หลุมดำจิ๋วดึกดำบรรพ์ ยังคงมีอยู่ทั่วจักวาล จริงไหม??
ดาวเคราะห์หมายเลข 9 อาจจะเป็นหลุมดำจิ๋ว?
เทหวัตถุในอวกาศไม่จำเป็นต้องมีมวลมากมายมหาศาลหรือมากกว่าดวงอาทิตย์หลายเท่านัก ก็สามารถทำให้เกิดหลุมดำได้ ของเพียงแค่ขนาดมวลของมันเล็กกว่า"เส้นรอบวงวิกฤต" ก็มากพอที่จะทำให้แผ่นอวกาศเวลาเกิดเป็นหลุมลึกจนกลายเป็นหลุมดำ กล่าวคือมวลมหาศาลแต่ปริมาตรขนาดเล็ก อย่างเช่นรถบังคับที่มีน้ำหนักเท่าบรรทุกของจริงอะไรประมาณนั้น แต่ต่างหลุมดำจิ๋วที่มวลของมันจะสุดขั้วกว่านั้น
" หลุมดำจิ๋ว" ถ้าหากมีมวลเกิน 5 เท่าของโลก ขนาดของมันภาพรวมจะเท่ากับผลมะนาว 1 ลูก แต่ถ้าหากมีมวลมากกว่าโลก 10 เท่า ขนาดของมันจะเท่ากับลูกบาส 1 ลูกเท่านั้น
ทั้งนี้ยังมีหลุมดำที่มีขนาดเล็กเท่าอนุภาคในระดับอะตอมจำนวนมากมายในยุคที่จักรวาลก่อกำเนิดใหม่ๆ แต่นักวิทยาศาสตร์หลายท่านคิดว่ามันคงสะลายไปตามกาลเวลา ซึ่งไม่อาจมีอายุยืนยาวมาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ล่าสุดในแบบจำลองและสมการบ่งบอกว่าพวกหลุมดำจิ๋วหรือหลุมดำบรรพกาลเหล่านี้อาจจะยังคงอยู่กระจายตัวอยู่ทั่วจักรวาล เพียงแต่พลังอำนาจของมันไม่สามารถทำอันตรายต่อสรรพสิ่งในเอกภพแห่งนี้ รวมไปถึงโลกใบนี้ได้
แต่ข้อสันนิฐานใหม่เกี่ยวกับทฤษฎี"ดาวเคราะห์หมายเลข 9" ในสุดขอบระบบสุริยะของเรานั้น กล่าวว่ามันอาจจะไม่ใช่ดาวเคราะห์อย่างที่คิดกันในตอนแรก เนื่องด้วยวัตถุ"พ้นดาวเนปจูน" นั้นมีวงโคจรที่เกาะกลุ่มกันอย่างน่าผิดสังเกต เหมือนมีแรงโน้มถ่วงบางอย่างดึงมันไว้ให้โคจรไปในทิศทางเดียวกันอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเป็นแรงโน้มถวงจากดาวเคราะห์จริง ป้านนี้คงจะได้ส่องกล้องเห็นโฉมหน้ากันไปนานแล้ว แต่ถึงเวลานี้นักวิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์ทุกคนยังไม่สามารถค้นหาวัตถุลึกลับที่เรียกว่าดาวเคราะห์หมายเลข 9 นี้ได้สักที
อย่างไรก็ตามเทหวัตถุที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์นั้นมีมากมายกว่าดาวเคราะห์ที่เรารู้จักกัน รวมไปถึงบางสิ่งบางอย่างที่ยังระบุตัวตนไม่ได้อีกมาก ที่อาศัยวงโคจรของดวงอาทิตย์ เพื่อปักหมุดอาศัยตำแหน่งที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่งในอวกาศแห่งนี้














