กระทรวงทรัพยฯประชุมหาแนวทางเร่งเปลี่ยนรถบัส ขสมก.เป็นรถไฟฟ้า
ภายหลังจากเมื่อวันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2465 ทางด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เพื่อเร่งขับเคลื่อนความร่วมมือการปฏิบัติงานรองรับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผ่าน ระบบ VTC ที่ มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อฯ โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมประชุมด้วย
โดยที่ประชุมรับทราบ รายงานความก้าวหน้าโครงการเปลี่ยนรถประจำทางสาธารณะของภาคเอกชน เป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถร่วมบริการ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้น ได้ร่วมพิจารณาและเห็นชอบเรื่องสำคัญ ประกอบด้วย (ร่าง) การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก็าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ ฉบับปรับปรุง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะช่วยลดก็าซเรือนกระจกและเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2608 และช่วยสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม สำหรับการลงทุนที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ เช่น พลังงานหมุนเวียน ยานยนต์ไฟฟ้า การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน นอกจากนั้นยังช่วยให้สุขสภาวะของประชาชนดีขึ้น ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆและการจ้างงานสีเขียว รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจไทย สอดคล้องกับนโยบาย BCG
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้แสดงความขอบคุณ ทส.และคณะกรรมการฯ ที่ร่วมกันเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระยะยาว และมาตรการต่างๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์’ นายกฯและรมว.กลาโหมได้ลงนามความร่วมมือของไทยกับสหประชาชาติ ( COP 26 ) เพื่อการแก้ปัญหาและลดผลกระทบจากภัยพิบัติภายในประเทศที่ต้นทาง โดยขอให้นำเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบโดยเร็ว เพื่อเป็นกรอบการปฏิบัติงานร่วมกันและท่าทีเจรจาไทยกับต่างประเทศ พร้อมทั้ง ขอให้ ทส. ประสานความร่วมมือ เร่งศึกษาพิจารณาเปลี่ยนรถประจำทาง ขสมก.ให้เป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้าให้เป็นรูปธรรมไปพร้อมกัน ส่วนทางด้าน นายวราวุธ ศิลปอาชา ได้กล่าวว่า”
“นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รายงานความก้าวหน้าเรื่องโครงการเปลี่ยนรถประจำทางสาธารณะของภาคเอกชน เป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถร่วมบริการ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และยังได้ร่วมพิจารณา เช่นการร่างยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ ซึ่งจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2608 และช่วยสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม สำหรับการลงทุนที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ นอกจากนั้นยังช่วยให้สุขสภาวะของประชาชนดีขึ้น รวมถึงช่วยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และการจ้างงานสีเขียว รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจไทย ให้สอดคล้องกับนโยบาย BCG ที่ผลักดันมาตลอดด้วย”








