หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ใบบัวบก

วันนี้มี...ผักใบบัวบก...มานำเหนออออ...ค่าา ประโยชน์สุดๆ

ใบบัวบก

ใบบัวบก

ใบบัวบก

ใบบัวบก

ใบบัวบก

ใบบัวบก

 

ชื่อที่เรียก

ภาคกลาง และทั่วไป
-บัวบก
-ใบบัวบก


ภาคเหนือ
-ผักหนอก
-จำปาเครือ
-กะบังนอก
-เอขาเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน)
-ปะหนะเอขาเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)


ภาคอีสาน
-ผักหนอก
-ผักแว่น
-แว่นโคก


ภาคใต้
-ผักแว่น


จีน

-เตียกำเช่า, ฮมคัก

 

        บัวบก หรือเรียก ใบบัวบก (Gotu kola) จัดเป็นวัชพืชเขตร้อนชนิดหนึ่ง และจัดเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ทั้งการรับประทานสดโดยตรง การใช้ประกอบอาหาร การแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม และใช้สารสกัดเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางหลายชนิด

        บัวบก หรือใบบัวบก มีถิ่นกำเนิดเดิมในทวีปแอฟริกาใต้ ต่อมาจึงถูกนำเข้ามาปลูกในอินเดีย ประเทศอเมริกาใต้ อเมริกากลาง รวมถึงประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียเหนือ ปัจจุบัน แพร่แพร่กระจายทั่วโลก ทั้งในประเทศเขตร้อน และเขตอบอุ่น พบแพร่กระจายในประเทศแถบอเมริกา ยุโรป แอฟริกา และเรื่อยมาจนถึงทุกประเทศในเอเชีย ส่วนประเทศไทยพบบัวบกขึ้นในทุกภาค

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
        บัวบกเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นเป็นไหล(stolen) เลื้อยไปตามพื้นดินหรืออยู่ด้านล่างหน้าผิวดิน ไหลมีลักษณะทรงกลม ไหลอ่อนมีสีขาว ไหลแก่มีสีน้ำตาล ขนาดประมาณ 0.2-0.4 มิลลิเมตร ยาวได้มากกว่า 1 เมตร ไหลมีลักษณะเป็นข้อปล้อง บริเวณข้อเป็นจุดแทงออกของก้านใบ ส่วนด้านล่างของข้อมีรากแขนงแทงลึกลงดิน และแต่ละข้อแตกแขนงแยกไหลไปเรื่อยๆ ทำให้ต้นบัวบกขึ้นปกคลุมพื้นที่โดยรอบได้อย่างหนาทึบ

ใบ
        ใบบัวบกออกเป็นใบเดี่ยว และออกเป็นกระจุกจำนวนหลายใบบริเวณข้อ แต่ละข้อมีใบ 2-10 ใบ ใบประกอบด้วยก้านใบที่แทงตั้งตรงจากข้อ ก้านใบสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีลักษณะทรงกลม สีเขียวอ่อน ถัดมาเป็นแผ่นใบที่เชื่อมติดกับก้านใบบริเวณตรงกลางของใบ ฐานใบโค้งเว้าเข้าหากัน แผ่นใบมีรูปทรงกลมหรือมีรูปร่างคล้ายไต ขอบใบหยัก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร แผ่นใบด้านใบเรียบ สีเขียวสด แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นๆปกคลุม และมีสีเขียวจางกว่าด้านบน ขอบใบหยักเป็นคลื่น

ดอก
        ดอกบัวบกออกเป็นช่อที่ซอกใบของข้อ ช่อดอกมีรูปทรงช่อคล้ายร่ม อาจมีช่อเดี่ยวหรือมีประมาณ 2-5 ช่อ แต่ละช่อมีประมาณ 3-4 ดอก มีก้านช่อดอกยาวทรงกลม ขนาดเล็ก ประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ส่วนกลีบดอกมีสีขาว ตรงกลางมีเกสรตัวผู้ขนาดสั้น

