กว่าจะช่วยได้ ‘งูเห่า’ หัวติดรั้วลวด ใช้คีมตัดลวดเพื่อจะช่วยคีมตัดก็สั้น งูก็สู้ฉกกัดหัวส่ายไปมาเสียวสยองจริงๆ
กว่าจะช่วยได้ ‘งูเห่า’ หัวติดรั้วลวด ใช้คีมตัดลวดเพื่อจะช่วยคีมตัดก็สั้น งูก็สู้ฉกกัดหัวส่ายไปมาเสียวสยองจริงๆ
แม้แต่ประเทศอินเดีย ก็มีวิธีจัดการกับงูพิษที่ดุร้ายอย่างงูเห่าอย่างเมตตา แต่สำหรับงูเห่าตัวนี้ไม่ได้ช่วยง่ายๆ เพราะหัวมันติดอยู่ที่รั้วลวด และมันก็ไม่ไว้ใจมนุษย์เลย ด้วยเหตุนี้มันจึงพยายามฉกกัดหัวงูส่ายไปมาตลอดเวลา .
เรื่องนี้เกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ “งูเห่า” ตัวยาวประมาณ 2 เมตร ที่มีส่วนหัวติดอยู่ที่รั้วลวด และมันไปต่อไม่ได้ แน่นอนว่าถอยไม่ได้เช่นกัน ..เมื่อชาวบ้านมาเจอ พวกเขาจึงแจ้งเข้าหน้าที่ให้มาช่วยเหลือเจ้างูตัวนี้ แต่เรื่องก็ไม่ง่ายเท่าไร เพราะยังไงก็เป็นงูพิษ และมันยังอารมณ์เสียอีกด้วย
จากคลิปการช่วยเหลือโดยเจ้าหน้าที่ ทำได้ด้วยความยากลำบาก เนื่องจากพวกเขาไม่ต้องการให้มันได้รับบาดเจ็บมากนัก และยังมีเครื่องมือที่ไม่เหมาะสม เข้าหน้าที่มีเพียงเครื่องมือจับงูมาตรฐาน กับคีมขนาดเล็กที่ใช่คีมตัด ความเสี่ยงที่อาจโดนกัดจึงมีตลอดเวลา
เพราะงูเองก็พยายามกัดอยู่ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่ใช้เวลาอยู่นาน จนในที่สุดก็สามารถดึงมันออกมาจากรั้วสำเร็จ และจับมันลงถุงนำไปปล่อยในที่ห่างไกลผู้คน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของมนุษย์และตัวมันเอง
ข้อมูลเพิ่มเติม
งูเห่าอินเดีย พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียเช่น อินเดีย, ศรีลังกา, บังกลาเทศ, ปากีสถาน และเนปาล มักอาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบ, ป่าโปร่ง หรือท้องทุ่ง, ทุ่งนา กินอาหารจำพวกสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ หนู, คางคก, กบ, นก เป็นต้น งูเห่าอินเดียจะออกไข่ในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม โดยงูตัวเมียมักจะวางไข่ในรูหนู, จอมปลวก หรือเนินดิน เป็นจำนวน 10 ถึง 30 ฟอง มีระยะเวลาฟักไข่ 48 ถึง 69 วัน ปกติงูเห่าอินเดียมีความยาวประมาณ 1.9 เมตร แต่บางตัวก็ยาวมากถึง 2.4 เมตร แต่ค่อนข้างหายาก นอกจากนี้แล้วยังสามารถพบได้ในพื้นที่ ๆ สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,000 เมตร (ประมาณ 6,600 ฟุต)
ลักษณะพิเศษของงูเห่าอินเดีย คือ บริเวณด้านหลังของแม่เบี้ยมีรูปวงกลมสองวงที่เชื่อมต่อกันด้วยเส้นโค้งคล้ายรูปแว่นตา ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นรูปรอยเท้าของพระกฤษณะที่ทรงฟ้อนรำอยู่บนหัวของงูตามปกรณัมการปราบนาคกาลิยะ











