พระนางสิงขรมหาเทวี
พระนางสุขรมหาเทวี
พระนางสิงขรมหาเทวี หรือ สิงขรเทวี หรือ สิงขระมหาเทวี
เอกอัครชายาของพ่อขุนผาเมือง
พระรูปฉลองพระองค์ พระนางสุขรมหาเทวี ( สิงขรมหาเทวี หรือ สิขรมหาเทวี หรือ สิงหเทวี) โดยปฏิมากรท้องถิ่น ณ ด้านข้างอนุสาวรีย์ พระรูปหล่อพ่อขุนผาเมือง ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาพโดย Chatchai dewa 17 กันยายน พุทธศักราช 2567
พระนางสุขรมหาเทวี หรือ สิงขระมหาเทวี หรือ สิงขรมหาเทวี หรือ สิขรมหาเทวี หรือในบางที่ออกนามเป็น สิงหเทวี ( ព្រះនាងសិង្ខរមហាទេវី ឬ សិង្ខរទេវី, សុខរទេវី , សិខរទេវី - Sikhara Mahadevi ) เป็นพระชายาในพญาผาเมือง ( หรือ เป็นที่รู้จักในนาม พ่อขุนผาเมือง) เจ้าเมืองราด และเป็นพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ซึ่งตามข้อมูลทางการส่วนใหญ่มักกล่าวว่า คือ พระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด หรือข้อสันนิษฐานอื่นๆอาจเป็นพระมหากษัตริย์ขอมพระองค์อื่นๆ พระนางมีบทบาทในฐานะผู้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรขอมและอาณาจักรสุโขทัย ฐานะของนางนั้นปรากฏเด่นเช่นในศิลาจารึกวัดศรีชุม หลักฐานชั้นต้นทางโบราณคดีของการกำเนิดของอาณาจักรสุโขทัย นอกจากนี้ในตำนานมุขปาฐะท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบูรณ์เกี่ยวกับตำนานประเพณีอุ้มพระดำน้ำและพระพุทธรูปนามพระพุทธมหาธรรมราชายังกล่าวถึงบทบาทของนางในฐานะผู้ที่เกี่ยวข้อง บทบาทและอิทธิพลวีรกรรมของของพระนางคล้างคลึงกับพระราชประวัติของพระราชินีในช่วงปลายสมัยอาณาจักรขอมพระองค์หนึ่ง คือ พระภควดีกมรเตงอัญ ศรินทรภูเปศวรจุฑา ( ព្រះនាងឝ្រីន្ទ្រភូបេឝ្វរចូឌា - Srindrabhupesvarachuda) พระอัครมเหสีแห่งพระเจ้าอินทรวรมันที่สาม (พระเจ้าศรีนทวรมัน) ซึ่งนางเป็นพระราชบุตรีองค์โตของพระเจ้าชัยวรมันที่แปดตามบันทึกของโจวต้ากวาน ซึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้วเป็นคนละองค์กันแต่มีระยะเวลาคาบเกี่ยวใกล้เคียงกัน
พระรูปฉลองพระองค์ พระนางสิงขรมหาเทวี ( สิงขรมหาเทวี หรือ สิขรมหาเทวี หรือ สิงหเทวี) โดยปฏิมากรท้องถิ่น ณ ศาลพระนางสิงขรเทวี (หรือ เจดีย์พระนางสิงขรเทวี) ตำบลลานบ่า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาพโดย Chatchai dewa 17 กันยายน พุทธศักราช 2567
บทบาทตามประวัติศาสตร์
ในศิลาจารึกวัดศรีชุม หลักฐานชั้นต้นทางโบราณคดีของการกำเนิดของอาณาจักรสุโขทัย กล่าวว่า พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรขอมพระราชทานสมเด็จพระราชบุตรีพร้อมด้วยพระแสงขรรค์ชัยศรี และ ราชทินนามแด่พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดอันเป็นราชบุตรของพ่อขุนศรีนาวนำถุุมแห่งช่วงต้นของอาณาจักรสุโขทัย ในศิลาจารึกวัดศรีชุมนั้นออกพระนามพระมหากษัตริย์แห่งอาณาขจักรขอมอันเป็นพระราชบิดาของนางว่าผีฟ้าเจ้าเมืองยโสธรปุระ ซึ่งยังคลุมเครือว่าควรเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรขอมพระองค์ใด ตามข้อมูลทางการส่วนใหญ่มักสันนิษฐานว่าเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด บางว่าควรเป็นพระเจ้าอินทรวรมันที่สองพระราชบุตรของพระองค์ บ้างสันนิษฐานควรเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่แปดซึ่งทั้งสามรัชกาลนี้เกี่ยวพันกับระยะเวลาการกำเนิดของช่วงต้นของอาณาจักรสุโขทัยมากที่สุด ตามหลักฐานชั้นต้นทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ หลังจากพ่อขุนผาเมืองทรงทำสงครามกับขอมสบาดโขลญลำพงแล้วทรงยกไอศวรรย์ราชสมบัติถวายแด่ พ่อขุนบางกลางหาว (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์)พระสหายเสวยราชย์เป็นพระเจ้านครสุโขทัยแล้ว ไม่ปรากฏบทบาทของพระนางและพระสวามีอีก และมิได้ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรมตามตำนานมุขปาฐะท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบูรณ์แต่อย่างใด
ป้ายจารึกประวัติของพระนางเนาวรงค์เทวี (เจ้าแม่เข็มทอง) ซึ่งเป็นชายาอีกองค์ของพ่อขุนผาเมืองตามตำนานท้องถิ่นแต่ไม่ปรากฏในหลักฐานชั้นต้นทางโบราณคดีหรือประวัติศาสตร์ใดๆ ภายใน ณ วัดตาล ในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งป้ายประวัติของชายาองค์นี้นั้นมาจากการประทับทรง ไม่ปรากฏในหลักฐานชั้นต้นทางโบราณคดีหรือประวัติศาสตร์ใดๆที่กล่าวว่าพระนางสุขรมหาเทวีทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม และในการแสดงละครเวทีหรือนิยายมุขปาฐะโดยชาวบ้านท้องถิ่นในอดีต มักแต่งบทบาทให้พระนางเป็นผู้ร้ายในการแสดงละครเวทีหรือนิยายมุขปาฐะนั้น โดยพระนางตกเป็นจำเลยของเรื่องเล่ามุขปาฐะท้องถิ่นที่หาที่มาไปมิได้ตามกระแสชาตินิยมในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยในปัจจุบันการแสดงละครเวทีหรือนิยายมุขปาฐะโดยชาวบ้านท้องถิ่นมักไม่กล่าวถึงเรื่องราวเหล่านี้ตามกระแสชาตินิยมแล้ว
ภาพนามของพระนาง ขยายจากภาพศิลาจารึกวัดศรีชุม ขอบพระคุณภาพจาก กลุ่มเผยแพร่กรมศิลปากร 26 มกราคม พุทธศักราช 2565 โดย องค์ความรู้: สำนักหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง: ผลงานชิ้นโบแดงของอาจารย์เทิม มีเต็ม ผู้เติมคำให้เต็มความหมาย ควรออกนามของพระนางว่า สุขรมหาเทวี
ในตำนานมุขปาฐะท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบูรณ์เกี่ยวกับตำนานประเพณีอุ้มพระดำน้ำและพระพุทธรูปนามพระพุทธมหาธรรมราชายังกล่าวถึงบทบาทของนางในฐานะผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ เสด็จมาพร้อมด้วยพระพุทธรูปนามพระพุทธมหาธรรมราชาองค์นี้ หลังจากพ่อขุนผาเมืองทรงทำสงครามกับขอมสบาดโขลญลำพงแล้วยกมอบไอศวรรย์ราชสมบัติถวายแด่ พ่อขุนบางกลางหาว (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) พระสหายเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งนครสุโขทัยแล้ว ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม ณ แม่น้ำป่าสัก เพื่อมิให้พระสวามีมิต้องห่วงหน้าพะวงหลังในภารกิจของพระองค์ โดยทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้เหล่าข้าราชบริพารได้อัญเชิญพระพุทธรูปนามพระพุทธมหาธรรมราชาหลบหนีไป แต่เกิดเหตุการณ์แพแตก และพระพุทธรูปอันนามว่าพระพุทธมหาธรรมราชาจมลง ณ แม่น้ำป่าสัก ก่อนจะปรากฏอีกครั้งในช่วงสมัยอาณาจักรอยุธยาและเป็นต้นกำเนิดของประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ในช่วงเทศกาลประเพณีสารทเดือนสิบ(ประเพณีเทศกาลสารทไทย)ในปัจจุบัน