ผล และเมล็ด
        ผลมีขนาดเล็ก มีลักษณะกลมแบน ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดแข็ง มีสีเขียวหรือม่วงน้ำตาล

 

ชนิดบัวบกในไทย
บัวบกไทย
        บัวบกไทยมีลักษณะเด่น คือ ไหลหรือลำต้นเลื้อยตามผิวดินหรืออยู่ด้านล่างผิวดินเล็กน้อย ไหลมีขนาดใหญ่ ข้อปล้องของไหลห่าง ทำให้ก้านใบค่อนข้างห่างกัน แต่ก้านใบยาว แผ่นใบมีขนาดใหญ่ หนา สีเขียวเข้ม

บัวบกศรีลังกา
        บัวบกศรีลังกา มีลักษณะเด่น คือ ไหลเลื้อยตามผิวดินหรือลงหน้าผิวดินเล็กน้อยเช่นกัน ต่อข้องปล้องถี่ ไหลมีขนาดเล็ก ทำให้ก้านใบอยู่ชิดกัน แต่ก้านใบสั้น อยู่ใกล้หน้าผิวดิน ส่วนใบมีขนาดเล็ก สีเขียวสดหรือเขียวอมเหลือง

 

ประโยชน์บัวบก
-รับประทานสดคู่กับอาหารต่างๆ อาทิ ลาบ ซุบหน่อไม้ ก๋วยเตี๋ยว และผัดไทย เป็นต้น
-ใบบัวบกล้างน้ำให้สะอาด ก่อนใช้ปั่นผสมกับน้ำตาลดื่ม หรือนำไปต้มน้ำดื่ม หรือที่เรียกว่า น้ำใบบัวบก
-ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารคาว ช่วยในกระปรับปรุงรส และช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อ คาวปลา
-น้ำต้มเคี่ยวจากใบบัวบกใช้เป็นส่วนผสมสำหรับทำเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ สบู่ ครีมอาบน้ำ แซมพูสระผม
-สารสกัดจากใบบัวบกใช้เป็นส่วนผสมของครีมทาผิว มีส่วนช่วยลดเม็ดสีเมลานินในเซลล์ผิว ทำให้ผิวขาวขึ้น
-ใช้เป็นส่วนผสมหรือทำยาสมุนไพรขนานปัจจุบัน ได้แก่
        1.ยาครีมใบบัวบก ลดอาการฟกซ้ำ ที่มีสารสกัดของใบบัวบกประมาณร้อยละ 7
        2.ยาใช้ภายนอก สำหรับสมานแผล และรักษาแผล
        3.ยาชงใบบัวบกสำหรับดื่ม และยาแคปซูลสำหรับรับประทาน ใช้แก้ไข้ แก้ร้อนใน และแก้อาหารฟกช้ำ
-น้ำต้มจากใบบัวบกใช้ชโลมผมหรือผสมกับแซมพูสำหรับสระผม ช่วยลดอาการผมร่วง ทำให้ผมดกดำ และชะลอการหงอกของเส้นผม

 

คุณค่าทางโภชนาการใบบัวบก (ใบสด 100 กรัม)

• Proximates
น้ำ กรัม 86
พลังงาน กิโลแคลอรี่ 54
โปรตีน กรัม 1.8
ไขมัน กรัม 0.9
คาร์โบไฮเดรต กรัม 9.6
ใยอาหาร กรัม 2.6
เถ้า กรัม 1.7
• Minerals
แคลเซียม มิลลิกรัม 146
ฟอสฟอรัส มิลลิกรัม 30
เหล็ก มิลลิกรัม 3.9
• Vitamins
วิตามิน C มิลลิกรัม 15
ไทอะมีน มิลลิกรัม 0.24
ไรโบฟลาวิน มิลลิกรัม 0.09
ไนอะซีน มิลลิกรัม 0.8
เบต้า แคโรทีน ไมโครกรัม 2,428
วิตามิน A, RE ไมโครกรัม 405

 

