แนวทางในการสร้างโครงข่ายอินเทอร์เนตประชาชน 5G
แนวทางในการสร้างโครงข่ายอินเทอร์เนตประชาชน 5G
//////
ก่อนอื่น เราต้องรู้ก่อนว่า NT (บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ National Telecom Public Company Limited) มีทรัพยากรอะไรอยู่ในมือบ้าง
(1) NT มีระบบโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศเชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปยุโรป ผ่าน
1.1 ทีโอที (TOT) เป็นโครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ AAE-1 (Asia-Africa-Europe1) ที่วางสายเพื่อใช้งานในส่วนของเส้นทางประเทศไทย-สิงคโปร์ และไทย-ฝรั่งเศส
1.2 แคท (CAT) ที่วางระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ จำนวน 6 ระบบ ที่สามารถให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 54 เทราบิตต่อวินาที (Tbps) ประกอบด้วยระบบเคเบิล FLAG (Fiber Optic Link Around the Glove) และระบบเคเบิล SEA-ME-WE 3 (Southeast Asia- Middle East- Western Europe 3)
1.3 ระบบเคเบิล TIS (Thailand- Indonesia- Singapore) ,ระบบเคเบิล SEA-ME-WE 4, ระบบเคเบิล AAG (Asia-America Gateway) และระบบเคเบิล APG (Asia Pacific Gateway) ซึ่งเป็นระบบล่าสุดที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2559
(2) NT มีท่อร้อยสายใต้ดินสำหรับสายสื่อสารมีระยะทางรวมกว่า 4,600 กิโลเมตร
(3) NT มีเสาสัญญาณสื่อสารโทรคมนาคมภาคพื้นดินมากกว่า 25,000 ต้น
(4) NT มีโครงข่ายสายใยแก้วนำแสงครอบคลุมทุกตำบลมีความยาวรวมกว่า 4 ล้านคอร์กิโลเมตร
(5) NT มีศูนย์กระจายข้อมูล ( Data Center) จำนวน 13 แห่งทั่วประเทศ
(6) NT มีระบบโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่สามารถเข้าถึงได้ทุกประเทศในโลก
(7) NT มีทรัพยากรบุคคลจาก TOT (12,000 คน) และ CAT (5,000 คน) รวมประมาณ 17,000 คน
( NT มีดาวเทียมไทยคม 4 (IPSTAR) และ 6 พร้อมทั้งศูนย์ควบคุมดาวเทียมซึ่งตั้งอยู่ที่แคราย แต่ยังไม่ได้รับถ่ายโอนสถานี Gateway สำหรับเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เนตกับดาวเทียมไทยรม 4 และสถานีสื่อสาร uplink/link เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณสื่อสารกับดาวเทียมไทยคม 6 และได้ขายแบนด์วิธของดาวเทียมไทยคม 4 และ 6 บางส่วนให้กับบริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน)
(9) NT มีดาวเทียม IPSTAR ที่เป็นดาวเทียมบรอดแบนด์ High Through Satellites (HTS) ดวงแรกของโลก คาดว่าจะเหลืออายุทางวิศวกรรมอีกประมาณ 2 ปี และมีแบนด์วิธเพื่อใช้รับส่งข้อมูลอินเทอร์เนตบรอดแบนด์ด้วยความจุ 38.4 Gbps ที่ได้จัดแบ่งเพื่อใช้ทำการติดต่อสื่อสารใน 14 ประเทศด้วยสัดส่วนที่แตกต่างกันคือ
ประเทศไทย (8%) จีน (24.4%) ญี่ปุ่น (7.2%) อินเดีย (16.1%) ออสเตรเลีย (14.7%) เกาหลีใต้ (2.3%) ไต้หวัน (2.1%) นิวซีแลนด์ (2.2%) อินโดนีเชีย (6.7%) มาเลเชีย (6.2%) เวียดนาม (3.8%) เมียนมาร์ (1.9%) ฟิลิปปินส์ (3.6%) กัมพูชา (0.9%)
(10) NT มีสัมปทานความถี่สื่อสารภายในประเทศในย่านความถี่ 850 MHz , 2100 MHz, 2300 MHz ซึ่งจะหมดอายุสัมปทานในปี 2568 และได้รับสัมปทานย่านความถี่ใหม่ 700 MHz (793-803 MHz) และ 26GHz (26.45-26.8 GHz) ในปัจจุบันมีแบนด์วิธความถี่สื่อสารภายในประเทศรวม 540 MHz
......
