10 อาวุธในอนาคตของไต้หวัน / 10 Future Weapons of Taiwan
ไต้หวันกำลังเสริมกำลังทหาร ด้วยการซื้ออาวุธใหม่ล่าสุดให้กับกองทัพสาธารณรัฐจีน (กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ) ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างจีนและไต้หวัน และนี่คือ10 อาวุธในอนาคตของไต้หวัน
1. M1A2T Abrams (Main Battle Tank)
เมื่อ 15 เมษายนปี 2021 ไต้หวันได้เริ่มเตรียมฝึกอบรมบุคลากรและจัดเตรียมสถานที่ฝึกอบรมสำหรับรถถัง M1A2T Abrams ที่สหรัฐฯจะส่งมอบให้กับไต้หวัน ระหว่างปี 2023 ถึง 2026
ด้วยงบประมาณ 1.34 พันล้านเหรียญสหรัฐ ไต้หวันตั้งใจซื้อรถถัง M1A2T จำนวน 108 คัน เพื่อปรับปรุงกองทัพยานเกราะปัจจุบันที่มีรถถังประจัญบาน 1,000 คัน ส่วนใหญ่เป็นรุ่น M60A3 TTS และ CM-11 Brave Tigers
ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2008 M1A2T เป็นรุ่นดัดแปลงจาก M1A2 SEPv2 ซึ่งได้รับการปรับแต่งเป็นพิเศษ ตามความต้องการของกองทัพไต้หวัน ซึ่งมีป้อมปืนที่ผลิตขึ้นใหม่ พร้อมชุดการปรับปรุงเพื่อเพิ่มความอยู่รอด
โดยไต้หวันระบุว่าจะได้รับรถถังใหม่ 18 คันในปี 2022, 18 คันในปี 2023, 28 คันในปี 2024, 30 คันในปี 2025 และอีก 14 คันในปี 2026 โดยมีรายงานว่ารถถัง M1A2T จะถูกมอบหมายให้เข้าประจำการ
ในกองทัพบกที่ 6 ซึ่งรับผิดชอบด้านความมั่นคงทางเหนือของไต้หวัน
2. New Diesel-Electric (Attack Submarine)
เมื่อ 9 พฤษภาคมปี 2019 ไต้หวันได้เปิดเผยแบบจำลองขนาดเล็กของเรือดำน้ำจู่โจม ดีเซล-ไฟฟ้า (SSK) เป็นครั้งแรก ระหว่างพิธีวางศิลาฤกษ์อู่ต่อเรือแห่งใหม่ เพื่อสร้างและซ่อมแซมกองเรือดำน้ำใหม่ของกองทัพเรือสาธารณรัฐจีน (ROCNs)
โดยโมเดลนี้มีระบบหางเสือ X-form และการออกแบบภายนอกที่เหมือนกับเรือดำน้ำชั้นโซริวและโอยาชิโอะ ของญี่ปุ่น แต่ทาง (CSBC) บริษัทสร้างเรือหลักของไต้หวัน ออกมาปฏิเสธข้อมูลดังกล่าว
ซึ่งโครงการดำเนินการโดยสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติชุงซาน (NCSIST) ด้วยความช่วยเหลือด้านเทคนิคจากสหรัฐอเมริกา และใช้เทคนิคก่อสร้างเรือของญี่ปุ่น คาดว่าเรือจะมีขนาด 2,500 ตัน และยาว 70 เมตร
ROCN ตั้งเป้าที่จะสร้างกองเรือ SSK ใหม่แปดลำ การก่อสร้างคาดว่าจะเริ่มในปลายปี 2020 หรือต้นปี 2021 โดยมีกำหนดเริ่มปฏิบัติการครั้งแรกในปี 2026
3. Landing Platform Dock (Amphibious Assault Ship)
เมื่อ 13 เมษายนปี 2021(CSBC) บริษัทสร้างเรือหลักของไต้หวัน จัดพิธีปล่อยเรืออู่ลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกลำแรกที่ไต้หวันผลิตขึ้นเอง ซึ่งจะเข้าประจำการในกองทัพเรือสาธารณรัฐจีน (ROCN) ในเดือนเมษายนปี 2022
เรือชั้นยูซาน มีขนาดระวางขับน้ำ 10,000 ตัน ความเร็วสูงสุด 21 นอต และพิสัยทำการ 7,000 ไมล์ มีความสามารถในการบรรทุกยานจู่โจมสะเทินน้ำสะเทิ้นบก ยานยกพลขึ้นบก รถบรรทุก ยานเกราะ และทหารพร้อมอาวุธครบมือสูงสุด 673 นาย
