เมื่อก่อน "รองน้ำฝน" เก็บใส่โอ่ง ไว้บริโภคกันทุกบ้าน แต่ละบ้านนั้นก็จะมี "โอ่งมังกร"
วิธีการ "รองน้ำฝน" ใส่โอ่งมังกร กับอดีตที่เลือนหายไปตามกาลเวลา..
ถ้าย้อนกลับไปในอดีต หลายๆ บ้านมักจะเลือกที่จะรองน้ำฝนใส่ตุ่มเอาเก็บไว้กินไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี
"น้ำ" สำหรับการบริโภคเมื่อครั้งอดีตจะไม่ค่อยเดือดร้อน เนื่องจาก แต่ละบ้านจะเก็บ "น้ำฝนใส่ตุ่ม" ไว้ บ้านละหลายๆใบ ใช้บริโภคกันได้ตลอดทั้งปี
บ้านตามชนบท จะมี "ตุ่มใส่น้ำฝน" เรียงรายกันอยู่รอบบ้าน สามารถเก็บน้ำฝนไว้บริโภคได้ตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นน้ำฝนที่ตกตามฤดูกาล
หลังคาบ้านในสมัยนั้น โดยส่วนใหญ่มักจะมุงด้วยสังกะสี เมื่อฝนตกลงมา ก็จะมีเสียงดังมา
ในบ้านบางหลัง จะมี "ราง" ใช้รองน้ำฝนอยู่ใต้ชายหลังคาบ้าน เมื่อฝนตก น้ำฝนก็จะไหลลงมาตามร่องสังกะสี ลงสู่รางรองรับน้ำฝน และไหลลงใส่โอ่ง หรือตุ่มน้ำที่มี "ผ้าสะอาด" วางพาดคลุมบนปากโอ่งเพื่อกรองน้ำฝน เมื่อน้ำเต็มโอ่ง ก็จะลากสายยางรองน้ำฝนจากราง ไปโอ่งอื่นๆ อีกต่อไปเรื่อยๆ
"น้ำฝน" ถ้าเป็นน้ำฝนใหม่เกินไป ก็จะมีรสชาติเฝื่อนๆ หน่อย ถ้าเป็นน้ำฝนที่รองหลังฝนตกแล้วหลายครั้ง จะมีรสชาติปกติ
"วิธีการรองน้ำฝนไว้บริโภค"
ฝนตกครั้งแรกๆ ๒ - ๓ ครั้ง จะยัง "ไม่รองน้ำ" ปล่อยให้น้ำฝนชะล้างฝุ่นละอองบนหลังคาบ้านออกเสียก่อน
ถ้าฝนตกแรงๆ ครั้งต่อไปอีกสักพัก จนน้ำฝนบนหลังคาสะอาดดีแล้ว จึงเริ่มรองน้ำใส่โอ่ง หรือตุ่มกัน
โดยจะ "รองน้ำฝน" เก็บใส่โอ่ง ไว้บริโภคกันทุกบ้าน ซึ่งในแต่ละบ้านนั้นก็จะมี "โอ่งมังกร" ไว้รองรับน้ำฝนเก็บไว้บริโภคกันได้จนถึงฝนใหม่กันเลย โดยแต่ละบ้านก็จะมี "โอ่งมังกร" นี้ไม่ต่ำมา ๕ - ๖ โอ่ง..











