานั่นเอง) และทำให้ฟุ้งหอมสูงส่งกลัวจะถูกลงโทษและถูกประณามจนต้องผูกคอตายไปในตอนนั้นนั่นเอง
ในตอนจบ ด้วยความปลงอนิจจังกับกิเลสตัณหา บัณฑิตก่อนเที่ยงคืนย้อนกลับไปหานักบวชอีกครั้ง เขาออกบวชและเปลี่ยนชื่อเป็น ..
กรวดหินเบาปัญญา….













