วราวุธ ศิลปอาชา (ทส) ชูแนวคิด EPR สนับสนุนโครงการ PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน ร่วมกับภาคีเครือข่ายกว่า 70 องค์กร
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565 เวลา 13.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ได้ กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "การขับเคลื่อนแนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยหลักการ Extended Producer Responsibility (EPR)" ในพิธีเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณ องค์กรผู้นำแห่งความรับผิดชอบด้านความยั่งยืน ภายใต้โครงการ "PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน" ซึ่งมีภาคีเครือข่ายทั้งจากภาคการผลิต ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา และองค์กรอิสระ รวม 72 องค์กรร่วมเป็นภาคีขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นายโฆษิต สุขสิงห์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรองประธานสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ตลอดจนผู้นำองค์กร และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ห้องเพลนารีฮอลล์ (Plenary Hall) ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร
โดย วราวุธ ศิลปอาชา ได้กล่าวเน้นย้ำถึงแนวคิด EPR หรือ Extended Producer Responsibility ว่าเป็นแนวคิดที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตามเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ของประเทศไทย โดยแนวคิด EPR นั้นจะเป็นแนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ด้วยหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตไปยังช่วงต่าง ๆ ของวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่หลังการบริโภค ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นการคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งหากผู้ผลิตสามารถรับคืนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์กลับคืนจากผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสินค้าได้ จะเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ได้จริง ภายใต้การประสานงานและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันจากทุกภาคส่วน โดยมีแนวคิด EPR จะเป็นแนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ด้วยหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตไปยังช่วงต่าง ๆ ของวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่หลังการบริโภค
ซึ่งหากผู้ผลิตสามารถรับคืนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์กลับคืนจากผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสินค้าได้ จะเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ได้จริง ภายใต้การประสานงานและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันจากทุกภาคส่วนโดยร่วมกับภาคีเครือข่ายกว่า 70 องค์กร ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นการคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย

