พระรูปฉลองพระองค์ พ่อขุนผาเมือง และ พระนางสิงขรมหาเทวี โดยปฏิมากรท้องถิ่น ณ วัดนครเดิด บ้านดงเมือง ตำบลลานบ่า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาพโดย วิศัลย์ โฆษิตานนท์ 31 กรกฏาคม พุทธศักราช 2561
ศิลาจารึก หลักที่ ๒ จารึกวัดศรีชุม จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภาพโดย Mintada Duangmala 04 มีนาคม พุทธศักราช 2566
ในศิลาจารึกวัดศรีชุม
ในศิลาจารึกวัดศรีชุมบรรทัดที่สามสิบสาม จารึกโดยพระมหาเถรศรีศรัทธา ซึ่งเดิมประดิษฐานในพระมณฑปพระพุทธรูปพระนาม พระอจนะของโบราณสถานวัดศรีชุมในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร นั้น จารึกถึงพระนางว่า
- กอนผีฟาเจาเมิองสรโสธรปุรใหลูกสาวชีนางสุขรมหาเทวิกบบขนนไชยสริใหนามกยรแกพขุนผาเมิอ
ปริวรรตเป็นภาษาไทยในปัจจุบันความว่า:
- ก่อนผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระให้ลูกสาวชื่อนางสุขรมหาเทวีกับขรรค์ชัยศรีให้นามเกียรติแก่พ่อขุนผาเมือ-ง
พระรูปฉลองพระองค์ พระนางสิงขรมหาเทวี พระอัครมเหสี ด้านซ้าย และพระนางเนาวรงค์เทวี (เจ้าแม่เข็มทอง) พระมเหสี ด้านขวา โดยปฏิมากรท้องถิ่น ณ ด้านหลังพระรูปอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง แคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ขอบพระคุณภาพจาก Chatchai dewa 17 กันยายน พุทธศักราช 2567
ในความเชื่อตามศาสนาพื้นเมืองเดิมของไทย
ในความเชื่อตามศาสนาพื้นเมืองท้องถิ่นดั้งเดิมของไทย(ศาสนาผี - วิญญาณนิยม) พระนางได้รับการยกย่องและสักการะบูชา ในฐานะวีรสตรีเจ้าแม่ท้องถิ่นและพระหลักเมืองอารักษ์ผู้รักษาพระพุทธรูปนามพระพุทธมหาธรรมราชาและจังหวัดเพชรบูรณ์คู่กับพ่อขุนผาเมือง โดยมีศาลหรือศาสนสถานในท้องที่ที่อุทิศถวายพระนาง ที่มีชื่อเสียง อาทิเช่น ศาลพระนางสิงขรเทวีริมแม่น้ำป่าสัก ตำบลลานบ่า อำเภอหล่มสัก เจดีย์พระนางสิงขรเทวี ณ วัดโพนชัย ตำบลบ้านหวาย อำเภอหล่มสัก ศาลพ่อขุนผาเมืองบริเวณต้นจำปาขาว ณ โรงเรียนพ่อขุนอุปถัมภ์ บ้านห้วยโป่ง ตำบลบ้านหวาย อำเภอหล่มสัก และพระรูปฉลองพระองค์อุทิศถวาย ณ ด้านข้างพระบรมราชอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ และพระรูปฉลองพระองค์ ณ วัดนครเดิด ตำบลลานบ่า อำเภอหล่มสัก และ พระรูป ณ วัดสว่างอารมณ์ บ้านน้ำล้อมนาหลวง ตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก นอกจากนี้พระนางยังมีศาลอุทิศถวายในฐานะเทพีเทพอารักษ์ (ธรรมบาล เสื้อวัด มเหศักดิ์(มเหสักข์) ) ผู้รักษาวัดเขาพระ ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เป็นต้น
ศาลเก่าพระนางสิงขรมหาเทวี ในฐานะเสื้อวัด ณ วัดเขาพระ ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ภาพโดย North Phattraprasit 20 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2561 ในรูปคือศาลเดิมก่อนการบูรณะใหม่ในปัจจุบัน
