เตรียมความพร้อมให้กับพนักงานในสถานประกอบการด้วยการอบรมดับเพลิงขั้นต้น
เตรียมความพร้อมให้กับพนักงานในสถานประกอบการด้วยการอบรมดับเพลิงขั้นต้น
การอบรมดับเพลิงขั้นต้นนั้นเป็นสิ่งที่ทุกสถานประกอบการจะต้องให้ความสำคัญในการจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานทุกๆคนได้เรียนรู้การดับไฟอย่างถูกต้องและทุกขั้นตอนซึ่งการเรียนพนักงานจะได้เรียนเกี่ยวกับทฤษฏีในการดับเพลิง และ ปฏิบัติดับเพลิงขั้นต้นโดยการใช้ถังดับเพลิง
ทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้
การสันดาป หรือการเผาไหม้ (COMBUSTION) คือ ปฏิกิริยาเคมี ที่เกิดจากการรวมตัวของเชื้อเพลิงกับออกซิเจน ซึ่งเป็นผลให้เกิดความร้อนและแสงสว่างกับสภาพการเปลี่ยนแปลง ก่อนที่ไฟจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย 3 สิ่งต่อไปนี้ มารวมตัวกันในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะเกิดขึ้นเป็นไฟได้ หรือเรียกว่า ทฤษฎีสามเหลี่ยมของไฟ คือ 1.เชื้อเพลิง 2.ความร้อน และ 3.อากาศ นั้นคือ องค์ประกอบ 3 อย่างของ ไฟ
ประเภทของไฟ และ วิธีการดับไฟในแต่ลพประเภทอย่างถูกวิธีตามมาตรฐาน ประเภทของเพลิงหรือเรียกแบบบ้านๆ คือประเภทของไฟนั้นเอง การแบ่งประเภทของไฟมีสมาคมหรือสถาบันมากมายหลายประเทศได้แบ่งแยกประเภทของไฟไว้ ยกตัวอย่างเช่น สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกาได้แบ่งประเภทของไฟออกเป็น 5 ประเภท คือ A B C D และ K
ประเภทเอ (Class A) : เพลิงไหม้ ของแข็งที่เป็นสารอินทรีย์ (Organic solids) เช่น กระดาษ ไม้ฯลฯ
ประเภทบี(Class B) : เพลิงไหม้ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) และของแข็งและถูกทำให้เป็นของเหลวได้ (Liquifiable solids)
ประเภทซี (Class C) : เพลิงไหม้ก๊าซไวไฟ (Flammable gases)
ประเภทดี (Class D) : เพลิงไหม้โลหะ (Metals)
ประเภทอี (Class E) : เพลิงไหม้ อุปกรณ์ไฟฟ้า(Electrical equipment)
ประเภทเอฟ (Class F) : เพลิงไหม้ไขมันและน้ำมันใช้ในการปรุงอาหาร (Cooking fat and oil)
นอกจากนั้นยังจะได้เรียนเกี่ยวกับวิธีดับเพลิงประเภทต่าง ๆ
1. การกำจัดเชื้อเพลิง (Eliminate Fuel Supply) นำเชื้อเพลิงออกไปจากบริเวณเกิดอัคคีภัย และสำหรับกรณีขนถ่ายเอาเชื้อเพลิงออกไปไม่ได้ ควรใช้วิธีนำสารอื่นๆ มาเคลือบผิวของเชื้อเพลิงเอาไว้ เช่น การใช้ผงเคมี โฟม น้ำละลายด้วยผงซักฟอก ซึ่งเมื่อฉีดลงบนผิววัสดุแล้วจะปกคลุมอยู่นานตราบเท่าที่น้ำหรือสารเคมีอื่นๆ ที่ผสมในน้ำยังไม่สลายตัว
2. การป้องกันออกซิเจนในอากาศรวมตัวกับเชื้อเพลิง (Prevent Oxygen In Air Combining With Fuel) การป้องกันออกซิเจนในอากาศรวมตัวกับเชื้อเพลิงทำได้สองอย่าง คือการใช้ก๊าซเฉื่อยไปลดจำนวนออกซิเจนในอากาศ หรือการใช้สิ่งที่ผนึกอากาศคลุมเชื้อเพลิงไว้ สำหรับพื้นที่ที่มีไฟไหม้ไม่ใหญ่โตนัก การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ผงเคมีแห้ง หรือไอน้ำจะได้ผลดี โฟมเป็นตัวกั้นระหว่างเชื้อเพลิงกับอากาศที่ดีถ้าสามารถคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมดโดยไม่มีช่องว่าง
3.การลดความร้อนที่ทำให้เกิดการระเหย (Elimination Heat Causing Oil Vapouri Zation) ความร้อนทำให้เชื้อเพลิงระเหยเป็นไอ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องลดความร้อนลง เพื่อไม่ให้เชื้อเพลิงคลายไอ น้ำเป็นตัวสำคัญที่สุดในการลดความร้อน โดยเฉพาะน้ำที่มีฝอยละเอียด จะมีประสิทธิภาพมาก ฝอยน้ำที่ฉีดลงไปบนเปลวไฟจะไปลดความร้อน นอกจากนั้นยังต้องลดความร้อนของวัสดุและอุปกรณ์ใกล้เคียงต่าง ๆ ให้ต่ำกว่าจุดติดไฟ
4.การตัดปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction) เป็นวิธีการดับเพลิงแบบใหม่ได้ผลมาก โดยการใช้สารบางชนิดที่มีความไวต่อออกซิเจนมากเมื่อฉีดลง สารดังกล่าว ได้แก่ พวกไฮโดรคาร์บอนประกอบกับ ฮาโลเจน (Halogenated Hydrocarbon) ซึ่งสารฮาโลเจนได้แก่ ไอโอดีโบรมีนคลอรีนและฟลูออรีน สารดับเพลิงประเภทนี้เรียกว่า ฮาลอน (Halon) เป็นต้น
หากท่านใดสนใจฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นสามารถติดต่อเราได้ตามเบอร์โทรหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็ปไซต์ ศูนย์ฝึกอบรมหน่วยงานดับเพลิงขั้นต้นและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ของเราได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้รับมาตรฐาน iso 9001 โดยบริการครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศไทยและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำระดับประเทศมากกว่า 2000+ บริษัท