ภาคธุรกิจเอกชน จะสามารถสร้างรายได้จากคาร์บอนเครดิตได้อย่างไร ?
สำหรับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน นานาหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ได้เข้าร่วมข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก และเพื่อให้แต่ละประเทศ สามารถเปลี่ยนผ่านโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีอยู่เดิม ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงได้มีการคิดค้นระบบ "คาร์บอนเครดิต" ขึ้นมาเป็นกลไกทางเศรษฐกิจ ที่จะช่วยให้สามารถเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการลงทุนที่ก่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆกันนั้น โดยเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรม ที่สหภาพยุโรป ( EU ) ที่ออกมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) ซึ่งจะบังคับให้ภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการส่งสินค้าต่างๆ ไปยังประเทศในกลุ่ม EU ต้องควบคุมปริมาณคาร์บอนฟุตปรินท์ในสินค้าของตนให้ได้ตามมาตรฐาน มิเช่นนั้นก็เสี่ยงที่จะโดนกำแพงภาษี หรือค่าปรับที่มีราคาสูง
แต่สำหรับที่กล่าวมาคือ มาตรการนี้ จะมีการกำหนดค่ามาตรฐานของคาร์บอนฟุตปรินท์ จากการผลิตสินค้าแต่ละประเภท หากบริษัทใด ไม่สามารถควบคุมได้ตามมาตรฐาน หรือผลิตคาร์บอนเกินมาตรฐาน ก็จะต้องซื้อ คาร์บอนเครดิต มาชดเชยฟุตปรินท์ส่วนเกินที่ตัวเองสร้างไว้นั่นเอง ถ้ามองในมุมนี้ อาจเหมือนเป็นภาระด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาในฝั่งผู้ผลิต แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน มาตรการควบคุมคาร์บอนฟุตปรินท์ และระบบซื้อขาย คาร์บอนเครดิต ก็สามารถเป็นโอกาสสร้างรายได้ให้ธุรกิจเอกชนด้วยอีกทางหนึ่ง
อย่างเช่น กรณีของ Tesla ผู้นำเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าของโลก ที่มีโมเดลธุรกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็สามารถทำรายได้ จากการนำคาร์บอนเครดิตไปขายในตลาด ได้ถึง 3,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้น การลงทุนในเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาธุรกิจ และกระบวนการผลิตให้แก่องค์กรเอกชน จึงเป็นการลงทุนระยะยาวที่คุ้มค่า สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบ #เศรษฐกิจสีเขียว เปลี่ยนโลกทั้งใบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต่อสู้ปัญหา Climate Change อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคตข้างหน้า
*** คาร์บอนเครดิต คืออะไร ทำไมจึงมีมูลค่า ??
สามารถอ่านเพิ่มได้ที่ link ด้านล่างนี้เลย
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1409366609514607&id=674202746364334
https://www.topvarawut.com/คาร์บอนเครดิต-เศรษฐกิจสีเขียวที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง/
#TopVarawut #MNRE #พรรคชาติไทยพัฒนา








