สิ่งที่เขมรไม่บอกเรา เขมรควรฉลาดได้แล้ว
เครื่องแต่งกายเจ้านาย โขนละครเขมรเป็นเพราะไทยเรากำหนดไว้ให้
ในช่วงคริสศตวรรษที่ 19 เมื่อกล้องถ่ายภาพเข้ามายังสยาม เขมร พม่า ลาว ปรากฎเครื่องแต่งกายชุดไพร่-เจ้า ชุดโขนละครนางรำ
ที่นี้สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจเวลาเราศึกษาเรื่องพัสตราภรณ์และถนิมพิมพาภรณ์ในเชิงประวัติศาสตร์ เรื่องยศชั้นข้อห้ามและข้อกำหนดวัสดุสิ่งทอ สีสัน ตั้งแต่ฝ้าย ไหม เงิน ทอง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ถูกออกแบบให้เข้ากับชั้นบุคคลสำคัญ
และต้องไม่ลืมว่าในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 4 สยามคือผู้ครอบครองเขมรมาตั้งแต่การสถาปนากรุงเทพฯ ดังนั้นข้อกำหนดกฎเกณฑ์ในฐานะเมืองประเทศราชก็ย่อมมีข้อจำกัด ดังเช่น ชุดเจ้านายประเทศราชกับเจ้านายในเมืองหลวงย่อมมีความแตกต่างกัน รวมไปถึงชุดโขนละครในราชสำนักเมืองประเทศราชและเมืองหลวงก็ถูกแบ่งแยกกันออกอย่างเด่นชัด
แน่นอนที่สุดเมื่อพวกโคโลเนียลเข้ามายึดครองเขมรตามสนธิสัญญาต่างๆ เครื่องเคราในการแต่งกายย่อมถูกผ่อนปรนจากสยามไปแล้ว คือหยุดจากเมืองประเทศราชไปเป็นเมืองในอารักขาของโคชินฝรั่งเศส ความมั่วมันจึงเริ่มเกิดขึ้น
สิ่งที่สยามมอบให้เขมรคือวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายในฐานะเมืองประเทศราช คือเอาไปจากสยาม รวมทั้งพระราชวังเขมรินทร์ โบสถ์พระแก้วที่ดูเรียบง่ายในกรุงพนมเปญ ดังนั้นเครื่องโขนละครทั้งหลายที่เราเห็นในภาพถ่ายเก่าในยุคโคโลเนียล ก็เพราะเขมรอยู่ในฐานะเมืองขึ้นกรุงเทพฯมาก่อน
เจ้าเหนือหัวของพวกเราก็ต้องควบคุมเจ้าเหนือหัวพวกเขมร จะแต่งกายชนิดใดจะทำเทียมเจ้านายกรุงเทพได้อย่างไรมันคนละชั้นในทางสังคมการเมืองจริงไหม
เรียนประวัติศาสตร์เพื่อรู้เขารู้เรา ไม่ใช่โง่ดักดานอยู่แต่คณะราษฎรหรือคลั่งลัทธิประชาธิปไตยของพวกฝรั่ง
หัดมีความภาคภูมิใจในความเป็นเราชาวสยามและความเป็นไทยเราปัจจุบันกันบ้าง