ปลายปี 2564 NT ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ 5G Enterprise Private Network กับ Chunghwa Telecom
NT ผนึกกำลังลงนามร่วมมือกับ CHT(Chunghwa Telecom) ผู้นำด้านเทคโนโลยีและยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 5G ของเกาะไต้หวัน พร้อมบุกให้บริการ 5G แบบ Private Network บนความถี่ 26 GHz สำหรับโรงงาน Electronic ชั้นนำในประเทศไทย
ทั้งนี้เพราะการใช้ 5G จะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่การฝึกอบรมพนักงาน การให้ความช่วยเหลือในการปฏิบัติการและการควบคุมอุปกรณ์ด้วยภาพจากทางไกล
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล
หลังจากที่ NT ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz แล้ว
NT ได้เดินหน้าขยายตลาดไร้สาย 5G เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต รวมทั้งสามารถต่อยอดการพัฒนา 5G ของประเทศให้ก้าวหน้า เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ในด้านต่างๆ
โดยจะดำเนินการทั้งในด้านการจัดสร้างโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทั่วประเทศสำหรับลูกค้าปัจจุบัน, การเพิ่มลูกค้ารายย่อย, การบริการขายส่ง MVNO และการให้บริการด้าน Digitsl Service ในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ 5G ของ NT
ในหลายด้าน ได้แก่ การพัฒนาแอปพลิเคชัน 5G, การสร้างระบบดิจิทัลของภาครัฐ และการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลตามแนวทางของ EEC เป็นต้น
........
สรุปได้ว่า ตอนนี้ NT สามารถสร้างโครงข่าย 5G ได้ที่ย่านความถี่ 26 GHz หากแต่เป็นโครงข่าย 5G เพื่อบริการภาคอุตสาหกรรมชั้นนำในประเทศไทยเท่านั้น
ส่วนย่านความถี่ 700 MHz นั้นมีข่าวว่า NT จะสร้างเป็นโครงข่าย 5G สำหรับลูกค้าทั่วไป โดยค่างวดคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz งวดที่หนึ่งนั้น คือ 3,670.742 ล้านบาท
- ถ้ามีผู้ใช้งานจำนวน 1 ล้านคน จะมีต้นทุนค่างวดสำหรับคลื่นความถี่ เท่ากับ 3,670.742 บาทต่อคนต่อ 18 เดือน หรือตก 204 บาทต่อคนต่อเดือน
- ถ้ามีผู้ใช้งานจำนวน 5 แสนคน จะมีต้นทุนค่างวดสำหรับคลื่นความถี่ เป็น 408 บาทต่อคนต่อเดือน
.....
แนวทางในการสร้างโครงข่ายอินเตอร์เนตประชาชน 5G
(1) พรรคไทยภักดีต้องการให้ประชาชนไทยได้ใช้อินเทอร์เนตประชาชนในระบบ 5G (ความเร็วประมาณ 300Mbps- 1 Gbps ค่าความหน่วง latency ต่ำประมาณ 0.3 วินาที) โดยไม่จำกัดความเร็วและปริมาณการใช้ข้อมูลด้วยค่าใช้จ่ายไม่เกิน 299 บาทต่อเดือน
(2) NT ควรแสวงหากำไรจากโครงการ 5 G สำหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม แล้วนำมาชดเชยรายจ่ายสำหรับอื่นๆในการวางโครงการอินเตอร์เนตประชาชน 5G (ตอนนี้ NT มีทรัพย์สินรวมประมาณ 2 แสนล้านบาท จึงสามารถเป็นหลักประกันเพื่อการระดมทุนเริ่มต้นได้จากการขายหุ้นกู้ให้กับภาครัฐและประชาชน)
NT สามารถทำการตลาดที่เข้าถึงประชาชนจำนวนมากในประเทศ เพื่อให้มีฐานลูกค้ารายเดือนมากกว่า 1 ล้านคน
ถ้าทำได้เมื่อคิดค่าใช้บริการสำหรับโครงการอินเตอร์เนตประชาชน 5G จำนวน 299 บาทต่อคนต่อเดือน จะเพียงพอต่อค่างวดสำหรับคลื่นความถี่ 700 MHz ที่ต้องจ่ายให้กับภาครัฐ