ป้ายจารึกประวัติของพ่อขุนผาเมือง ณ ด้านล่างฐานพระรูปอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง แคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้านที่ ๓ ซึ่งแผ่นจารึกนี้เป็นประวัติมาจากการตำนานมุขปาฐะท้องถิ่น ไม่ปรากฏในหลักฐานชั้นต้นทางโบราณคดีหรือประวัติศาสตร์ใดๆ ออกนามของพระนางสุขรมหาเทวีว่า " พระนางสิงหเทวี " ขอบพระคุณภาพจาก BC Kitsumritroj ๐๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ป้ายจารึกประวัติของพ่อขุนผาเมือง ณ ด้านล่างฐานพระรูปอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง แคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้านที่ ๔ ซึ่งแผ่นจารึกนี้เป็นประวัติมาจากการตำนานมุขปาฐะท้องถิ่น ไม่ปรากฏในหลักฐานชั้นต้นทางโบราณคดีหรือประวัติศาสตร์ใดๆ ออกนามของพระนางสุขรมหาเทวีว่า " พระนางสิงหเทวี " ขอบพระคุณภาพจาก BC Kitsumritroj ๐๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
พระรูปฉลองพระองค์ พระนางสิงขรมหาเทวี โดยปฏิมากรท้องถิ่น ณ วัดโพนชัย ตำบลบ้านหวาย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาพโดย แก้วมณีรัตนะ แก้วมณีนพรัตน์ 28 ตุลาคม พุทธศักราช 2567
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
เรื่องราวและบทบาทของพระนางในฐานะพระอัครมเหสีของพระยาเมืองและมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักรสุโขทัยและมีความผูกผันกับตำนานท้องถิ่นของพระพุทธรูปพระนาม พระพุทธมหาธรรมราชา ในประเพณีอุ้มพระดำน้ำของเทศกาลสารทไทยและเกี่ยวข้องกับตำนานมุขปาฐะของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับการสร้างสรรค์ในนาฏศิลป์ไทยเป็น ระบำสิงขรมหาเทวี โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ โดยได้สร้างสรรค์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2537 และอีกหนึ่งระบำของนาฏศิลป์ไทยที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในฐานะที่เกี่ยวข้องพระนางคือ ระบำอัปสรฟ้อนไฟ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จากการแสดงละครเวทีอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง นางเสือง ซึ่งจัดแสดงในปีพุทธศักราช 2511 ปีพุทธศักราช 2547 และ พุทธศักราช 2556 นอกจากนี้ในพระนางยังเป็นตัวละครในละครโทรทัศน์ เรื่อง พ่อขุนผาเมือง ทางช่องสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก และ นางเสือง ในปีพุทธศักราช 2535 ทางช่องสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7ซึ่งรับบทโดย รชนีกร พันธุ์มณี
ในส่วนของการแสดงละครเวทีหรือนิยายมุขปาฐะโดยชาวบ้านท้องถิ่นในอดีต มักแต่งนิยายให้พระนางเป็นผู้ร้ายในการแสดงละครเวทีหรือนิยายมุขปาฐะนั้น โดยมักมีฉากการฟาดฟันโต้เถียงระหว่างพระนางกับพระนางเนาวรงค์เทวี (เจ้าแม่เข็มทอง) พระชายาเดิมตามตำนานท้องถิ่นมุขปาฐะซึ่งไม่ปรากฏตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแต่อย่างใด และเล่าถึงการล่มสลายของเมืองราดของพ่อขุนผาเมืองและอัตวินิบาตกรรมของพระนางซึ่งไม่ปรากฏตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเช่นกัน โดยพระนางตกเป็นจำเลยของเรื่องเล่ามุขปาฐะท้องถิ่นที่หาที่มาไปมิได้ตามกระแสชาตินิยมในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยในปัจจุบันการแสดงละครเวทีหรือนิยายมุขปาฐะโดยชาวบ้านท้องถิ่นมักไม่กล่าวถึงเรื่องราวเหล่านี้ตามกระแสชาตินิยมแล้ว