ส่วนประกอบของแร่ธาตุในใบบัวบก

แร่ธาตุ รูปสารที่พบ
ไนโตรเจน No3¯NH4¯
ออกซิเจน O2, H2O
คาร์บอน CO2
ไฮโดรเจน H2O
โพแทสเซียม K+
แคลเซียม Ca2+
แมกนีเซียม Mg2+
ฟอสฟอรัส H2PO4¯
ซัลเฟอร์ SO4 2-
คลอไรด์ Cl¯
กรดบอริก H3BO3
แมงกานีส Mn2+
สังกะสี Zn2+
ทองแดง Cu¯
โมลิบดินัม Mo O4 2-
นิเกิล Ni2+

 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสำคัญในบัวบก

สารที่พบ สรรพคุณ
• Asiaticoside 1. ช่วยป้องกันเซลล์ประสาท แต่ก็เป็นพิษต่อเซลล์ประสาทเช่นกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ asiaticoside และระยะเวลาที่เซลล์สัมผัส
2. เสริมสร้างความจำ ในภาวะเสื่อมของสติปัญญาบางรูปแบบที่ได้จากคุณสมบัติ Asiaticoside เป็นสารต้าน oxidation
3. เร่งการสมานแผล
4. ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะของหนูขาว
• Asiatic acid และ Derivatives 1. รักษาโรคสมองเสื่อม เพิ่มการเรียนรู้ และปกป้องเซลล์ประสาทจาก oxidative damage ที่เกิดจาก glutamate
2. มีคุณสมบัติที่อาจใช้รักษาโรคมะเร็งผิวหนังได้ โดยพบว่า asiatic acid ทำให้ความสามารถในการอยู่รอดของเซลล์มะเร็งผิวหนังของคนลดลง
• Pectin มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาใบบัวบก
1. ฤทธิ์ในการสมานบาดแผล
สารสกัดจากบัวบก ซึ่งมีสารสำคัญในการออกฤทธิ์ ได้แก่
-อะเซียติโคไซด์
-อะเซียติก แอซิด
-มาเดคาสโซไซด์
-มาเดคาสซิก แอซิด

เมื่อใช้สารสกัดจากบัวบกทาที่บาดแผลในหนูขาว พบว่า แผลบนร่างกายของหนูขาวมีการเจริญเติบโตของผิวหนังบนแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น

 

2. ฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย
น้ำต้มจากใบบัวบกสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองในแผลได้หลายชนิด ได้แก่
-Staphylococcus aureus
-Pseudomonas aeruginosa
-Bacillus subtilis

แต่น้ำต้มใบบัวบกไม่มีผลต่อเชื้อ Escherichia coli นอกจากนั้น ยังพบว่า สารออกซีอะเซียติโคไซด์ (Oxyasiaticoside) ในใบบัวบกสามารถต้านการเติบโตของเชื้อวัณโรคได้

 

3. ฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา
สารสกัดจากบัวบก สามารถต้านการเติบโตของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลากได้ ได้แก่
-Trichophyton mentagrophytes
-Trichophyton rubrum

 

4. ฤทธิ์ในการยับยั้งเซลมะเร็ง
        การทดสอบน้ำสกัดจากใบบัวบกต่อเซลล์มะเร็ง พบว่า น้ำสกัดของใบบัวบกสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ รวมถึงยับยั้งเซลมะเร็งชนิด CA-9KB ได้อีกด้วย

        การทดลองนำสารสกัดใบบัวบกให้แก่หนูขาวที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลังจากที่ได้รับน้ำสกัดจากใบบัวบก พบว่า เซลล์มะเร็งในหนูขาวมีขนาดเล็กลง และเมื่อนำน้ำสหกัดที่ได้ไปทดลงองกับเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง พบว่า น้ำสกัดใบบัวบกสามารถทำลายเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

 

5.ฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์
        การใช้สารสกัดจากใบบัวบกกับเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตไว คือ SVK-14 keratinocytes ในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดจากใบบัวบกออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ได้ ดังนั้น หากนำสารสกัดจากใบบัวบกมาประยุกต์ใช้กับการแบ่งเซลล์บริเวณเกิดโรคน่าจะได้ผล โดยเฉพาะการใช้ต้านการลุกลามของโรคสะเก็ดเงิน

