เผ่าพันธุ์ของพระพุทธเจ้า!??
เผ่าพันธุ์ของพระพุทธเจ้า
ควรเป็น Mongoloid ไม่ใช่ Cuacasoid
จากตำรามหาปุริสลักษณะของพระพุทธเจ้า หากวิเคราะห์ดีๆ จะดูใกล้เคียงกับชาวโพ้นหิมาลัย (Trans-Himalayan) หรือพวกจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) มากกว่าพวกแขกขาวอินโด-อิเรเนียน (Indo-Iranian) ดังนี้
- พระเกศาแยกเส้นกัน สีนิลเข้มเหมือนสียาป้ายขอบตาหรือสีดอกอัญชัน หรือสีโคนหางนกยูง ขมวดเวียนขวา (ภินฺนาญฺชนมยูรกลาปาภินีลวลฺลิตปฺรทกฺษิณาวรฺตเกศะ)
พระเกศาแยกเส้น … แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงมีเส้นผมแต่ละเส้นถูกจัดวางเรียงอย่างเป็นระเบียบ (เส้นผมสลวยแบบพวก Sino-Tibetan) ไม่ยุ่งเหยิงพันกัน ไม่หยิกฟู แบบพวก Indo-Iranian
ส่วนเส้นผมเวียนขวาเป็นทักษิณาวัตรนั้น ไม่ได้หมายถึงว่าท่านมีผมหยิกจนดูตะปุ่มตะป่ำ แต่เป็นลักษณะเส้นผมที่หมุนไปทางขวา หากใครนึกภาพไม่ออกว่าเส้นผมที่หมุนเป็นทักษิณาวัตรนั้นเป็นยังไง ก็ให้ไปดูตำแหน่งขวัญบนยอดหัว แล้วจะเห็นชัดเจนว่าโคนผมมันหมุนไปทางไหน (บางคนหมุนขวา บางคนหมุนซ้าย)
- มีดวงตาสีนิลเข้ม (อภินีลเนตฺระ) สีนิลของดวงตาของพระพุทธเจ้าควรจะเป็นสีนิลเดียวกันกับที่ใช้อธิบายสีของเส้นผมของพระองค์ ซึ่งก็คือนิลที่เข้มดูดำขลับเงา (คงไม่มีใครบอกว่าพระพุทธเจ้ามีผมสีนิลคือมีผมสีน้ำเงิน)
- มีผิวละเอียดสีทอง (สูกฺษม สุวรฺณรฺณจฺฉวิ) อันนี้ชัดเจนว่าเป็นลักษณะของ Sino-Tibetan แท้ๆ ไปหาภาพดูกันได้เลยว่า Mongoloid ตามแนวเทือกเขาหิมาลัยลากยาวมาตะวันออกจนถึงอรุณาจัลประเทศ ผิวอร่ามดั่งทองขนาดไหน ส่วนเรื่องผิวละเอียดนั้น คือ มีผิวละเอียดจนฝุ่นจับไม่ติด นี่ก็ลักษณะ Mongoloid แท้ๆ เพราะพวก Cuacasoid นั้นผิวหยาบ รูขุมขนลึก แถมมีขนดก ฝุ่นจับติดแน่นอน
ข้อสังเกตอีกอย่าง คือ ภาษาบาลี เป็น Creole ของภาษาสันสกฤตพระเวทและสันสกฤตปาณินี กล่าวคือ เดิมตระกูลศากยะวงศ์ไม่ได้พูดสันสกฤต แต่พูดภาษา Old Sino-Tibetan ครั้นเมื่อรับภาษาใหม่ จึงทำให้เกิดไวยากรณ์ผิดพลาด
อ่านหนังสือที่วิเคราะห์เปรียบเทียบภาษาบาลีกับสันสกฤตโบราณ สันสกฤตแคลสสิก และภาษามคธ ปรากฏว่าบาลีมีความแปลกพิสดารหลายประการ มีทั้งลักษณะเก่าๆ และใหม่ๆ ผสมกัน
อีกอย่างชนพื้นเมืองของเนปาล พูดภาษา จีน-ทิเบต น่าจะมีเพียงวรรณะพราหมณ์ที่เผยแพร่ศาสนาจากตอนใต้ขึ้นมาและเข้ามาเป็นครูสอนให้เผ่าจีน-ทิเบตโบราณหัดพูดสันสกฤต แต่ก็เหมือนคนไทยที่พยายามพูดภาษาอังกฤษ กล่าวคือ ก็เป็นสันสกฤตสำเนียงเนปาลโบราณ
ริชาร์ด เอฟ. กอมบริช (Richard F. Gombrich) นักอินเดียวิทยาและนักวิชาการด้านภาษาบาลี-สันสกฤต และพุทธศึกษา ซึ่งเคยเป็นศาสตราจาย์ด้านภาษาสันสกฤต แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า กบิลพัสดุ์อยู่ค่อนข้างไกลจากศูนย์กลางอารยธรรมพราหมณ์ (ฮินดู) ตำราของพราหมณ์จึงแทบมิได้กล่าวถึงสถานที่แห่งนี้ และก็น่าสงสัยว่าอิทธิพลของคัมภีร์พระเวทน่าจะยังเข้าไม่ถึงบ้านเกิดของเจ้าชายสิทธัตถะ (ในยุคพุทธกาล) เห็นได้จากการที่ครอบครัวของเจ้าชายสิทธัตถะเองยังมีการแต่งงานในหมู่เครือญาติ ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวถือเป็นเรื่องต้องห้ามตามสังคมพราหมณ์ และมีความเป็นไปได้ที่ภาษาแม่ของเจ้าชายสิทธัตถะจะไม่ใช่ภาษาในตระกูลอินโด-อิเรเนียน (Indo-Iranian)


