ในปัจจุบันเราพบว่า NT มีประสิทธิภาพในการทำการตลาดต่ำกว่าบริษัทเอกชนอื่นมาก ทั้งที่มีแพคเกจอินเตอร์เนตบรอดแบนด์ที่คุ้มค่ากว่าบริษัทอื่น เช่น แพคเกจซิมเนต Thunder ไม่จำกัดความเร็ว (ความเร็วสูงสุดตามโฆษณา คือ 300 Mbps แต่ที่ใช้งานได้จริงประมาณ 40 Mbps) ไม่จำกัดปริมาณการใช้ข้อมูล ด้วยค่าใช้จ่าย 999 บาทต่อปี หรือเพียงเดือนละ 83.25 บาท
เนื่องจาก NT เป็นเจ้าของสัญญาณสื่อสารโทรคมนาคมภาคพื้นดินมากกว่า 25,000 ต้น มีโครงข่ายสายใยแก้วนำแสงครอบคลุมทุกตำบลมีความยาวราวมกว่า 4 ล้านคอร์กิโลเมตร และมีศูนย์กระจายข้อมูล 13 แห่งทั่วประเทศอยู่แล้ว
ดังนั้นในระยะแรก(ประมาณ 1-2 ปี) NT จึงควรเร่งติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณ Wi-fi สำหรับแพคเกจซิมเนตของ NT ให้ครอบคลุมะนที่ทั้งในเมืองใหญ่และเขตชุมชนในต่างจังหวัด แล้วเริ่มต้นโครงการอินเติร์เนตประชาชน 5G โดยใช้แพคเกจซิมเนตของ NT ที่มีค่าใช้จ่ายเพียงเดือนละ 83.25 บาทเท่านั้น (ถึงแม้ว่าในระยะเริ่มต้น ระบบยังถือว่าเป็นการสื่อสารในระบบ 4G)
(3) ฝ่ายวิชาการพรรคไทยภักดีเห็นว่าภาครัฐควรจัดทำ Application ต่างๆเพื่อเชื่อมต่อประชาชนและภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง และเพื่อการสร้างรายได้ให้กับประชาชน โดยเชื่อมโยงกับแอป "เป๋าตัง"
แอปต่างๆจะต้องทำงานได้ดีที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่เกิน 100 Mbps
แอปต่างๆที่พรรคไทยภักดีเห็นว่าควรจัดทำขึ้นมามีดังต่อไปนี้
(ก) แอป "ไปรษณีย์ไทย" : ระบบการขนส่งสินค้าราราถูกและมีการรับประกันการจัเส่งสินค้า (ผู้รับผิดชอบทำแอปนี้คือ บริษัทไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด)
(ข) แอป "ตลาดคนไทย" : ระบบการซื้อขายผลิตสินค้าการเกษตรและราคากลางที่เหมาะสมกับช่วงเวลาต่างๆ เพื่อการซื้อขายกันโดยตรง โดยจัดส่งผลผลิตด้วยแอป "ไปรษณีย์ไทย" (ผู้รับผิ
ดชอบทำแอปนี้คือ กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายในร่วมกับภาคเอกชน)
อนึ่งแอป "ตลาดคนไทย" นี้ ต้องครอบคลุมการซื้อขายผลิตภัณฑ์ Otop, การท่องเที่ยวชุมชน , งานบริการทางสุขภาพ-การศึกษา-วัฒนธรรม ด้วย
นี่คือแนวทางของพรรคไทยภักดีที่มุ่งเสนอแนวทางการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นของประชาชนไทยผ่านระบบแอปต่างๆด้วยข้อมูลในระบบ 4G ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบ 5G ที่ต้องใช้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากกว่า 100 Mbps (สูงสุดปรเมาณ 1 Gbps)
ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ AI ในการควบคุมการจัดส่งสินค้าในแอป "ไปรษณีย์ไทย" ได้ ทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น และได้รับสินค้าตรงเวลามากขึ้น
ส่วนแอป "ตลาดคนไทย" พอใช้ระบบ 5G ก็จะสามารถทำระบบ Smart Farm ในภาคเกษตรได้ เมื่อเชื่มต่อเข้ากับระบบ Snart Market จะทำให้ระบบสามารถประเมิณจำนวนผลิตผลการเกษตรได้อย่างแม่นยำ และสามารถวางแผนการตลาดที่เหมาะสมกับผลผลิตการเกษตรได้ดียิ่งขึ้น
