5 อันดับ มหัตภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่ร้ายแรงที่สุดในโลก
International Atomic Energy Agency (IAEA) - สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
International Nuclear Event Scale (INES) - มาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์
✓ ความรุนแรงแบ่งเป็น 7 ระดับ
5.) Three Mile Island (1979) – สหรัฐฯ
★ 28 มีนาคม ค.ศ. 1979
✓ ความรุนแรงระดับ 5
อุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ
เครื่องสูบน้ำระบายความร้อนหลายเครื่องล้มเหลวในเครื่องปฏิกรณ์ที่สอง Three Mile Island (TMI-2)
เกิดความล้มเหลวในระบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับความผิดพลาดของคนงาน
ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียน้ำหล่อเย็น ส่งผลให้แกนบางส่วนในเครื่องปฏิกรณ์ หลอมละลาย
ไม่มีรายงานผลกระทบด้านสุขภาพของคนงาน และผู้คนบริเวณรอบข้าง แม้ว่าก๊าซกัมมันตภาพรังสีบางส่วนรั่วไหลขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ
4.) Windscale Pile (1957) – สหราชอาณาจักร
★ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1957
✓ ความรุนแรงระดับ 5
อุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร เมื่อเกิดเพลิงไหม้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์กราไฟท์หมายเลข 1
สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกสู่พื้นที่โดยรอบ รังสีที่รั่วไหลสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ประมาณ 240 ราย
ท่อระบายอากาศของเครื่องปฏิกรณ์ถูกปิดผนึกและถอดตัวปิดเชื้อเพลิงออก
เครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 2 ก็ปิดตัวลงเช่นกัน แม้ว่าจะไม่ได้รับความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้
โรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้รับการกำจัดสารปนเปื้อนในส่วนต่างๆ ของโรงงาน หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น Sellafield ในเวลาต่อมา
3.) Kyshtym (1957) – Russia
★ 29 กันยายน ค.ศ. 1957
✓ ความรุนแรงระดับ 6
เกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ร้ายแรง ที่ศูนย์พลังงานนิวเคลียร์ Kyshtym ใน Ozyorsk ใกล้เมือง Kyshtym ในรัสเซีย
ระบบ “หล่อเย็น” ของหนึ่งในถังที่มีกากกัมมันตภาพรังสีเหลวเกิดการขัดข้อง ส่งผลให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ร้อนจัด จนเกิดการระเบิด
ซึ่งเทียบเท่ากับแรงทีเอ็นทีประมาณ 70 ตันถึง 100 ตัน
สารกัมมันตภาพรังสีประมาณ 20MCi (800PBq) รั่วไหลสู่ชั้นบรรยากาศ
ประชาชนประมาณ 10,000 คน จากอย่างน้อย 22 หมู่บ้าน ต้องอพยพออกออกจากพื้นที่ใกล้เคียง
★ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่เมือง Ozyorsk ซึ่งเป็นเมืองปิดที่สร้างขึ้นรอบๆ โรงงาน Mayak
★ เนื่องจาก Ozyorsk/Mayak ยังไม่ได้ถูกบรรจุลงบนแผนที่ ภัยพิบัติครั้งนี้จึงได้รับการตั้งชื่อตาม Kyshtym ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ๆ
2.) Fukushima Daiichi (2011) – ญี่ปุ่น
★ 11 มีนาคม ค.ศ. 2011
✓ ความรุนแรงระดับ 7
ภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ อุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น
เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 ริคเตอร์ ซึ่งว่านับเป็นแผ่นดินไหวทรงพลังที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นเคยเก็บบันทึกสถิติมา
ระบบควบคุมต่าง ๆ ซึ่งติดตั้งอยู่ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตรวจพบว่ามีการเกิดแผ่นดินไหว และหยุดทำงานอัตโนมัติ
ขณะที่เครื่องปั่นไฟฉุกเฉินที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ทำงานเพื่อสูบสารหล่อเย็นไปยังรอบ ๆ แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์
ไม่นานหลังจากนั้น คลื่นยักษ์สึนามิสูงกว่า 14 เมตร ก็ซัดถล่มโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ
กำแพงป้องกันคลื่นไม่สามารถป้องกันได้ น้ำทะเลทะลักเข้าท่วมโรงไฟฟ้าทำให้เครื่องปั่นไฟฉุกเฉินหยุดทำงานไปด้วย
เพียงไม่กี่วันหลังจากนั้น อุณหภูมิในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 3 เตา เพิ่มสูงขึ้นจนร้อนจัด ส่งผลให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์บางส่วนหลอมละลาย
.
นอกจากนี้ยังเกิดการระเบิดของสารเคมีหลายครั้งสร้างความเสียหายให้กับอาคารหลายหลัง
สารกัมมันตรังสีเริ่มรั่วไหลออกสู่บรรยากาศและมหาสมุทรแปซิฟิก
ทำให้ต้องมีการอพยพผู้คน และขยายเขตพื้นที่ห้ามเข้าเพิ่มเติม
ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากการได้รับรังสี ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากการได้รับรังสีที่รั่วไหลออกมา
1.) Chernobyl (1986) – ยูเครน (สหภาพโซเวียต)
★ 26 เมษายน ค.ศ. 1986
✓ ความรุนแรงระดับ 7
ภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดในโลกเกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ในยูเครน
ในขณะที่ทีมวิศวกรได้ทำการทดสอบการทำงานของ "ระบบหล่อเย็น"
ทว่าระหว่างการทดสอบได้เกิดแรงดันไอน้ำสูงขึ้น แต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติกลับไม่ทำงาน
ส่งผลให้ค่าความร้อนสูงขึ้นจนทำให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 หลอมละลาย และระเบิดขึ้นในทันที
แรงระเบิดทำให้สารกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้ารั่วไหลอย่างรวดเร็ว มีผู้เสียชีวิตทันที 31 ราย
★ มีการสร้างโดมขนาดยักษ์ขึ้นมาครอบ ณ จุดที่ระเบิดเอาไว้มีการคาดการณ์ว่ารุนแรงกว่าการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ชื่อว่า Little Boy และ Fat Man ในเมือง "ฮิโรชิมา" กับ "นาซากิ" เมื่อปี 1945 มากกว่า 100 เท่า
จากวันนั้นเป็นต้นมารัฐบาลได้สั่งปิดเมือง จนเป็นเมืองร้างถึงทุกวันนี้
★ ปัจจุบัน เชอร์โนบิล ได้เปลี่ยนสภาพจากเมืองร้างเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อยากเข้ามาสำรวจ








