"ปลาฉนากแม่น้ำ" ตัวสุดท้ายที่มีรายงาน ถูกจับได้ในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี 2526
ปลาฉนากแม่น้ำตัวสุดท้ายที่มีรายงาน ถูกจับได้ในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อปี 2526 ที่สะพานพระรามหก ฝั่งบางกรวย นนทบุรี
ปลาฉนากน้ำจืด [ Freshwater Sawfish : Pristis microdon ]
ปลาฉนากตัวนี้เป็นหนึ่งใน 7 ตัว ที่เลี้ยงไว้ในบ่อร่วมกับปลาโลมาหัวบาตร (Irawady dolphin) ที่บ้าน HomeZoo(เก่า) กทม เมื่อปี พศ.2534 ปลาฉนากเป็นปลาหายากมาก ราคาสูง และเลี้ยงยาก ต้องการพื้นที่เลี้ยงกว้างมาก และกินอาหารในลักษณะเฉพาะ
ปลาฉนากมีการนำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก โดยร้านปลา'รุ้งทอง' ปลาที่เคยเข้ามาในบ้านเรามีรวมประมาณสิบตัว
ปัจจุบันปลาฉนากทุกชนิด จัดเป็นปลาหายากและใกล้สูญพันธ์ ติดไซเตสบัญชี 1 ในบ้านเรา ปลาฉนากแม่น้ำตัวสุดท้ายที่มีรายงาน ถูกจับได้ในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อปี 2526 ที่สะพานพระรามหก ฝั่งบางกรวย นนทบุรี
หมายเหตุ: ภาพปลาฉนากไม่ชัดเจน เนื่องจากเป็นภาพที่ถ่ายจากนิตยสาร Aqua Mag ในปี 2535 และภาพนี้เป็นเพียงเดียว ที่หามาได้ จึงถือเป็นภาพประวัติศาสตร์ในวงการปลาสวยงามอีกภาพหนึ่ง. ในประเทศไทยเคยมีรายงานว่าเคยพบปลาฉนากว่าเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงจังหวัดนครสวรรค์
ปลาฉนากเคยมีชุกชุมในทะเลไทย มีเรื่องเล่าว่าเคยพบบริเวณท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร คนที่ทำงานบริเวณท่าเรือหากตกน้ำต้องระวังปลาฉนากใช้จะงอยปากทำร้ายได้
แต่ปลาฉนากเป็นปลาที่โชคร้ายเนื่องจากมันมีฟันที่จะงอยปากทำให้มันมักจะติดเครื่องมือประมงเกือบทุกประเภทที่ปาก ประกอบกับการทำการประมงอย่างขาดความควบคุมของประเทศไทยในอดีตทำให้ปลาฉนากมีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก เป็นปลาที่สามารถเข้าไปอาศัยในน้ำจืดได้เป็นเวลานาน สันนิษฐานว่าเข้าแพร่พันธุ์เนื่องจากในน้ำจืดมีศัตรูตามธรรมชาติน้อยกว่านั้นเอง
รูปที่ลงเป็นรูปประกอบนะคะใช้ในการศึกษาว่าลักษณะรูปร่างประมาณนี้..