เอกสารที่กล่าวถึงพระนางในอีกหนึ่งมุมมองที่หาพบได้ยากในประวัติศาสตร์ชาตินิยมในช่วงนั้นตามกระแสชาตินิยม จากกรณีศึกษา. : เอกสารถ่ายสำเนา ๑ แผ่น (๒ หน้า ซึ่งน่าเสียดายว่าพบเพียงแผ่นเดียว) ณ หอจดหมายเหตุเพ็ชรบูรณ์ ถนนหลักเมือง ตำบลในเมือง เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ขอบพระคุณภาพและข้อมูลจาก วีรยุทธ์ วงศ์อุ้ย วันอาทิตย์ที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗
พระรูปฉลองพระองค์ พระนางสิงขรมหาเทวี โดยปฏิมากรท้องถิ่น ณ วัดสว่างอารมณ์ บ้านน้ำล้อมนาหลวง ตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสักจังหวัดเพชรบูรณ์ ภาพโดย Pornchai Julnil 16 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2560
พระรูปฉลองพระองค์ พระนางสิงขรมหาเทวี โดยปฏิมากรท้องถิ่น ณ บริเวณ วัดหนองไฮ ตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาพโดย ใหญ่ ไร้ร่องรอย 29 มีนาคม พุทธศักราช 2566
พระนางสุขรมหาเทวี (พระนางสิงขรมหาเทวี) ในสื่อภาพยนตร์ต่างๆ
พระนางสุขรมหาเทวี (พระนางสิงขรมหาเทวี) ในชุด ระบำอัปสรฟ้อนไฟ จากการแสดงละครเวทีอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง นางเสือง ซึ่งจัดแสดงในปีพุทธศักราช 2511 โดย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
พระนางสุขรมหาเทวี (พระนางสิงขรมหาเทวี) จากการแสดงละครเวทีอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง นางเสือง ซึ่งจัดแสดงในปีพุทธศักราช 2547 โดย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
พระนางสุขรมหาเทวี (พระนางสิงขรมหาเทวี) จากการแสดงละครเวทีอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง นางเสือง ซึ่งจัดแสดงในปีพุทธศักราช 2556 โดย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
พระนางสุขรมหาเทวี (พระนางสิงขรมหาเทวี) จากการแสดง ลิเกคณะ ขวัญใจ - ผาภูมิ มาลัยนาค โดย อ. เด่นชัย เอนกลาภ ครั้งที่ 3 พุทธศักราช 2552 ชุด ศึกนครธม - Nakhon Thom War รับบทโดย เพชรพรรณารายณ์ เอนกลาภ/ สกุณา รุ่งเรือง ลิขสิทธิ์ บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ซึ่งในการแสดงชุดนี้ ยังคงปรากฏบทบาทพระนางสุขรมหาเทวีให้เป็นผู้ร้าย ตามกระแสชาตินิยมในช่วงเวลานั้นอยู่
พระนางสุขรมหาเทวี (พระนางสิงขรมหาเทวี) จากการแสดง ลิเกคณะ ขวัญใจ - ผาภูมิ มาลัยนาค พุทธศักราช 2555 ชุด วีรบุรุษที่โลกลืม - Legend of King Pha Muang รับบทโดย จันทรา ดาราทิพย์ ลิขสิทธิ์ บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ซึ่งในการแสดงชุดนี้ ยังคงปรากฏบทบาทพระนางสุขรมหาเทวีให้เป็นผู้ร้าย ตามกระแสชาตินิยมในช่วงเวลานั้นอยู่
พระนางสุขรมหาเทวี (พระนางสิงขรมหาเทวี) จากการแสดง ของ กำลังพล จาก ม.พัน.๒๘ พล.ม.๑ โดย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ ยังคงปรากฏบทบาทพระนางสุขรมหาเทวีให้เป็นผู้ร้าย ตามกระแสชาตินิยมในช่วงเวลานั้นอยู่ ปัจจุบันยังคงใช้ในสื่อประชาสัมพันธ์ของ พิพิธภัณฑ์พ่อขุนผาเมือง บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยยังคงไม่ได้แก้ไขชำระบทบาทของพระนางใหม่แต่อย่างใด
พระนางสุขรมหาเทวี (พระนางสิงขรมหาเทวี) จากการแสดง ละครโทรทัศน์ เทิดพระเกียรติ (พุทธศักราช 2535) เรื่อง นางเสือง ช่อง 7 รับบทโดย รชนีกร พันธุ์มณี และ สิรคุปต์ เมทะนี ที่รับบท พ่อขุนผาเมือง ภาพจากหนังสือเรื่องย่อละครไทย-Moouanbooks 25 สิงหาคม 2015