บางคำในภาษา "เขมร" ที่จริงก็เคลมภาษาไทยอีกที??
🇰🇭🇹🇭 ภาษาเขมรนับว่ามีอิทธิพลต่อภาษาไทยระดับหนึ่ง ดังที่มีคำยืมจำนวนมากมาใช้ในภาษาไทย
ในวิชาภาษาไทยเราก็มีเรียนกันมาว่า วิธีดูคำเขมรจะมีลักษณะอย่างไร เช่น
🔸คำนั้นอ่านแบบอักษรนำ: ถนน, เสวย, ตลาด, เจริญ, เสด็จ
🔸มีสระ -ำ- แทรกกลาง: ตำรวจ, ทำลาย, บำเพ็ญ, อำนวย
.
🇹🇭🇰🇭 อย่างไรก็ตาม คำที่มีใช้ร่วมกันระหว่างสองภาษานี้ ก็ยังมีคำอีกกลุ่มหนึ่งที่ "ภาษาเขมรยืมคำจากภาษาไทยไปใช้"
ตัวอย่างคำเช่น ร้อย (រយ), พัน (ពាន់), หมื่น (ម៉ឺន), หมอ (ហ្ម), หลวง (ហ្លួង), ง่าย (ងាយ), ตาม (តាម), แก้ว (កែវ), อ่าน (អាន), เสียง (សៀង), เขียว (ខៀវ), เหลือง (លឿង), ตาย (តាយ), กาก (កាក)
ดูยังไงก็เป็นคำไทยแน่ๆ มีพยางค์เดียว เขียนตรงตัว ยิ่งมีรูปวรรณยุกต์ด้วยนี่ใช่เลย (เพราะเขมรไม่มี)
.
😵💫 พอทั้งสองภาษาใช้คำเหมือนกัน มันจะเริ่มสับสนแล้วว่า ฝั่งไหนยืมก่อน เพราะดันยืมกันไปยืมกันมานี่แหละ
เพราะสมัยโบราณที่จักรวรรดิเขมรมีอำนาจในแถบสุวรรณภูมิ คนไทยก็ยืมคำเขมรไปใช้ก่อน ดังที่เห็นในคำราชาศัพท์มากมาย
เวลาต่อมาเขมรเสื่อมอำนาจลงและกลายเป็นประเทศราชของสยาม ทำให้อิทธิพลจากภาษาไทยกลับเข้าไปสู่ภาษาเขมร และเกิดการยืมศัพท์ไทยไปใช้แทน
ที่เห็นชัดๆ ก็ตัวเลข 1-29 อ่านแบบเขมร แต่พอขึ้นเลข 30 40 50 จนถึงหลักร้อย, พัน, หมื่น, แสน, ล้าน กลับไปอ่านแบบไทย
.
🔵 ดังนั้น เวลาจะเคลมภาษาน่ะ ช่วยดูที่มาศัพท์ด้วยว่ารากศัพท์มาจากภาษาไหนก่อน
ไม่ใช่เห็นคำไทยกับเขมรเขียนอ่านคล้ายกัน พี่ก็เหมาหมดว่าคำไทยทั้งหมดยืมเขมรมา บางคำนี่ไทยแท้ชัดๆ แล้วเขมรยืมไปใช้เอง
เห็นแล้วเพลีย คนเขมรเห็นอะไรที่เป็นไทยหน่อย ก็เคลมว่ามาจากเขมรหมด ทั้งภาษา, ศิลปะ, เสื้อผ้า, โขน, ยันมวยเลยทีเดียว
เหมือนไม่อยากยอมรับว่าประเทศไทยก็มีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมในแบบของตัวเองเลย
.
🔵 สำหรับคำศัพท์เขมรที่ยืมไทย อ้างอิงจาก
https://en.wiktionary.org/wiki/Category:Khmer_terms_borrowed_from_Thai
https://en.wiktionary.org/wiki/Category:Khmer_terms_derived_from_Thai
หากมีคำไหนผิดพลาด หรือมีคำศัพท์เพิ่มเติม ก็บอกกันได้นะครับ เพราะแหล่งข้อมูลภาษาเขมรนี่หายากจริง
.
-------------------------------








