ลักษณะอากาศทั่วไป 31 มี.ค. 2566
รูปภาพ:
แผนที่อากาศ
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางแห่งในภาคเหนือ และภาคกลาง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และตะวันออก จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลสุขภาพเนื่องจากอากาศที่ร้อนขึ้นและระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคเหนือมีฝุ่นละออง/หมอกควันสะสมมากเนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคอื่นๆ มีการสะสมน้อยถึงปานกลาง เนื่องจากยังคงมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมและมีฝนตกในบางพื้นที่
พยากรณ์อากาศกรุงเทพฯ และปริมณฑล06:00 น. วันนี้ - 06:00 น. วันพรุ่งนี้
อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ออกประกาศ 31 มีนาคม 2566 18:00
สภาพอากาศรายจังหวัดเพิ่มเติม
อากาศ 7 วัน ข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 6 เมษายน พ.ศ. 2566คาดหมาย
ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 1 – 4 เม.ย. 66 ลมตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5 – 6 เม.ย. 66 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่
สำหรับลมตะวันออก และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ ตลอดช่วง
ข้อควรระวัง
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 1 – 4 เม.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่เกิดขึ้นในระยะนี้ สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย
ออกประกาศ 31 มี.ค. 2566
อากาศ 7 วัน ที่ผ่านมา
24 มีนาคม 2566 - 30 มีนาคม 2566คาดหมาย
ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวเกือบตลอดช่วง โดยมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในระยะกลางช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีฝนบางพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันในระยะต้นช่วง จากนั้นลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะครึ่งหลังของช่วงทำให้ภาคใต้มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีฝนบางพื้นที่ตลอดช่วง
ออกประกาศ 31 มี.ค. 2566
ข้อมูลย้อนหลัง
อากาศรายเดือน
พฤษภาคม 2566คาดหมาย
<p style="line-height: 17pt; margin-top: 0; margin-bottom: 0; direction: ltr; unicode-bidi: embed; vertical-align: baseline">บริเวณประเทศไทยตอนบน
ช่วงครึ่งแรกของเดือน ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยยังคงมีอากาศร้อนอบอ้าวเป็นระยะๆ
และมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กับจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหลายพื้นที่ในบางช่วง
เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ
ประกอบกับลมใต้หรือลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว
จากนั้นประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนหนักในหลายพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากจะมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ซึ่งเป็นการเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย สำหรับบริเวณภาคใต้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นอีก
โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก
เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้เกือบตลอดเดือน
สรุปเดือนนี้
คาดว่า ประเทศไทยอุณหภูมิเฉลี่ยยังคงใกล้เคียงค่าปกติ สำหรับปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะใกล้เคียงค่าปกติ
เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมากกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 10
ข้อควรระวัง
เดือนนี้ บริเวณทะเลอันดามันมักจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงหรือพายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวทางทิศเหนือค่อนไปทางตะวันออกเข้าใกล้หรือเคลื่อนผ่านบริเวณด้านตะวันตกของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งคลื่นลมในทะเลจะมีกำลังแรงขึ้น ขอให้ติดตามข่าวอากาศประจำวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดต่อไปด้วย