 

6. ฤทธิ์ในการลดการอักเสบ
สาระสำคัญในใบบัวบกที่ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดี ได้แก่
-asiaticoside
-madecassic acid
-madecassosid
-asiatic acid
จากการใช้สารสกัดในกลุ่มดังกล่าวป้อนให้แก่หนูขาวที่มีแผลในกระเพาะอาหาร พบว่า สารสกัดสามารถสามารถลดอาการอักเสบของแผลในกระเพาะอาหารได้

 

7. ฤทธิ์ต่อระบบประสาท
        สารสกัดบัวบกด้วยแอลกอฮอล์เข้มข้น 95% นำไปฉีดเข้าช่องท้องหนูขาว พบว่า สารสกัดออกฤทธิ์เป็นยาระงับประสาทได้ โดยมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ บราโมไซด์ (brahmoside) ที่ออกฤทธิ์คล้ายกับคลอโพรมาซีน (Chlorpromazine) และเมโพรบาเมท (meprobamate)

 

8. ฤทธิ์แก้ปวด
        สารที่ออกฤทธิ์กล่อมประสาทในใบบัวบก คือ triterpenoids แต่สารส่วนใหญ่ที่สกัดได้จากแอลกอฮอล์สามารถออกฤทธิ์กดประสาทอย่างอ่อนได้ ส่วนสารสกัดจากเอทานอลเข้มข้น และมีปริมาณที่เพียงพอจะสามารถออกฤทธิ์ระงับอาการปวดในหนูขาวได้

 

9. ฤทธิ์ต้านฮีสตามีน
สารสกัดใบบัวบกที่ใช้แอลกอฮอล์ผสมน้ำ 1:1 ทำการสกัด เมื่อนำไปใช้กับคนที่มีอาการแพ้จากแมลงกัดต่อย พบว่า สารสกัดที่ได้สามารถบรรเทาอาการแพ้ได้ รวมถึงช่วยระงับอาการปวด และอักเสบของแผลได้ดี

 

10. ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์
        การฉีดสารสกัดจากใบบัวบกให้แก่หนูถีบจักรผ่านทางผิวหนัง ปริมาณ 0.2 ซีซี พบว่า การฝังตัวของตัวอ่อนในหนูขาวถูกการยับยั้ง นอกจากนั้น ยังพบว่า สารสกัดจะออกฤทธิ์ลดอัตราการปฏิสนธิของหนูถีบจักรได้ แต่ทั้งนี้ เมื่อนำสารซาโปนินที่สกัดได้จากใบบัวบกใส่ในเชื้ออสุจิหนูถีบจักร พบว่า ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆของอสุจิ

 

11. ฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อเรียบ
        สารสกัดใบบัวบกที่ใช้แอลกอฮอล์ผสมน้ำ 1:1 ทำการสกัด เมื่อให้แก่หนูตะเภา พบว่า สารสกัดที่ได้ออกฤทธิ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในลำไส้ได้ นอกจากนี้ ยังพบว่า มีสามารถออกฤทธิ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ในกระต่าย และกล้ามเนื้อมดลูกในหนูขาวได้เช่นกัน

 

12. ฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต
การฉีดสารสกัดจากใบบัวบกเข้าที่หลอดเลือดดำให้แก่หนูขาวที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ และน้ำในอัตราส่วน 1:1 พบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถลดความดันเลือดของหนูขาวได้

 

13. ฤทธิ์ในการลดไข้
สารสกัดจากใบบัวบกที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์เข้มข้น 95% เมื่อทดลองฉีดเข้าที่ช่องท้องของหนูขาวที่กำลังเป็นไข้ พบว่า หนูขาวมีอาการเป็นไข้ลดลง จากอุณหภูมิที่ลดลงได้ 1.2 ºF

 

