ภาวะนอนไหลตาย สาเหตุการตายขณะนอนหลับที่คร่าชีวิต บีม ปภังกร
แพทย์เผยสาเหตุการเสียชีวิต “บีม ปภังกร” นักแสดงจากเรื่อง 'เคว้ง' เกิดจาก “หัวใจล้มเหลว” พิธีรดน้ำศพจัดวัดเทพลีลา
ทำให้คนมาสนใจว่าการเสียชีวิตอย่างกระทันหันทั้งที่อายุยังน้อย เกิดจากอะไร เราจะพอค้นหาสาเหตุ หรือวิธีป้องกันอะไรได้บ้างไหม?
โรคไหลตาย โดยอาการมักเป็นในขณะหลับ กลุ่มอาการบรูกาดา” (Brugada Syndrome) อาการไหลตาย เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากหัวใจที่เต้นผิดจังหวะอย่างกะทันหัน ทำให้เสียชีวิตในระยะเวลาที่รวดเร็วเพราะเป็น ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันหากไม่มีผู้พบเห็นและช่วยเหลือด้วยการฟื้นคืนชีพอย่างทันท่วงที จะมีโอกาสเสียชีวิตสูงมากหากมีประวัติบุคคลในครอบครัว เสียชีวิตแบบหลับไปไม่ทราบเหตุ แนะนำตรวจคัดกรองคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(ECG) บุคคลที่เหลือในครอบครัว
สาเหตุ
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้หัวใจวายฉับพลัน
- จากพันธุกรรมพบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิง
- พบในชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ่อยกว่าชาวตะวันตก
- โดยชื่อโรคถูกตั้งตามชื่อคุณหมอผู้ค้นพบ
- ความผิดปกติหลักของโรคนี้อยู่ที่การเคลื่อนที่ของเกลือแร่ภายในกล้ามเนื้อหัวใจ ก่อให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง
ปัจจัยเสี่ยง
- มีไข้สูง
- ดื่มแอลกอฮอล์
- ใช้ยานอนหลับ สารเสพติด
- ทานอาหารประเภทแป้ง/เค็มจัดมากไปทำให้ร่างกายขาดโพแทสเซียม ที่ส่งเสริมการทำงานของหัวใจ
อ้างอิงจาก guideline CPR จาก AHA 2020 ที่ไปเรียนACLS จาก ThaiCpr บอกว่าถ้าเจอคนสลบ ให้เรียกเค้าดังๆโดยการตบบ่าสองข้างก่อนเพราะบางคนอาจเมาแล้วหลับ คนทั่วไปไม่ต้องรอจับชีพจรหลังเรียก ปั๊มได้เลย ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ ปั๊ม ชีพจรไม่เกิน 10 วินาที
จากการศึกษาแบบรวบรวมหลักฐานจากทั่วโลก พบว่าความชุกของโรคไหลตายบรูกาด้าในคนไทย อยู่ที่ 6.8 ราย ต่อ ประชากร 1000 ราย ซึ่งถือว่าสูงเป็น 14 เท่า ของความชุกเฉลี่ยทั้งโลก
ความสำคัญของภาวะ “ไหลตาย” (SUDS) ซึ่งพบบ่อยในคนเอเชีย สาเหตุสำคัญคือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง (malignant arrhythmia) ซึ่งส่วนนึงเกิดจากโรคพันธุกรรมมีกลายพันธุ์ของยีนหลายชนิด ปัจจุบันวินิจฉัยได้ด้วย next gen sequencing
การชันสูตรหาเหตุการเสียชีวิตปัจจุบันสามารถทำได้โดยการเก็บเลือดไปสกัด DNA แล้วตรวจ NGS หายีนกลายพันธุ์ที่ก่อโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (molecular autopsy) จะเป็นประโยชน์ในการสรุปเหตุการเสียชีวิต และหาสมาชิกครอบครัวที่อาจมีการกลายพันธุ์แต่ยังไม่มีอาการ เพื่อให้การป้องกัน
ยีนก่อโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะปัจจุบันมีกว่า 50 ยีน สามารถตรวจได้ในคราวเดียวด้วย NGS เมื่อพบคนที่มีการกลายพันธุ์แล้ว บางยีนสามารถป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะได้โดยการใช้ยา และทุกชนิดสามารถป้องกันได้โดยการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ AICD
แม้เราไม่อาจทำให้ บีมปภังกร ฟื้นชีพได้ แต่การทำ molecular autopsy ช่วยหาเหตุการเสียชีวิต และค้นหาสมาชิกครอบครัวที่เสี่ยงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้
ข้อมูลการศึกษาคนไทยที่ใหลตาย การชันสูตรศพและ molecular autopsy หาสาเหตุการเสียชีวิตได้ถึง 81%
ยีนก่อโรคไหลตายมีหลายยีน แม้บางโรคจะรู้จักกันดีเช่น Brugada syndrome แต่ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่พบว่าไม่ได้เกิดจากยีนก่อโรคนี้ ยังมียีนก่อโรคอื่นที่พบได้ เช่น long QT, cardiomyopathy, arrhythmogenic right ventricular dysplasia เป็นต้น
นอกจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแล้ว มีโรคพันธุกรรมอื่นที่ก่อให้เกิดหัวใจหยุดเต้นหรือเสียชีวิตเฉียบพลันได้คล้ายใหลตาย เช่น Marfan syndrome, aortic rupture, ลิ่มเลือดอุดตันในปอดจาก thrombophilia, เส้นเลือดหัวใจอุดตันจาก familial dyslipidemia ซึ่งการตรวจศพจะบอกได้
บางคนที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะชั่วคราวนำมาก่อน อาจมีประวัติใจสั่น หรือวูบหมดสติชั่วครู่แล้วตื่นได้ หรือวูบหมดสติแล้วมีคนช่วยชีวิตทัน แต่หลายรายที่เกิดอาการครั้งแรกคือเสียชีวิตเลย