ระบบสุริยะจักรวาลเป็นหนึ่งกลุ่มดวงดาวที่โคจรอยู่ในกาแล็กซี่ มีหัวใจของระบบเป็นดาวฤกษ์ดวงใหญ่ที่เรารู้จักกันดี นั่นก็คือดวงอาทิตย์ แล้วรายล้อมไปด้วยดาวเคราะห์อีกหลายดวง ในปัจจุบันเรากำหนดให้มีทั้งหมด 8 ดวง จากเดิมที่มีอยู่ 9 ดวง เหตุผลก็เพราะดาวพลูโตที่เคยเป็นดาวเคราะห์วงนอกสุดถูกลดชั้น และจัดอันดับใหม่ จึงไม่ได้เป็นดาวเคราะห์ 1 ใน 9 ของระบบสุริยะจักรวาลอีกต่อไป
ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ของระบบสุริยะ
เรามาทำความรู้จักกับดาวเคราะห์ทั้งหมด โดยเริ่มจากดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด ไล่ไปจนถึงดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ไกลที่สุด ดังต่อไปนี้
- ดาวพุธ เป็นดวงดาวที่มีขนาดเล็กมาก ไม่มีดวงดาวที่เป็นบริวารเลย มีสภาพพื้นผิวค่อนข้างขรุขระ และความดันอากาศต่ำมาก ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเลย
- ดาวศุกร์ ถัดออกมาเป็นดาวที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเวลากลางคืน มีขนาดค่อนข้างใกล้เคียงกับโลกที่เราอาศัยอยู่ ในบรรยากาศมีชั้นเมฆปกคลุมค่อนข้างหนาแน่นทำให้สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ได้ดีมาก
- โลก เป็นดาวเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่ มีดวงจันทร์เป็นบริวาร พื้นผิวดวงดาวมีทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้มีทรัพยากรอันมีค่าค่อนข้างมาก
- ดาวอังคาร นี่คือดาวเคราะห์ที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนให้ความสนใจ เพราะคาดการณ์ว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับโลก อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อีกชื่อหนึ่งของดาวอังคารก็คือดาวแดง เป็นชื่อเรียกตามภาพลักษณ์ที่เรามองเห็น มีดวงจันทร์เป็นบริวารทั้งหมด 2 ดวง
- ดาวพฤหัส มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ หากมองจากภายนอกจะเห็นว่าเป็นดาวเคราะห์ที่มีสีสันสวยงาม ด้วยความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศ และฝุ่นผงอวกาศที่ล่องลอยอยู่โดยรอบ นอกจากเรื่องของขนาดที่ใหญ่กว่าดาวดวงอื่นๆ แล้ว ดาวพฤหัสยังมีความเร็วในการหมุนรอบตัวเองที่เร็วกว่าดาวดวงอื่นๆ ด้วย ความพิเศษของดาวพฤหัสคือมีวงแหวนขนาดใหญ่โอบล้อมอยู่ แม้จะมีขนาดเล็ก และเลือนรางกว่าที่เรามองเห็นจากดาวเสาร์ แต่ก็เป็นเสมือนเกราะที่ช่วยป้องกันดาวดวงนี้ได้ดีเลยทีเดียว ดวงจันทร์ที่เป็นบริการมีจำนวนมากถึง 63 ดวง
- ดาวเสาร์ หากจะมองหาดวงดาวที่สวยงามที่สุดในระบบสุริยะ ก็คงหนีไม่พ้นดาวเสาร์ที่มีวงแหวนรายล้อมจำนวนมาก วงแหวนเหล่านี้ประกอบด้วยอนุภาคที่สะท้อนแสงได้ดี วงแหวนของดาวเสาร์จึงสามารถมองเห็นเด่นชัดได้จากระยะไกล ขนาดของดาวเสาร์ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากดาวพฤหัส มีมวลหนาแน่นมากกว่าโลกถึง 95 เท่า เป็นดาวดวงเดียวที่ไม่ได้มีรูปร่างกลมสมมาตรแต่ค่อนไปทางกลมแป้น ส่งผลให้การหมุนรอบตัวเองทำได้รวดเร็วมาก
- ดาวยูเรนัส นี่คือดาวดวงแรกตั้งแต่นับจากดวงอาทิตย์ออกมาที่เป็นดาวแก็ส หมายความว่าขนาดที่ใหญ่โตของดาวดวงนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากแก็สที่ห่อหุ้มแกนกลางอยู่ เรามองเห็นแต่ไม่สามารถเหยียบลงไปบนพื้นผิวที่เห็นนั้นได้ ซึ่งแก็สส่วนใหญ่ที่อยู่ในชั้นนอกสุดของดาวดวงนี้ก็คือ แก็สไฮโดรเจน และแก็สฮีเลียม เลยทำให้ดาวยูเรนัสแผ่ความร้อนค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ดาวยูเรนัสก็มีดวงจันทร์เป็นบริการทั้งหมด 27 ดวง ซึ่งคาดว่าอาจจะมีดวงที่ยังไม่ได้ถูกค้นพบอีก แถมยังมีวงแหวนล้อมรอบด้วย เพียงแต่ว่าเป็นวงแหวนที่มืดมากจนเกือบมองไม่เห็น
- ดาวเนปจูน ดาวเคราะห์อันดับสุดท้ายที่บ้านเราให้ฉายาว่า ดาวเกตุ ดาวดวงนี้โดดเด่นที่มีสีน้ำเงินชัดเจน ผิวนอกเป็นแก็สเช่นเดียวกับดาวเนปจูน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ที่ติดลบ 200 ตลอดเวลา มีดวงจันทร์เป็นบริวารประมาณ 8-14 ดวง เหตุผลที่ระบุจำนวนดวงจันทร์เป็นช่วงก็เพราะเรายังไม่ได้มีการสำรวจดาวดวงนี้มากจนสรุปเป็นข้อมูลชัดเจนได้