14. ฤทธิ์ในการฆ่าแมลง
        สารสกัดจากใบบัวบกที่ใช้ปิโตรเลียมอีเทอร์เป็นตัวสกัด เมื่อนำไปใช้กับตัวอ่อนของแมลง Pierisrapae cruciflora พบว่า สารสกัดทำให้ตัวอ่อนของแมลงดังกล่าวตายได้ ส่วนสารสกัดจากบัวบกที่ใช้น้ำร้อนเป็นตัวสกัด เมื่อนำไปใช้กับแมลงสาบพันธุ์อเมริกัน Periflaneta americana พบว่า สารสกัดทำให้แมลงสาบดังกล่าวตายได้เช่นกัน

 

15. ฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
        เมื่อนำสารสกัดจากผลแห้งบัวบกให้คนไข้ทั้งเพศชาย และหญิงรับประทาน พบว่า สารสกัดสามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหารให้หายเป็นปกติได้ ทั้งนี้ การรักษาแผลในกระเพาะจะได้ผลดีขึ้น หากใช้สารสกัดจากผลแห้งบัวบกร่วมกับยาลดกรด และยาซีเมตาดีน (Cimetadine) ที่ช่วยลดปริมาณการหลั่งกรดได้โดยตรง

        การป้อนสารสกัดจากทั้งต้นของบัวบก ขนาดเข้มข้น 0.05, 0.1 และ 0.25 กรัม/กิโลกรัม และสารสกัด asiaticoside ขนาดเข้มข้น 1, 5 และ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้แก่หนูขาวที่ใช้กรดอะซีติกทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร พบว่า สารสกัดออกฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารให้หายได้เป็นอย่างดี โดยช่วยลดขนาดของแผล ช่วยกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดขนาดเล็กในเนื้อเยื่อ รวมถึงช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์ที่แผลได้

        นอกจากนี้ ลำต้น และใบบัวบกยังพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ เช่น ฤทธิ์กระตุ้นการสร้างภูมิต้านทาน ฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจ เป็นต้น 

 

สรรพคุณใบบัวบก
ใบ และลำต้น (ใช้รับประทานหรือต้มดื่ม)
– ช่วยรักษาอาการช้ำใน บรรเทาอาการตกเลือดในช่องท้อง และเลือดคั่งในเนื้อเยื่อ
– บรรเทาอาการปวดศีรษะ และเป็นไข้
– แก้อาการมึนศีรษะ
– ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง
– ช่วยรักษาอาการร่างกายอ่อนเพลีย ร่างกายเมื่อยล้า
– บรรเทาอาการปวดตามข้อ ตามกล้ามเนื้อ
– แก้อาการท้องผูก กระตุ้นระบบขับถ่าย
– แก้อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย
– ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
– แก้โรคซาง แก้โรคดีซ่านในเด็ก
– ช่วยบำรุงตับ และไต แก้โรคตับอักเสบ
– ช่วยบำรุงสายตา แก้ตาพร่ามัว
– ช่วยบำรุงประสาท บำรุงสมอง และกระตุ้นความจำ
– ช่วยให้ผ่อนคลาย จิตในสงบ ไม่ว้าวุ่น
– รักษาโรคอาการทางประสาท
– รักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
– เป็นยาขับโลหิตเสีย
– ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน
– แก้กระหายน้ำ บรรเทาอาการไอ อาการเจ็บคอ
– แก้อาการเจ็บคอ รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
– รักษาอาการหืดหอบ แก้โรคลมชัก
– ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน
– รักษาโรคปากเปื่อย
– ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะเล็ด
– แก้โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
– ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
– แก้โรคบิด โรคอาหารเป็นพิษ
– รักษาโรคริดสีดวงทวาร
– แก้อุจจาระเรื้อรัง แก้อุจจาระเป็นเลือด
– ช่วยขับระดู กระตุ้นประจำเดือนให้มาปกติ และแก้อาการปวดประจำเดือน
– รักษาฝี ช่วยให้ฝียุบ
– รักษาโรคฝีดาษ โรคเรื้อน โรคอหิวาต์ โรคซิฟิลิส โรครูมาตอยด์ และวัณโรค