Yu Shan จะติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ OTO Melara 76mm CIWS, Phalanx และปืนกลหนัก 12.7mm 4กระบอก ติดตั้งขีปนาวุธต่อต้านเรือ และโจมตีภาคพื้นดิน Hsiung Feng II และ Hsiung Feng III
ซึ่ง LPD ลำใหม่ จะช่วยให้ กองทัพเรือสาธารณรัฐจีน (ROCN)และหน่วยนาวิกโยธินแห่งสาธารณรัฐจีน (ROCMC) มีความสารถปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีบบบาทรองในฐานะเรือโรงพยาบาลและการบรรเบาทุกข์ด้านมนุษยธรรม
โดยไต้หวันวางแผนที่จะมี LPD-1401 4 ลำสำหรับ (ROCN)
4. MQ-9B Seaguardian (Unmanned combat aerial vehicle)
เมื่อ 3 พฤศจิกายนปี 2020 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ อนุมัติการขาย MQ-9B ติดอาวุธ จำนวน 4 ลำ มูลค่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมสถานีควบคุมและระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกแบบฝังตัว/ระบบนำทางเฉื่อย (EGI)
MQ-9 อากาศยานไร้คนขับ มีความสามารถในการควบคุมจากระยะไกลหรือปฏิบัติการบินอิสระ ได้รับการพัฒนาโดย (GA-ASI) สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐ (USAF) เป็นหลัก มีวัตถุประสงค์
เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามในปัจจุบันและอนาคต ด้วยการสอดแนม การเฝ้าระวัง และการลาดตระเวน การได้มาซึ่งเป้าหมาย การโจมตีภาคพื้นดิน และการต่อต้านเรือดำน้ำ เครื่องบินขับเคลื่อนด้วยใบพัดเทอร์โบ 950 แรงม้า
ความเร็วสูงสุด 300 ไมล์ต่อชั่วโมง และน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 1,700 กก. ซีการ์เดียนสามารถติดอาวุธได้หลากหลายประเภท รวมถึงขีปนาวุธเฮลล์ไฟร์ และหน่วยระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ 500 ปอนด์
ความสามารถในการทำภารกิจ 18 ชั่วโมง พิสัยการดำเนินการ 2,200 km และระดับความสูงในการปฏิบัติงาน 50,000 ฟุต ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับช่องแคบไต้หวันเพื่อเฝ้าระวังการรุกรานสะเทินน้ำสะเทินบกจากประเทศจีน
5. AIDC T-5 (Brave Eagle) (Advanced jet trainer)
เมื่อ 10 มิถุนายน 2020 เบรฟ อีเกิ้ลได้ทำการบินครั้งแรก เพื่อทำการทดสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ณ ฐานทัพอากาศ Ching Chuan Kang โดย T-5 เป็นเครื่องบินฝึกความเร็วเหนือเสียงของกองทัพอากาศไต้หวัน
พัฒนาและผลิตโดย AIDC ภายใต้โครงการ (AJT) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 2000 การออกแบบมีพื้นฐานมาจาก AIDC F-CK-1 Ching-Kuo และใช้เครื่องยนต์เดียวกัน แต่มีส่วนประกอบใหม่ 80%
รวมถึงตัวถังแบบคอมโพสิต ระบบการบินที่ล้ำหน้ากว่า และความจุเชื้อเพลิงที่เพิ่มมากขึ้น โดยส่วนประกอบมากกว่า 55% ผลิตขึ้นในไต้หวัน ไต้หวันมีแผนการจัดหา เบรฟ อีเกิ้ล ทั้งหมด 66 ลำ เพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกรุ่นเก่าอย่าง AIDC T-3
ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ช่วงปี 1980 ซึ่งจะปลดประจำการในปี 2026 และยังมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาต่อยอดจาก T-5 สำหรับรุ่นฝึกไปเป็นรุ่นขับไล่ขนาดเบา เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E/F Tiger II
ที่เข้าประจำการมาอย่างยาวนานเช่นกัน
6. Tuo Chiang class Block II (Corvette)
เมื่อ 6 ตุลาคมปี 2021 เจ้าหน้าที่กองทัพเรือจัดพิธีตัดเหล็กสำหรับเรือ ที่โรงงานของบริษัท ใน Suao เขต Yilan ซึ่งเป็นลำที่สองของคอร์เวตต์รุ่นปรับปรุง และจะสร้างภายในปี 2023 โดยต้าเจียง (เรือหมายเลข 619)
ซึ่งเป็นเรือลำแรกที่ผลิตในซีรีส์รุ่นปรับปรุง ได้เข้าประจำการกับ ROCN ซึ่งพิธีที่จัดขึ้นเมื่อ 9 กันยายนปี 2021 ที่ฐานทัพเรือ Suao ซึ่งมีประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน เข้าร่วมด้วย ต้าเจียง (619) มีระวางขับน้ำประมาณ 700 ตัน
มีความสามารถบรรทุกลูกเรือ 41 คน สามารถทำความเร็วสูงสุด 40 นอต และพิสัยทำการ 2,000 ไมล์ทะเล ด้วยการออกแบบตัวเรือคาตามารันเจาะคลื่น แรงขับเคลื่อนด้วยวอเตอร์เจ็ท และเทคโนโลยีพรางตัว เพื่อลดการตรวจจับเรดาร์
เรือมีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจรักษาความปลอดภัยทางทะเลที่มีความเข้มข้นต่ำ การปฏิบัติการในน่านน้ำตื้นหรือชายฝั่ง ซึ่งเรือพิฆาตและเรือรบไม่สามารถแล่นได้ ไต้หวันตั้งเป้าที่จะสร้างเรือที่ปรับปรุง ทั้งหมด 6 ลำ ภายในปี 2023
โดยคาดว่าจะมีการสร้างเพิ่มเติมอีก 5 ลำหลังจากนี้
7. M109A6 Paladin (Self-Propelled Howitzer)
เมื่อ 3 กันยายนปี 2021 สหรัฐฯได้อนุมัติการขาย ปืนใหญ่อัตตาจร เอ็ม109เอ6 พาลาดิน จำนวน 40 คัน ให้แก่ไต้หวัน โดยปืนใหญ่ 8 คันแรก มีกำหนดส่งมอบในปี 2023 16 คันในปี 2024 และ 16 คันสุดท้ายในปี 2025
ปืนใหญ่อัตตาจร พาลาดิน ติดตั้งปืนใหญ่ M284 ขนาด 155 มม. และปืน M182 สามารถโจมตีเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไป 30 กิโลเมตร มีอัตราการยิงสูงสุดแปดนัดต่อนาที ระบบควบคุมการยิงอัตโนมัติและระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก
ซึ่งแม่นยำกว่า M109A2 และ M109A5 ที่ใช้โดยกองทัพสาธารณรัฐจีน (ROCA) ในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคาม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
8. MGM-168 ATACMS (Tactical ballistic missile)
เมื่อ 21 ตุลาคมปี 2020 สหรัฐฯได้อนุมัติการขายขีปนาวุธ MGM-168 64ลำ ให้แก่ไต้หวัน ATACMS เป็นระบบขีปนาวุธพื้นสู่พื้น (SSM) ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์จรวดเชื้อเพลิงแข็ง มีพิสัยทำการ 300 กม.