(4) ฝ่ายวิชาการพรรคไทยภักดีเห็นว่า ระบบ 5G ที่ความเร็วในการสื่อสารประมาณ 300 Mpbs - 1 Gbps และมีค่าความหน่วง Latency ประมาณ 0.3 วินาที น่าจะเป็นระบบที่มีความผสมผสานกันระหว่างการรับส่งข้อมูลผ่านเสาสัญญาณและดาวเทียมในวงโคจรต่ำ LEO
หรือเป็นระบบที่ประกอบไปด้วยเสาสัญญาณ + ดาวเทียมในวงโคจรต่ำ LEO + ดาวเทียมในวงโคจรค้างฟ้า GEO (เช่น Inmasat ORCHESTRA) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโมเดลทางธุรกิจที่เหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้า
โดยที่ NT ต้องเร่งพัฒนางานทางด้านดาวเทียมสื่อสาร LEO และ GEO ให้มีประสิทธิภาพ
ถ้า NTใช้โมเดลธุรกิจแรก คือ สร้างระบบ 5G ที่ประกอบไปด้วยเสาสัญญาณ + ดาวเทียม LEO ตัว NT จะต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียม LEO จากคณะกรรมการภายใต้พรบ.กิจการอวกาศ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา และจะต้องเจรจาเพื่อเป็นตัวแทนธุรกิจกับกลุ่มธุรกิจระดับโลกที่เป็นเจ้าของโครงข่ายดาวเทียม LEO เช่น Starlink หรือ Oneweb
อนึ่ง ภาคเอกชนในประเทศไทยที่เช่าสัญญาณสื่อสารของ NT อยู่ตอนนี้ล้วนต้องการดำเนินธุรกิจในระบบ 5G ด้วยโมเดลทางธุรกิจนี้
(5) แต่ฝ่ายวิชาการพรรคไทยภักดีเห็นว่า ระบบ 5G ที่ประกอบไปด้วยเสาสัญญาณ + ดาวเทียมLEO + ดาวเทียม GEO น่าจะคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า โมเดลทางธุรกิจแรก เนื่องจากประเทศไทยเป็นเจ้าของสิทธิในวงโคจร GEO และมีดาวเทียม GEO อยู่แล้ว
การใช้โมเดลธุรกิจรูปแบบนี้จะทำให้มีต้นทุนในการรับส่งข้อมูลที่ต่ำกว่า โดยสามารถออกแบบระบบให้มีการจัดการจราจรของข้อมูล (traffic) สำหรับการสื่อสารผ่านดาวเทียมตามประเภทของงานได้
เช่นการควบคุมรถด้วยระบบอัตโนมัติ การเล่นเกมส์ หรือการเทรด จะสื่อสารผ่านเสาสัญญาณและดาวเทียมวงโคจรต่ำ LEO ที่ต้องการความหน่วงต่ำปรัมาณ 0.2-0.3 วินาที
แต่งานทั่วไปเช่นดารเาวโหลดข้อมูล การดูวีดิโอ ดูสตรีมมิ่ง จะสื่อสารผ่านเสาสัญญาณและดาวเทียมโคจรค้างฟ้า GEO ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการสื่อสารผ่านดาวเทียม LEO
(6) เนื่องจากระบบ 5G สามารถใช้สื่อสารข้อมูลที่มีปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมีการแปลงสิทธิในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล เพื่อความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่น การแปลงโฉนดที่ดินให้อยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูลทางดิจิทัล โดยอาจเก็บข้อมูลด้วยระบบ Blockchain
ดังนั้นเมื่อประชาชนไทยได้ใช้โครงข่ายสื่อสาร 5G จะทำให้เข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลในระบบ Blockchain ทั่วโลกได้
ซึ่งจะตามมาด้วยการทำให้เกิดการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศที่จะเป็นการสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศไทยได้
ประมาณกันว่า โลกจะเข้าสู่ระบบ 6G ในปี 2030 ถ้าประเทศไทยเข้าสู่ระบบ 5G ช้าเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้ประเทศไทยและประชาชนไทยเสียโอกาสทอง คือเข้าถึงระบบธุรกิจระดับโลกได้ช้าลง
การพัฒนาเรื่องการสื่อสารในระบบ 5G และ 6G จึงเป็นเรื่องคอขาดบาดตายของประเทศไทยต่อจากนี้
ฝ่ายวิชาการ พรรคไทยภักดี


