ใบ และลำต้น (บด ขยำ หรือต้มน้ำสำหรับใช้ภายนอก)
– รักษาโรคผิวหนังอักเสบ
– ช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย ช่วยลดอาการบวม และปวดจากแผลถูกต่อย
– ใช้เป็นยาช่วยห้ามเลือด
– ช่วยรักษาตาปลา
– รักษาโรคผิวหนังอักเสบ
– แก้โรคหัด ช่วยรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โรคเรื้อน
– ช่วยรักษาบาดแผล แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเปื่อย และแผลสด

เมล็ด
– ช่วยลดไข้ แก้อาการปวดศีรษะ
– ใช้แก้โรคบิด

 

ความเป็นพิษของบัวบก
1. การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดจากใบบัวบกที่ทดลองฉีดให้แก่หนูถีบจักรที่ความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว กิโลกรัม พบว่า ไม่เกิดความเป็นพิษต่อหนูถีบจักรแต่อย่างใด
2. การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ พบว่า สารไตรเทอร์ปีนที่พบในใบบัวบกสามารถออกฤทธิ์เป็นพิษต่อต่อเซลล์ไฟบรอบลาท (Fibroblast) ในคนได้
3. พิษต่อระบบสืบพันธุ์ พบว่า น้ำคั้นหรือสารสกัดจากใบบัวบกมีผลต่อการคุมกำเนิดเมื่อทดลองกับหนูถีบจักร เพราะมีการยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อนในหนู
4. อาการแพ้ พบว่า หากใช้สารสกัดใบบัวบกที่สกัดด้วยอีเทอร์ (Ether) นำมาทดสอบกับผิวหนังของหนูตะเภา พบว่า ผิวหนังของหนูเกิดอาการแพ้ได้ แต่เมื่อทดสอบกับมนุษย์ พบว่า หากทดสอบในรูปผงแห้งจะสามารถก่อให้เกดอาหารแพ้ได้เช่นกัน แต่อาการที่เกิดขึ้นไม่มีความรุนแรงแต่อย่างใด 

 

การขยายพันธุ์ และการปลูกบัวบก
        บัวบกสามารถปลูกขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดหรือนำไหลใต้ดินมาปักชำ แต่วิธีที่นิยม คือ ขุดนำไหลที่มีใบติดมาชำปลูกตามจุดที่ต้องการ สามารถเริ่มเก็บใบได้ หลังปลูกแล้วประมาณ 60-90 วัน

        เนื่องจาก บัวบกเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในพื้นที่ชื้นแฉะ ต้นจะเหี่ยวตายเร็ว หากดินแห้ง ดังนั้น บริเวณปลูกบัวบกควรชื้นหรือมีแหล่งน้ำที่สามารถให้น้ำได้ตลอดเวลา

 

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมชมค่ะ

ขอให้ทุกท่านโชคดี

ใบบัวบกใบบัวบกใบบัวบก

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://puechkaset.com/บัวบก/
https://www.dnp.go.th/botany/mindexdictdetail.aspx?runno=3748
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
lovely art's profile


โพสท์โดย: lovely art
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เปิดบ้านซุปตาร์ "ลิซ่า BLACKPINK" ที่เกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 200 ล้าน..ฉลองวันเกิดครบ 27 ปี"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์""บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขังรวบแล้ว 1 มือวางเพลิงป่วนใต้
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อ่านนิยายไร้สาระจริงหรือ"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์""บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขัง9 โรงเรียนหญิงล้วนที่น่าสนใจในประเทศไทย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
แม่น้ำที่อันตรายที่สุดในโลก“กางเกงท้องถิ่นไทย” คุณประโยชน์ด้าน Sustainable Fashionปัญหาใหญ่ที่สุดในลาวตอนนี้ ที่อาจจะไม่สามารถเเก้ไขได้disgusting: น่าขยะแขยง น่ารังเกียจ
ตั้งกระทู้ใหม่