หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

129 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร

129 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร

129 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร

129 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร

129 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร

129 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร

129 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร

129 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร

หากกล่าวถึงศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้คนในแวดวงศิลปะและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรจะรู้จักเป็นอย่างดี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถือว่าเป็นบรมครูด้านงานศิลปกรรมร่วมสมัยของประเทศไทย และมีความสำคัญกับกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นอย่างยิ่ง แต่หลายท่านอาจจะสงสัยว่าท่านเป็นใคร และมีความสำคัญต่อวงการศิลปะไทยอย่างไร

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ตรงกับวันที่ 15 กันยายน เราจะมาทำความรู้จักกับบุคคลสำคัญท่านนี้

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประติมากรชาวอิตาลีสู่ข้าราชการในสยาม

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรจี (Corrado Feroci) เป็นชาวอิตาลี เกิดที่ตำบลซันตโยวันนี เมืองฟลอเรนซ์ สาธารณรัฐอิตาลี เมื่อวันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2435

ในพุทธศักราช 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงมีพระราชประสงค์หาบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านศิลปะตะวันตกเข้ามารับราชการ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับคัดเลือกเข้ามารับราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อกรมศิลปากรมีการยุบย้ายสังกัดจึงได้มีการเปลี่ยนสังกัดตามลำดับ เช่น ดำรงตำแหน่งช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ตำแหน่งช่างปั้น สังกัดกองประณีตศิลปกรรม กรมศิลปากร กระทรวงธรรมการ ตามลำดับ

คณบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร

เมื่อพุทธศักราช 2481 กรมศิลปากร จัดตั้งโรงเรียนศิลปากร สังกัดกระทรวงธรรมการ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากองโรงเรียนศิลปากร ท่านได้เขียนหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ที่สนใจงานศิลปะ ต่อมาจอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เห็นความสำคัญของงานศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ จึงมีคำสั่งให้พระยาอนุมานราชธน อธิบดีกรมศิลปากร ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และตราพระราชบัญญัติยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อพุทธศักราช 2486 โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นอาจารย์สอนและดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงเป็นจุดเริ่มต้นการเรียนการสอนด้านศิลปะในระดับปริญญาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


ผลงานที่ตราตรึงในแผ่นดินไทย

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้อุทิศแรงกายและแรงใจเพื่อสร้างผลงานศิลปะแก่ประเทศไทยและตั้งใจถ่ายทอดความรู้แก่ลูกศิษย์ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พุทธศักราช 2505 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่อนิจกรรมที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว

แม้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จะจากไปเป็นเวลา 59 ปีแล้ว แต่ผลงานด้านศิลปะชิ้นสำคัญของท่านก็ยังคงตราตรึงอยู่จนถึงปัจจุบัน ดังสุภาษิตที่อาจารย์นำมาสอนลูกศิษย์ว่า “Ars Longa Vita Brevis”“ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ฝากผลงานด้านศิลปะโดยเฉพาะงานประติมากรรมสำคัญไว้มากมาย เช่น พระบรมรูปของบุคคลสำคัญ และอนุสาวรีย์สำคัญทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เช่น พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ สวนลุมพินี รูปปั้นทหาร ตำรวจ และพลเรือน ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ณ วงเวียนใหญ่ พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหารราช ณ ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล (องค์ต้นแบบ) จังหวัดนครปฐม เป็นต้น

นอกจากผลงานด้านประติมากรรมแล้ว ท่านได้เขียนหนังสือและบทความทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาด้านศิลปะ เช่น Modern Art in Thailand, Thai Buddhist sculpture, Contemporary Art in Thailand, ศิลปสงเคราะห์ ทฤษฎีแห่งองค์ประกอบศิลป์ คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนัง ภาพจิตรกรรมไทย อะไรคือศิลป์ รวมทั้งมีงานวิจัยร่วมกับลูกศิษย์ เช่น นายเฟื้อ หริพิทักษ์ และนายเขียน ยิ้มศิริ เรื่อง การวิจัยจิตรกรรมฝาผนังของสกุลช่างนนทบุรี เขียนบทความ เรื่อง Contemporary Arts in Thailand เป็นต้น นอกจากนี้ได้นำงานศิลปะไทยไปจัดแสดงที่ต่างประเทศ เช่น การแสดงงานศิลปะที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นตัวแทนศิลปินไทยไปประชุมศิลปินระหว่างประเทศที่สาธารณรัฐอิตาลีและสาธารณรัฐออสเตรีย นอกจากนั้น ท่านยังดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ เช่น ประธานคณะกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ของสมาคมศิลปะระหว่างประเทศ (International Association of Arts) สาธารณรัฐฝรั่งเศส ถือได้ว่าเป็นศิลปินไทยคนแรกที่ได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนผลงานด้านศิลปะกับศิลปินชาวต่างชาติ

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงถือว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญด้านศิลปะในประเทศไทย นอกจากเป็นผู้สร้างผลงาน ยังเป็นผู้ผลักดันทำให้เกิดสถาบันการเรียนการสอนศิลปะในระดับอุดมศึกษา สามารถสร้างบุคลากรด้านศิลปะที่เป็นกำลังสำคัญของชาติไว้มากมาย จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและเป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร” อย่างแท้จริง

วันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ลูกศิษย์ของอาจารย์และผู้คนในแวดวงศิลปะ ได้น้อมรำลึกถึงอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงได้กำหนดให้ วันที่ 15 กันยายน เป็นวันศิลป์ พีระศรี ซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดงานรำลึกเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่มีต่อประเทศไทยและมหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้เรียบเรียง: นางสาวพนิดา วงศ์บุญ นักจดหมายเหตุชำนาญการ คณะทำงานด้านการจัดการองค์ความรู้ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
------------------------------
เอกสารอ้างอิง:

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารบันทึกจดหมายเหตุเหตุการณ์สำคัญ ค/3/39 บันทึกความทรงจำเรื่อง 100 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ ศธ 0701.45/1 เรื่อง การสร้างพระบรมรูปพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2478 – 2497)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ (3) สร 0201.63/8 เรื่อง ภาพถ่ายพระพุทธปฏิมากรที่จะประดิษฐาน ณ บริเวณพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (4 มี.ค. – 23 พ.ค. 2499)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงมหาดไทย มท 0201.6/78 เรื่อง หนังสือหมู่ความหมายของอนุสสาวรีย์ประชาธิปไตย (พ.ศ. 2483)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ ศธ 0701.7.3.1.4/2 เรื่อง สร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์และสมโภชพระนครครบร้อยห้าสิบปี (2470 – 2485)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ ศธ 0701.7.3.1.4/6 เรื่อง จะให้นายซีเฟโร จี ควบคุมพระบรมรูปไปหล่อที่ประเทศอิตาลี (2473 – 2476)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ (4) ศธ 2.3.6.9/1 เรื่อง การก่อสร้างอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สวนลุมพินี (29 ส.ค. 2474 – 27 ก.ค. 2485)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ (4) ศธ 2.3.6.9/4 เรื่อง การสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (5 เม.ย. 2484 – 11 มิ.ย. 2492)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารบันทึกจดหมายเหตุเหตุการณ์สำคัญ ป/3/29 การวิจัยงานจิตรกรรมฝาผนังของสกุลช่างนนทบุรี.

สำนักวิจัยศิลป์ พีระศรี. อาจารย์ศิลป์กับลูกศิษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โฟดัจ อิมเมจ, 2551.

ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 57 วันที่ 24 มิถุนายน 2483 หน้า 870 – 876 เรื่อง รายงานการสร้างอนุสสาวรีย์ “ประชาธิปไตย”

กรมศิลปากร .จดหมายเหตุการสร้างพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, 2525.

ภาพ:

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ภ 003 หวญ 71/19 (63) อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพถ่ายทางอากาศชุด Williams Hunt ภ WH 2/3 อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพแยกจากเอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี ภจ (3) สร 0201/48 พระพุทธปฏิมากร ประดิษฐานบริเวณพุทธมณฑล

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รวบรวมจากแหล่งอื่น ๆ ภ สจช (อ)/64 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ฉ/จ/3196 (5788) ปฐมบรมราชานุสรณ์ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ฉ/ท/541 อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ควบคุมการอัญเชิญพระบรมรูปพระเจ้าตากสิน ประดิษฐานบนพระแท่นอนุสาวรีย์ ณ วงเวียนใหญ่

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ฉ/ท/544 นายศิลป์ พีระศรี อาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร และนายพิมาน มูลประมุข เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ดูการติดตั้งพระบรมรูป ด้านหน้าอนุสาวรีย์ ณ บริเวณวงเวียนใหญ่

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ฉ/ท/727 (1806) พระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี

#องค์ความรู้จากจดหมายเหตุ

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/1821855414743033/posts/2887146328213931/
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
มารคัส's profile


โพสท์โดย: มารคัส
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: เป็ดปักกิ่ง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นักข่าวปาเลสไตน์โพสต์รูป ทหารอิสราเอลถือธงชาติไทยนักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้JKN ขาดทุน 2,157 ล้านบาท ครั้งแรกในรอบ 10 ปี ธุรกิจคอนเทนต์แผ่วยลโฉมความงดงามของนครวัดก๊อปเกรดเอจากฝีมือจีน อลังการไม่แพ้นครวัดของกัมพูชา!กุนขแมร์โวย! หลัง ‘เสี่ยโบ้ท‘ โพสแจ้งยกเลิกการแข่งขันทั้งหมดกับเขมรกลางดึกวาระแห่งชาติ! เขมรร้อนรนเร่งหาชื่อใหม่แทน สงกรานต์ หลัง UNESCO รับรองสงกรานต์ไทยสาวพิการเพราะใช้ไดร์เป่าผม"ไททศมิตร" โดนโพสต์แซะว่าเป็นวงกากๆ..จ๋ายเตรียมดำเนินคดี เหตุคนโพสต์ไม่สำนึกสตรีมเมอร์ผิวสีสุดห้าว ทำคอนเทนต์เตะเก้าอี้ที่พัทยา
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
นักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้วาระแห่งชาติ! เขมรร้อนรนเร่งหาชื่อใหม่แทน สงกรานต์ หลัง UNESCO รับรองสงกรานต์ไทยJKN ขาดทุน 2,157 ล้านบาท ครั้งแรกในรอบ 10 ปี ธุรกิจคอนเทนต์แผ่วยลโฉมความงดงามของนครวัดก๊อปเกรดเอจากฝีมือจีน อลังการไม่แพ้นครวัดของกัมพูชา!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
suddenly: ทันใดนั้น4 วิธีเก็บพริกสด ให้ใช้ได้นาน สดใหม่อยู่เสมอมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เปิดสอนมานานกว่า 100 ปีภาพวาดที่ถูกขายในราคาแพงที่สุด ในขณะที่คนวาดยังคงมีชีวิตอยู่
ตั้งกระทู้ใหม่