เปิดเงินเดือน ส.ส. ส.ว. ประธารสภา รองประธานสภา และคณะทำงาน
รู้หรือไม่เงินเดือนหรือค่าตอบแทนของเหล่านักการเมืองระดับชาติหรือข้าราชการการเมืองนั้นอยู่ที่เรทเดือนละเท่าไหร่
วันนี้มาชวนมาส่องเงินเดือนนักการเมืองไทย ทั้ง ส.ส., ส.ว., ประธานสภาผู้แทนราษฎร, ประธานวุฒิสภา รวมถึงรองประธานวุฒิสภา และคณะทำงานกัน จากคู่มือ “สิทธิประโยชน์ของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ” และ คู่มือ "สิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร"
เงินเดือนประธานสภาผู้แทนราษฎร
- เงินประจำตำแหน่ง 75,590 บาท/เดือน
- เงินเพิ่ม 50,000 บาท/เดือน
เงินเดือนประธานวุฒิสภา
- เงินประจำตำแหน่ง 74,420 บาท
- เงินเพิ่ม 45,500 บาท
เงินเดือนรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- เงินประจำตำแหน่ง 73,240 บาท
- เงินเพิ่ม 42,500 บาท
เงินเดือนรองประธานวุฒิสภา
- เงินประจำตำแหน่ง 73,240 บาท
- เงินเพิ่ม 42,500 บาท
เงินเดือนผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
- เงินประจำตำแหน่ง 73,240 บาท
- เงินเพิ่ม 42,500 บาท
เงินเดือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- เงินประจำตำแหน่ง 71,230 บาท
- เงินเพิ่ม 42,330 บาท
เงินเดือนสมาชิกวุฒิสภา
-
เงินประจำตำแหน่ง 71,230 บาท
-
เงินเพิ่ม 42,330 บาท
นอกจากตำแหน่งของเหล่าสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ยังมีตำแหน่งอื่น ๆ ที่มีเงินเดือนรองรับ โดยเสนอชื่อและแต่งตั้งได้โดยสมาชิกรัฐสภาทั้งส.ส.และส.ว.เอง ดังนี้
- ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว 1 คน ค่าตอบแทน 24,000 บาท/เดือน
- ผู้ชำนาญการประจำตัว 2 คน ค่าตอบแทนคนละ 15,000 บาท/เดือน
- ผู้ช่วยดำเนินงาน 5 คน ค่าตอบแทนคนละ 15,000 บาท/เดือน
- คณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานวุฒิสภา และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
- ที่ปรึกษา 5 คน ค่าตอบแทน 20,000 บาท/เดือน
- นักวิชาการ 4 คน ค่าตอบแทน 18,000 บาท/เดือน
- เลขานุการ 3 คน ค่าตอบแทน 15,000 บาท/เดือน
- ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
- ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา 2 คน ค่าตอบแทนคนละ 57,660 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 15,000 บาท/เดือน
- ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา (ซึ่งก็คือประธานวุฒิสภา) ค่าตอบแทน 57,660 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 15,000 บาท/เดือน
- ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา เท่ากับจำนวนรองประธานวุฒิสภา คือ 2 คน ค่าตอบแทน 47,250 บาท/เดือน เงินประจำตำแนห่ง 10,000 บาท/เดือน
- โฆษกประธานวุฒิสภา ค่าตอบแทน 47,250 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 10,000 บาท/เดือน
- เลขานุการประธานวุฒิสภา ค่าตอบแทน 44,310 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 4,900 บาท/เดือน
- เลขานุการรองประธานรัฐสภา (ซึ่งก็คือประธานวุฒิสภา) ค่าตอบแทน 44,310 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 4,900 บาท/เดือน
- เลขานุการรองประธานวุฒิสภา เท่ากับจำนวนรองประธานวุฒิสภา คือ 2 คน ค่าตอบแทน 44,310 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 4,900 บาท/เดือน
- ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา ค่าตอบแทน 39,710 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 3,780 บาท/เดือน
- ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา (ซึ่งก็คือประธานวุฒิสภา) ค่าตอบแทน 39,710 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 3,780 บาท/เดือน
- ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา เท่ากับจำนวนรองประธานวุฒิสภา คือ 2 คน ค่าตอบแทน 39,710 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 3,780 บาท/เดือน
- ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา ค่าตอบแทนคนละ 57,660 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 15,000 บาท/เดือน
- ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร 2 คน ค่าตอบแทนคนละ 57,660 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 15,000 บาท/เดือน
- ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร เท่ากับจำนวนรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คือ 2 คน ค่าตอบแทน 47,250 บาท/เดือน เงินประจำตำแนห่ง 10,000 บาท/เดือน
- ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ค่าตอบแทน 47,250 บาท/เดือน เงินประจำตำแนห่ง 10,000 บาท/เดือน
- โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร ค่าตอบแทน 47,250 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 10,000 บาท/เดือน
- โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ค่าตอบแทน 47,250 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 10,000 บาท/เดือน
- เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร ค่าตอบแทน 44,310 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 4,900 บาท/เดือน
- เลขานุการประธานรัฐสภา ค่าตอบแทน 44,310 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 4,900 บาท/เดือน
- เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เท่ากับจำนวนรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คือ 2 คน ค่าตอบแทน 44,310 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 4,900 บาท/เดือน
- เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ค่าตอบแทน 44,310 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 4,900 บาท/เดือน
- ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร ค่าตอบแทน 39,710 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 3,780 บาท/เดือน
- ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เท่ากับจำนวนรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คือ 2 คน ค่าตอบแทน 39,710 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 3,780 บาท/เดือน
- ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ค่าตอบแทน 39,710 บาท/เดือน เงินประจำตำแหน่ง 3,780 บาท/เดือน
- ตำแหน่งในคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา
- ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
- กรณีไม่เป็นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ ค่าตอบแทน 10,000 บาท/เดือน
- เป็นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ ค่าตอบแทน 7,500 บาท/เดือน
- ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการ
- กรณีไม่เป็นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ ค่าตอบแทน 9,000 บาท/เดือน
- เป็นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ ค่าตอบแทน 6,500 บาท/เดือน
- นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการ
- กรณีไม่เป็นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ ค่าตอบแทน 8,000 บาท/เดือน
- เป็นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ ค่าตอบแทน 6,000 บาท/เดือน
- เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
- กรณีไม่เป็นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ ค่าตอบแทน 6,000 บาท/เดือน
- เป็นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ ค่าตอบแทน 4,500 บาท/เดือน
- ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
นอกจากนี้ ยังมีเงินที่ได้รับในรูปแบบของเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งจากการประชุมของคณะกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการ คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ ของทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา โดยสามารถได้รับเบี้ยประชุมจากการประชุมนั้นได้ 1 ครั้ง/การประชุม แต่หากมีประชุมคณะกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการ คณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการอื่นอีกในวันเดียวกัน ให้รับเบี้ยประชุมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
- คณะกรรมาธิการ 1,500 บาท/ครั้ง/คน
- คณะอนุกรรมาธิการ 800 บาท/ครั้ง/คน
- คณะกรรมการ
- ประธานกรรมการ 2,000 บาท/ครั้ง
- รองประธานกรรมการ 1,800 บาท/ครั้ง
- กรรมการ 1,600 บาท/ครั้ง
- เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ 1,600 บาท/ครั้ง เลขานุการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกิน 1 คน ผู้ช่วยเลขานุการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกิน 2 คน ในกรณีที่กรรมการผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการ 2,000 บาท/ครั้ง
- คณะอนุกรรมการ
- ประธานอนุกรรมการ 1,250 บาท/ครั้ง
- อนุกรรมการ ครั้งละ 1,000 บาท/ครั้ง
- เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ 1,000 บาท/ครั้ง เลขานุการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกิน 1 คน ผู้ช่วยเลขานุการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกิน 2 คน อนุกรรมการผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
นอกจากเงินค่าตอบแทนเหล่านี้ยังมีสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอื่น ๆ อีกมากมายที่คอยอำนวยสะดวกทั้งการรักษาพยาบาลและการเดินทาง
อ้างอิงจาก: https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/253/files/link/ss_62.pdf
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20130904135136.pdf
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/appoint_person/01_parliament_regulation.pdf













