ที่มาของคำว่าตายห่าตายโหงและผีตายห่า – ผู้วายชนม์ด้วยโรคห่า
ผีตายห่า – ผู้วายชนม์ด้วยโรคห่า
คำว่าตายห่า ตายโหง คำเหล่านี้มันมีที่มาที่ไป เป็นตำนานมาแต่ โบราณกาล ของไทยในสมัยเก่าก่อน บางทีคนในสมัยปัจจุบันเมื่อได้ยินคำนี้ก็อาจจะบอกว่าเป็น คำหยาบคาย ไม่สุภาพแต่วันนี้เรามีบทความสาระน่ารู้ที่จะนำเสนอ...
ผีตายห่า หรือ ผีห่า เป็นชื่อเรียกของคนที่ตายด้วยโรคห่า แต่ปัจจุบันคนมักนำมาพูดรวมกัน เป็นคำว่า ตายห่าตายโหง บางคนไม่เข้าใจเลยคิดว่าเป็นการตายแบบเดียวกันไป นอกจากนี้คำว่า ตายห่า
ยังเป็นคำอุทาน...ด้วย
ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ มีโรคห่า ระบาดในเขตพระนคร ทำให้ผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ศพของคนที่ตายมีมากกว่าที่วัดจะรองรับได้ คนจึงนำเอามาทิ้งไว้ตามลานวัดบ้าง แม่น้ำลำคลองบ้าง วิญญาณของคนที่ตายก็ไม่สงบ เพราะไม่ได้รับการทำพิธีศพที่ถูกต้องตามศาสนา เลยยังคงปรากฏกายให้ผู้คนได้พบเห็นกันอยู่ทั่วไป
ผีตายห่า เป็นคำเรียกคนที่ตายด้วย โรคห่า หรือ อหิวาตกโรค ในสมัยโบราณ ซึ่งหากหมู่บ้านหรือเมืองไหนเกิดโรคร้ายชนิดระบาดแล้วล่ะก็เป็นเบือเลยทีเดียว เพราะในยุคก่อนนั้นการแพทย์ยังไม่ค่อย
เจริญเหมือนปัจจุบันนี้บางตำราว่าหากมีการตายด้วยกาฬโรค ก็เรียกว่าตายห่าเหมือนกัน
อีกตำราหนึ่งกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของคำนี้ไว้ว่า เมื่อวิญญาณของคนที่ตายด้วยโรคห่า มาหลอกหลอนผู้คน จึงมีคำเรียกผีชนิดนี้ว่า
ผีตายห่า คำว่า ผีห่า นั้นหมายถึงผีที่ดุร้ายหรือมีความเลวร้ายไม่ผิดอะไรกับโรคห่า ต่อมาอาจจะมีผู้เห็นว่าผีตายด้วยโรคห่าแทนที่จะไปสู่สุคติกลับมาหลอกหลอน ผู้คนไม่ผิดอะไรกับผีร้าย อย่างผีห่า ความหมายของผีตายห่ากับผีห่า ความหมายของ ผีตายห่า กับ ผีห่า ก็เลยผสมกลมกลืนกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานซึ่งยังสรุปอะไรไม่ได้นัก
ปัจจุบัน คำว่า ตายห่า ก็ใช้พูดกันนั้นไม่ได้หมายถึงการตายด้วยโรคห่าอีกแล้วแต่เป็นคำติดปากที่นิยมใช้กันพร่ำเพรื่อ หรือคำอะไรที่
ต้องการแสดงให้เห็นว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ก็นิยมเอาคำว่าห่านี้มาต่อท้าย เช่น หนาวตายห่า ร้อนจะตายห่า หรือยุ่งตายห่า ซึ่งเป็นคำไม่ค่อยสุภาพ
ผู้วายชนม์ด้วยโรคห่าผีตายห่า
👉ข้อมูลเพิ่มเติม..ห่าลง ..โรคระบาดรุนแรงในอดีต ปีมะโรง พ.ศ. 2363 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เกิดอหิวาตกโรค หรือไข้ป่วง ระบาดรุนแรงในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ชาวบ้านเรียกกันว่า "ห่าลง" อันหมายถึงโรคระบาดรุนแรงที่ทำให้ผู้คนล้มตายลงเป็นจำนวนมาก
จากบันทึกของบุคคลที่เคยผ่านเหตุการณ์ในครั้งนั้น เล่าถึงความรุนแรงในการระบาดของโรคว่า ตามบริเวณวัดต่าง ๆ จะมีศพถูกนำมาทิ้งไว้ระเกะระกะ สภาพศพเน่าเปื่อยส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งไปทั่วบริเวณ ศพที่เอาไปทิ้งไว้ในป่าช้าและศาลาดินวัดสระเกศ วัดบางลำพู (วัดสังเวชวิศยาราม) วัดบพิตรพิมุข วัดปทุมคงคา กองกันเป็นภูเขา ศพมีจำนวนมาก วางก่ายกันเหมือนกองฟืนเพราะเผาไม่ทัน ความร้ายแรงของโรคและศพที่กองกันเต็มวัดนี้ ถึงกับทำให้พระสงฆ์ต้องหนีออกจากวัด ราษฎรหนีออกจากบ้าน ตามถนนหนทางไม่มีคนเดิน ตามตลาดที่เคยมีผู้คนคับคั่งก็ว่างเปล่า บ้านเมืองดูเงียบเชียบวังเวง
ช่วงที่โรคเพิ่งระบาดใหม่ ๆ โลงศพขายดี แต่เมื่อคนตายกันมาก ๆ คนที่ไม่มีเงินซื้อโลง ก็ต้องใช้เสื่อห่อศพ ไม่ว่าจะเดินไปตามถนนสายใด จะพบคนหามศพห่อด้วยเสื่ออย่างรีบเร่ง มีเสียงร้องไห้โฮออกมาจากบ้านโน้นบ้านนี้เสมอ บางศพไม่มีอะไรจะห่อ ปล่อยทิ้งไว้ตามถนนก็มี
ในแม่น้ำลำคลองก็มีศพลอยเกลื่อน น้ำในแม่น้ำใช้กินใช้อาบไม่ได้ เพราะศพลอยกันราวกับสวะน่าสะอิดสะเอียน เนื่องจากจำนวนคนตายเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ชาวบ้านจึงใช้วิธีทำลายศพด้วยการโยนทิ้งลงในแม่น้ำลำคลองให้เป็นอาหารของปลา จึงปรากฏซากศพลอยไปมาตามกระแสน้ำที่ขึ้นลงทุกวัน มีฝูงนกกามารุมจิกกินซากศพ
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย โรคระบาดของไทยในอดีต
https://jobs-manman.blogspot.com/
YouTube ตำนานโรคระบาดสยาม










