หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

10 คำถามควรรู้เกี่ยวกับโรค ASF ที่ทำให้หมูขาดตลาด และแพง

ปัญหาสินค้าแห่ขึ้นราคาแทบจะทุกชนิดเริ่มส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง จากที่เนื้อหมูราคาแพง ขยายไปยังเนื้อไก่ ไข่ไก่ และเนื้อปลา ตามที่มีคนกล่าวอ้างว่าเพราะเกิดโรคระบาดขึ้น จนทำให้หมูตายเป็นจำนวนมากทั่วโลก และในประเทศไทย แล้วโรคระบาดดังกล่าว คืออะไร มาหาคำตอบไปด้วยกัน

10 คำถามควรรู้เกี่ยวกับโรค ASF ที่ทำให้หมูขาดตลาด และแพง

1. ASF ย่อมาจาก​ African Swine Fever หรือโรคอหิวาต์​แอฟริกา​ใน​สุกร​ เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงในสุกร มีความคงทนสูงในสภาพแวดล้อม​ อยู่ในสภาพแวดล้อมได้นาน​ และอยู่ในเนื้อสุกรแช่แข็งได้หลายปี

2. โรค​ ASF ติดในสัตว์ประเภทสุกร​ เท่านั้น​ ทั้งสุกรเลี้ยง และ​สุกรป่า​
(#ไม่ติดคน !!! คนกินเนื้อสุกรที่เป็นโรคดังกล่าวก็ไม่มีอันตราย)

3. สุกรมักติดเชื้อ ASF​ จากการกินเศษอาหารที่มีเชื้อ​โรคเข้าไป และการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนมากับคน​ สิ่งของ​ รถขนส่ง​ และสัตว์พาหะ

4. เชื้อโรค ASF มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม​ ดังนี้
– อยู่ในมูลสุกร​ และสิ่งแวดล้อม​ ได้​ประมาณ 1 เดือน
– อยู่ในซากสัตว์ และในดินได้​ถึง 3​ เดือน
– อยู่​ในเนื้อแปรรูป​ เนื้อแห้ง​ ได้​ถึง 1​ ปี
– อยู่ในเนื้อแช่แข็งได้ถึง 3 ปี


5. เชื้อโรค ASF​ สามารถตายด้วยความร้อน​ 60°C ใช้เวลาประมาณ 30 นาที​ และมีรายงานการทดสอบยาฆ่าเชื้อส่วนใหญ่สามารถฆ่าเชื้อ ASF ได้

6. สุกรที่ติดเชื้อจะมีอาการ​ไข้สูง​ จุดเลือดออก​ อาเจียน​ ถ่ายเป็นเลือด​ และตายเกือบ​ 100% โดยสุกรจะแสดงอาการหลังติดเชื้อประมาณ​ 3-4 วัน

7. ระบาดครั้งแรกที่ประเทศเคนย่า​ ทวีปแอฟริกา​เมื่อปี 2464 ปัจจุปันแพร่ระบาดไปยังทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย สำหรับทวีปเอเชีย​ พบการระบาดครั้งแรกที่จีน​เมื่อเดือน​สิงหาคม 2018

8. สามารถวินิจฉัยอาการและรอยโรค​ ด้วยการทดสอบ ASF Rapid test, ASF-ELISA และ ASF-PCR

9. ปัจจุบัน​ยังไม่มียารักษาและวัคซีนป้องกัน​

10. การป้องกันโรค ASF สามารถทำได้ 3 ระดับ​ดังนี้
- การป้องกันโรคระหว่างประเทศ​ (International biosecurity)​ การห้ามนำเข้าเนื้อและวัตถุดิบจากประเทศที่เกิดโรค​
- การป้องกันโรคภายในประเทศ​หรือระหว่างฟาร์ม​ หรือจากหน่วยงานภายนอกฟาร์ม เช่น​ โรงงานอาหารสัตว์​ โรงฆ่าสัตว์​ บริษัทยาสัตว์​ บริษัทอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
- การป้องกันโรคระดับฟาร์ม​ (Farm biosecurity)​ ปรับระบบการเลี้ยงให้ได้มาตรฐาน GRM หรือ GAP, งดให้เศษอาหาร ถ้าจำเป็นควรต้มให้สุกก่อน, สังเกตอาการสุกรอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการผิดปกติ หรือแจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทันที หรือติดต่อ Call Center 063 225 6888 หรือแอพพลิเคชั่น DLD 4.0

*** ห้ามเคลื่อนย้ายสุกรออกจากฟาร์ม
** ห้ามผ่าชันสูตรซากเองในฟาร์ม

10 คำถามควรรู้เกี่ยวกับโรค ASF ที่ทำให้หมูขาดตลาด และแพง

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมปศุสัตว์ https://dld.go.th/
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: Thorsten
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
วาระแห่งชาติ! เขมรร้อนรนเร่งหาชื่อใหม่แทน สงกรานต์ หลัง UNESCO รับรองสงกรานต์ไทยนักข่าวปาเลสไตน์โพสต์รูป ทหารอิสราเอลถือธงชาติไทยสตรีมเมอร์ผิวสีสุดห้าว ทำคอนเทนต์เตะเก้าอี้ที่พัทยารวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ 29/03/67 วันที่เป็นวันศุกร์ พรุ่งนี้หลายๆคนก็ได้หยุดแล้วน๊าเผยโฉมหน้า "แบงค์" ที่ "เจ๊ปิ่น ทรงหิว" เต๊าะจนสำเร็จ..งานนี้ไม่หิวอีกต่อไปแล้ว!สาวพิการเพราะใช้ไดร์เป่าผมอึ้ง! ลาวขุดค้นพบ "พระเจ้าแสนแซ่" องค์พระที่มีวิธีการสร้างไม่เหมือนพระพุทธรูปทั่วไป หล่อแยกเป็นชิ้นๆ?แม่น้ำที่อันตรายที่สุดในโลก4 วิธีเก็บพริกสด ให้ใช้ได้นาน สดใหม่อยู่เสมอ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สตรีมเมอร์ผิวสีสุดห้าว ทำคอนเทนต์เตะเก้าอี้ที่พัทยาsuddenly: ทันใดนั้นรถติดจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป..ถ้าลองใช้วิธีนี้ มีฮาแน่นอน!วาระแห่งชาติ! เขมรร้อนรนเร่งหาชื่อใหม่แทน สงกรานต์ หลัง UNESCO รับรองสงกรานต์ไทย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
suddenly: ทันใดนั้น4 วิธีเก็บพริกสด ให้ใช้ได้นาน สดใหม่อยู่เสมอมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เปิดสอนมานานกว่า 100 ปีภาพวาดที่ถูกขายในราคาแพงที่สุด ในขณะที่คนวาดยังคงมีชีวิตอยู่
ตั้งกระทู้ใหม่