หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

sds คือ รายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย มีทั้งหมด 16 ข้อ

โพสท์โดย safesiri

ปัจจุบันการนำสารเคมีต่างๆมาใช้ภายในโรงงาน อาทิเช่น หมึกพิมพ์ น้ำยาต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการผลิตในอุตสาหกรรม สารเคมี มีทั้งคุณ และโทษ และหากสารเคมีถูกนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่มีหนังสือรับรองความปลอดภัย บุคลากรขาดความรู้ ความสามารถในการควบคุมดูแล ก็อาจจะทำให้เกิดความสูญเสีย ทั้งชีวิต และทรัพย์สินได้ ดังนั้นวันนี้ บริษัท ทอมโก้ ออโตเมติก แมชชินเนอร์รี่ จำกัด จะมาอธิบายความสำคัญ ของเอกสารชนิดหนึ่ง ที่ผู้ประกอบการทุกโรงงานจำเป็นต้องรู้จัก เอกสาร SDS เพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดจากการใช้สารเคมีในโรงงาน 

 SDS คือ Safety Data Sheet (SDS) หรือในบางครั้งเรียกว่า Material Safety Data Sheet (MSDS) นั้น หมายถึงเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์เกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการ SDS มีดังนี้

  1. เก็บ SDS ในรูปแบบที่เป็นเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์
  2. เก็บ SDS อยู่ในที่ที่ทุกคนในห้องปฏิบัติการเข้าดูได้ทันที เมื่อต้องการใช้ หรือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน
  3. SDS มีข้อมูลครบทั้ง 16 หัวข้อ ตามระบบสากล

1) ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี และบริษัทผู้ผลิตและหรือจำหน่าย (Identification)

2) ข้อมูลความเป็นอันตราย (Hazards identification)

3) ส่วนประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (Composition/Information on ingredients)

4) มาตรการปฐมพยาบาล (First aid measures)

5) มาตรการผจญเพลิง (Fire fighting measures)

6) มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหล (Accidental release measures)

7) การใช้และการจัดเก็บ (Handling and storage)

8) การควบคุมการได้รับสัมผัสและการป้องกันส่วนบุคคล (Exposure controls/Personal protection)

9) สมบัติทางกายภาพและเคมี (Physical and chemical properties)

10) ความเสถียรและการเกิดปฏิกิริยา (Stability and reactivity)

11) ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological information)

12) ข้อมูลด้านระบบนิเวศ (Ecological information)

13) ข้อพิจารณาในการกำจัด (Disposal considerations)

14) ข้อมูลสำหรับการขนส่ง (Transport information)

15) ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ (Regulatory information)

16) ข้อมูลอื่น ๆ (Other information)

  1. มี SDS ของสารเคมีอันตรายทุกตัวที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ 
  2. มี SDS ที่ทันสมัย โดยตรวจสอบจากข้อมูล SDS ของบริษัทผู้ผลิตในช่วงเวลาที่ซื้อจากบริษัทผู้ขายสารเคมีนั้นๆ ไม่ควรใช้ SDS ของบริษัทผู้ผลิตอื่นเนื่องจากอาจมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลสารเคมีได้ และไม่ควรใช้ SDS ที่เก่ากว่า 5 ปี
เนื้อหาโดย: safesiri
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
safesiri's profile


โพสท์โดย: safesiri
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ไบเดน ฮึ่ม " ทุกคนต้องอยู่ใต้กฏหมายเดียวกัน "ดราม่า! ชมพู่ อารยา ดุพี่ยุ ชาวเน็ตแห่เม้นต์ แม่วีนแรงไปไหม พูดดีๆก็ได้ปริศนาศพหญิง 2 คนในสุสานกวนอู พวกเธอเป็นใคร? มีคนบอกว่าหนึ่งในนั้นคือเตียวเสี้ยน?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ครูห่วงอนาคตเด็กไทย..ทนแดดแค่นี้ไม่ได้ ต่อไปจะทำอะไรกินดราม่าแมว ‘หนูหรั่ง’ เหมาะสมไหม? เอาแมวมาเดินในสนามบินสุวรรณภูมิmorale: ขวัญกำลังใจ ขวัญของประชาชน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด โฆษณา ประชาสัมพันธ์
ไขข้อข้องใจ ประกันชั้น 3 และ 3+ ต่างกันยังไง ทำไมต้องมีบวกมัดรวม 5 ครีมทาฝ้าที่ดีที่สุดในปี 2024รวมเคล็ดลับ การดูแลรอยแดงจากสิวบนหน้าด้วยตัวเองกันแนะนำ 5 คอร์สเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน ไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้
ตั้งกระทู้ใหม่