ทำความรู้จักกับ "การกู้ร่วม" การกู้ที่ธนาคารปล่อยกู้ได้ง่ายกว่า
เพื่อน ๆ คงทราบดีอยู่แล้วใช่ไหมครับว่าการมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลัง ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ด้วยราคาที่สูง และรายได้ของเราเองที่ไม่มากพอ ทำให้การปล่อยกู้ไม่ได้รับการอนุมัติ บ้านบ้าน จึงมีอีกตัวช่วยที่จะทำให้การอนุมัติสินเชื่อบ้านมีความเป็นไปได้มากขึ้น นั่นก็คื " การกู้ร่วมซื้อบ้าน " นั่นเอง
มาดูข้อดีของการกู้ร่วมกันก่อน
- ช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติวงเงินกู้บ้าน
- เพิ่มความสามารถในการชำระหนี้
- การกู้ร่วมนั้นอาจใช้ได้เฉพาะบางกรณี แต่ส่วนใหญ่จะต้องขึ้นอยู่ที่เงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงินกำหนด
- อาจได้วงเงินเพิ่มมากขึ้น แทนการยื่นกู้ซื้อคอนโดและบ้านเพียงคนเดียว
แล้วข้อเสียของการกู้ร่วมมีไหม ?
- หากต้องเป็นผู้รับภาระคนเดียวทั้งหมด หรือความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้าน ซึ่งผู้กู้ร่วมอาจจะขอเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย เพราะมีส่วนร่วมในภาระหนี้ก้อนนี้ด้วย
- หากผู้กู้หลักอยากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงคนเดียวก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้เอง
- หากเกิดเป็นกรณีที่มีการตกลงเรื่องกู้ร่วม และตกลงชื่อว่าจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของทั้งสองฝ่ายตั้งแต่ต้น แต่พอถึงเวลาจริงๆ อีกฝ่ายกลับไม่ยอมช่วยชำระ ซึ่งทำให้ผู้กู้หลักต้องหาเงินมาจ่ายเองทั้งหมดด้วยการแบกภาระหนี้ของการผ่อน แต่ชื่อในกรรมสิทธิ์กลับเป็นสองคน ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาทะเลาะกันอย่างแน่นอน
สิ่งที่ควรรู้ก่อนกู้ร่วม
-
ผู้ร่วมกู้จะต้องเป็นบุคคลที่มีสายเลือดเดียวกัน เช่น พ่อแม่ พี่น้อง ญาติหรือคู่สมรส หากเป็นพี่น้องกันแต่คนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมได้ แต่ต้องมีหลักฐานมาแสดงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคารแต่ละแห่งด้วย
-
ผู้กู้ร่วมต้องมีฐานรายได้ไม่ต่ำกว่าที่กำหนด โดยส่วนใหญ่ที่กำหนดไว้ไม่ควรต่ำกว่า 15,000 บาท ต่อเดือน ไม่ควรมีหนี้สินมากเกินไปและไม่มีประวัติผิดนัดชำระหนี้
-
ผู้กู้ร่วมจะกลายเป็นลูกหนี้ร่วมด้วย ซึ่งการผ่อนจ่ายก็ตามแต่จะตกลงกันเอง ในบางกรณีอาจเป็นเพียงผู้กู้ในนาม แต่ผู้กู้หลักก็ต้องชำระหนี้ให้หมดภายในเวลาที่กำหนด
-
หากมีการผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารสามารถที่จะเรียกชำระหนี้คืนจากผู้กู้คนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดได้ หรือในกรณีที่มีคนใดคนหนึ่งไม่มีความสามารถในการผ่อน ผู้กู้อีกคนก็จะต้องรับผิดชอบภาระหนี้ที่เหลือให้หมด
-
การถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ผู้กู้ต้องตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้ถือ หรือจะถือร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่จะยกกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่น เช่น พ่อแม่ส่งให้ลูก สามีส่งให้ภรรยา หรือพี่ส่งให้น้องก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องระบุเอาไว้ในฟอร์มการขอสินเชื่อตั้งแต่ทำสัญญาว่าหากชำระหนี้ครบแล้วจะให้ใครเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
ข้อแนะนำ : เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการกู้ร่วม
กรรมสิทธิ์ในบ้านเป็นของ ?
สำหรับการอนุมัติสินเชื่อบ้านของการกู้ร่วม ส่วนใหญ่จะพิจารณารายได้ของทุกคน และทำการหักภาระค่าใช้จ่ายของทุกคน แล้วมาดูว่ามีความสามารถที่จะสามารถผ่อนได้ต่อเดือนเท่าไรแล้วจึงจะทำการพิจารณาวงเงินสินเชื่อกู้บ้าน การกู้ร่วมโดยใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคนเพื่อให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วส่วนใหญ่ผู้กู้จะเลือกแบบที่สอง เพราะผู้กู้ทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในบ้านร่วมกัน แต่การถือกรรมสิทธิ์ร่วม มักจะต้องมีเรื่องที่คำนึงก็คือ หากต้องการขายบ้านหรือ อสังหาฯ ที่ร่วมกันกู้นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยินยอมจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมทุกคนแม้กระทั่งหากต้องการยกกรรมสิทธิ์ในบ้านให้เป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่อยู่ในชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ซึ่งทางกรมที่ดินจะถือว่า มีการซื้อขายบ้านหรืออสังหาริมทรัยพ์เกิดขึ้น ทำให้มีค่าธรรมเนียมต่างๆ อย่างการเสียค่าธรรมเนียมการโอน ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รวมถึงค่าอากรแสตมป์ หรือแบบที่เป็นภาษีธุรกิจเฉพาะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ถึงยังไงการกู้ร่วมก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางออกที่น่าสนใจ แต่ก็ยังมีจุดที่ต้องพิจารณาและศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างรอบคอบ และต้องวางแผนกับผู้กู้ร่วมและพูดคุยให้เข้าใจตรงกัน เพื่อป้องกันการเสียผลประโยชน์ในอนาคตนะครับ
ติดตามข่าวสารอัปเดตอสังหาฯเพิ่มเติม ได้ที่ : https://baanbaan.co/