เดิมถูกกำหนดค่าเป็น MGM-140E, Block IVA รุ่นใหม่นี้ ใช้แทนหัวรบ HE ขนาด 500 ปอนด์ สำหรับลูกระเบิด M74 โดยใช้ระบบนำทาง GPS/INS แบบเดียวกับ MGM-140B
ATACMS สามารถยิงได้จาก ระบบยิงจรวดหลายลำกล้อง M270 และ ระบบยิงจรวดปืนใหญ่เคลื่อนที่ความเร็วสูง M142 โดย ATACMS จะทำให้ไต้หวันสามารถกำหนดเป้าหมายท่าเรือ ฐานทัพอากาศ
และเป้าหมายชายฝั่งอื่นๆ ได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยให้ไต้หวัน สามารถป้องกันตนเองจากการรุกรานของจีนได้ดียิ่งขึ้น
9. M142 HIMARS (Multiple launch rocket system)
เมื่อ 17 มิถุนายนปี 2021 กระทรวงกลาโหมไต้หวัน ได้ลงนามในสัญญาสองฉบับ มูลค่ารวม 1.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ กับสถาบันอเมริกันในไต้หวัน (AIT) เพื่อจัดซื้อ ระบบยิงจรวดปืนใหญ่เคลื่อนที่ความเร็วสูง M142 (HIMARS)
และระบบป้องกันชายฝั่ง Harpoon (HCDS) HIMARS สามารถยิงจรวดได้หกลูกหรือขีปนาวุธ ATACMS หนึ่งลูก ที่ติดตั้งบนรถบรรทุกขนาด 5 ตัน ซึ่งมีความสามารถในการโจมตี ระบบปืนใหญ่อัตตาจร
ระบบป้องกันภัยทางอากาศ ยานเกราะเบา และแม้แต่กองทหารของศัตรู โดยมีระยะการยิงที่แม่นยำถึง 300 กิโลเมตร เครื่องยิงจรวดเคลื่อนที่ สามารถยิงขีปนาวุธแล้วอพยพออกจากพื้นที่ด้วยความเร็วสูง ก่อนที่กองทัพศัตรูจะมาถึง
ข้อตกลง HIMARS มีมูลค่าประมาณ 436.1 ล้านเหรียญสหรัฐ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด คาดว่าจะมาถึงไต้หวันภายในปี 2027 ตามรายงานจากกองบัญชาการกองทัพบก
10. MK 48 Mod 6 AT (Heavyweight Torpedoes)
เมื่อ 20 พฤษภาคมปี 2020 สหรัฐฯ ได้อนุมัติการขายตอร์ปิโดขนาดหนัก เทคโนโลยีขั้นสูง MK-48 Mod 6 AT จำนวน 18 ลำ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ไต้หวัน ด้วยราคาประมาณ 180 ล้านเหรียญหสรัฐฯ
มาร์ค 48 ตอร์ปิโดขนาดหนักที่ออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดต่อเป้าหมายทั้งหมด ในสภาพแวดล้อมทั้งบริเวณชายฝั่งและในน้ำลึก ตอร์ปิโดมีความสามารถในการทำงานแบบอิสระ หรือควบคุมผ่านสายเชื่อมโยง
MK 48 Mod 6AT มีโซนาร์ขั้นสูง รวมกับตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอลขั้นสูงสำหรับการตรวจจับเป้าหมาย และติดหัวรบขนาด 290 กก. ซึ่งมากเกินพอที่จะจมหรือสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงให้กับเรือของกองทัพ PLA
รวมถึงเรือบรรทุกเครื่องบิน คาดว่ามาร์ค 48 จะถูกติดตั้งบนเรือดำน้ำไฟฟ้าดีเซลชั้น Chien Lung รุ่นเก่าจำนวน 2 ลำ ซึ่งสร้างในเนเธอร์แลนด์ในช่วงทศวรรษ 1980