"แตงดาหวุ่นคยีเสนาบดีผู้เกลียดชังชาวต่างชาติ ผู้เริ่มนำความเสียเมืองสู่พม่า"
แตงดาหวุ่นจี้เป็นเสนาบดีกลุ่มหัวโบราณ เป็นกลุ่มที่เกลียดชังชาวต่างชาติ เขามีทัศนคติเชื่อในความยิ่งใหญ่ของชนชาติพม่า
แตงดาหวุ่นคยีจอมพลของพม่า ยุคพระเจ้าธีบ่อ
ตั้งแต่ฆ่าเจ้านายเชื้อพระวงค์แล้ว พระนางอเลนันดอ เกิดหวาดหวั่นด้วยรู้ว่ามีคนโกรธแค้นมากจะเกิดขบถ จึงแนะนำพระเจ้าธีบ่อให้แต่งตั้งแตงดาหวุ่นคยี ซึ่งเคยเป็นคู่คิดกันมาก่อนเป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร และให้เป็นผู้บัญชาการรักษาพระนครด้วย แต่พระนางอเลนันดอ มีอำนาจสิทธิ์ขาดอยู่ได้ไม่นาน พระราชินีศุภยาลัตก็เอากิจการฝ่ายในราชฐานไปบัญชาเสียเอง ยังเอื้อมไปเกี่ยวข้องถึงกิจการฝ่ายหน้าด้วย เมื่อ แตงดาหวุ่นคยีเห็นราชินีศุภยาลัตมีอำนาจมากขึ้นก็หันไปประจบประแจง จนได้เป็นที่ปรึกษาของราชินีศุภยาลัต เหมือนที่เคยเป็นที่ปรึกษาของพระนางอเลนันดอ ราชการบ้านเมืองสิทธิ์ขาดอยู่ที่บุคคลทั้งสาม คือพระเจ้าธีบ่อ พระราชินีศุภยาลัต และแตงดาหวุ่นคยี เลยเป็นเหตุให้เสนาบดีอื่นพากันท้อถอย
แตงดาหวุ่นคยีเป็นอีกหนึ่งเสนาบดีแห่งสภาหลุดดอ ควบตำแหน่งสมุหราชองครักษ์แห่งพระราชวังกรุงมัณฑะเลย์
ในยุคของพระเจ้ามินดง เมื่อพระเจ้ามินดงประชวรหนักใกล้สวรรคต พระนางอเลนันดอกุมอำนาจ เกิดการฆ่าล้างเหล่าเชื้อพระวงค์ผู้มีสิทธ์ในราชสมบัติเกือบทั้งหมดโดยมีแตงดาหวุ่นคยีเป็นคู่คิดทำการอยู่เบื้องหลัง แล้วแต่งตั้งเจ้าชายธีบ่อขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป
ในปี1882พระนางอเลนันดอทรงตัดสินพระทัย ยื่นคำขาดต่ออังกฤษ ส่งทหารเข้าประชิดเขตชายแดน พร้อมส่งสาสน์เรียกร้องให้ข้าหลวงอังกฤษที่เมืองกัลกัลตากลับมาทำการปักปันเขตแดนใหม่ รวมถึงเป็นผู้ให้พม่ารบกับอังกฤษจนถึงที่สุด โดยมีแตงดาหวุ่นคยีเป็นตัวตั้งตัวตี จนเกิดเป็นสงครามอังกฤษ-คองบอง ครั้งสุดท้าย
เมื่อพม่ายอมแพ้ต่ออังกฤษ แตงดาหวุ่นคยีถูกส่งตัวไปจองจำที่เมืองกัลกัตตา จนถึงปี1886 ถูกส่งตัวกลับมาอยู่ที่มัณฑะเลย์และเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว
อ้างอิงจาก: เล่าเรื่องรัฐฉาน ล้านนา ล้านช้างและสยามประเทศ













