T-VER คืออะไร
หลายปีที่ผ่านมาเทรนโลกร้อนกำลังมาแรงจนกลายเป็นแฟชั่นสำหรับคนรุ่นใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งกระแสการลดใช้การปริมาณถุงพลาสติก เนื่องด้วยเม็ดพลาสติกไปอยู่ในระบบนิเวศน์ ส่วนใหญ่ของโลกจนมีผลกระทบกลับสู่มนุษย์ในฐานะสารพิษปนเปื้อน
หรือแม้แต่กระทั่งฝุ่นละอองจากการผลิตทางอุตสาหกรรม และการใช้ยานพาหนะแบบสันดาปทำให้เกิดควันพิษในอากาศ การเกษตรกรรมที่มีการใช้ทรัพยากรน้ำเกินความจำเป็นกับการเกิดก๊าซที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นบรรยากาศ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศเหล่านี้คือตัวแปรที่ทำให้เราใช้ชีวิตยากขึ้นในปัจจุบัน
ซึ่งเหล่านี้ทางรัฐบาลเองไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะแก้ไขปัญหาจึงเกิดโครงการ T VER ขึ้นเพื่อลดปริมาณของการก่อมลพิษ อีกทั้งเป็นช่องทางรายได้ทางเลือกสำหรับเกษตรกรและชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆได้มีส่วนเข้าร่วมและสร้างความเข้าใจเพื่อนำไปเผยแพร่ต่ออีกด้วย
เรามารู้จักกับ T-VER คือ
T-VER คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ
และสามารถนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิต ซึ่งภายใต้โครงการ T-VER นี้เรียกว่า “TVER” ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในประเทศได้ ทั้งนี้ อบก. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ ระเบียบวิธีการในการลดก๊าซเรือนกระจก (Methodology) การขึ้นทะเบียนและการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยจะต้องเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดการลด/ ดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย
เรื่องนี้จะขาดผู้ที่เล็งเห็นความสำคัญและผู้มีส่วนสนับสนุนอย่าง นายวราวุธ
ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงและถ้าเราติดตามเราจะเห็นผลงานเหล่านี้ตามหน้าสื่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องอีกทั้งล่าสุดโมเดลที่ร่วมผลักดัน อย่างป่า โค้งตาบาง จังหวัดเพชรบุรีซึ่งผู้ติดตามคือกลุ่มคนในพื้นที่อย่าง ดร.ยุทธพล อังกินันท์ ที่ให้ความสำคัญ จนชาวบ้านในพื้นที่ มีรายได้กลับสู่ชุมชนอย่างมหาศาล รวมไปถึงการทำนาที่ชาวบ้านในจังหวัดสุพรรณบุรีได้รายได้ในการขาย คาร์บอนเครดิตร เฉลี่ยเกือบเท่านึงของราคาข้าวต่อตันที่ขายอยู่ ณ เวลานี้
หลายคนจะตั้งตำถามว่ายากหรือไม่หรือปัญหาเยอะไหมจากการร่วมโครงการดังกล่าว แต่เมื่อดูหลักเกณฑ์จะพบว่า ไม่ยากอย่างที่คิด ซึ่งการลดก๊าซเรือนกระจกที่สามารถพัฒนาเป็นโครงการ T-VER ได้ ต้องเข้าข่ายประเภทโครงการ ดังต่อไปนี้
1) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
2) การพัฒนาพลังงานทดแทน
3) การจัดการของเสีย
4) การจัดการในภาคขนส่ง
5) การปลูกป่า/ต้นไม้
6) การอนุรักษ์/ฟื้นฟูป่า
7) การเกษตร
เราจะเห็นได้ว่ากิจกรรมในชีวิตประจำวันของชาวบ้านเกือบทั่วประเทศสามารถเข้าไปอยู่ในการสร้างรายได้ทางเลือกของ T-VER ได้หมดทั้งสิ้น ไม่ใช่แค่ด้านการปลูกป่าหรือสร้างเมกกะโปรเจกด้านสิ่งแวดล้อม แค่ลองปรับและมองสิ่งใหม่ก็สามารถช่วยโลกและเพิ่มเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย







