ภาษาไทย
การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning)
การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นการนำความรู้พื้นฐานซึ่งอาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฎ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อน และยอมรับว่าเป็นความจริงเพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป เป็นการอ้างเหตุผลที่มีข้อสรุปตามเนื้อหาสาระที่อยู่ภายในขอบเขตของข้ออ้างที่กำหนด
ตัวอย่างที่ 1 เหตุ 1.สัตว์เลี้ยงทุกตัวเป็นสัตว์ไม่ดุร้าย
- แมวทุกตัวเป็นสัตว์เลี้ยง
ผล แมวทุกตัวเป็นสัตว์ไม่ดุร้าย
ตัวอย่างที่ 2 เหตุ 1. นักเรียน ม.4ทุกคนแต่งกายถูกระเบียบ
- สมชายเป็นนักเรียนชั้น ม.4
ผล สมชายแต่งกายถูกระเบียบ
ตัวอย่างที่ 3 เหตุ 1.วันที่มีฝนตกทั้งวันจะมีท้องฟ้ามืดครึ้มทุกวัน
- วันนี้ท้องฟ้ามืดครึ้ม
ผล วันนี้ฝนตกทั้งวัน
จากตัวอย่างจะเห็นว่าการยอมรับความรู้พื้นฐานหรือความจริงบางอย่างก่อน แล้วหาสิ่งข้อสรุปจากสิ่งที่ยอมรับแล้วนั้น จะเรียกว่าผล การสรุปผลจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ
เป็นการสรุปได้อย่างสมเหตุสมผล
ตัวอย่างที่ 4 เหตุ 1. เรือทุกลำลอยน้ำได้
- ถังน้ำลอยน้ำได้
ผล ถังน้ำเป็นเรือ
การสรุปผลข้างต้นไม่สมเหตุสมผล แม้ว่าข้ออ้างหรือเหตุทั้งสองจะเป็น แต่การที่เราทราบว่าเรือทุกลำลอยน้ำได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นๆที่ลอยน้ำได้จะเป็นเรือเสมอไป
ข้อสรุปข้างต้นเป็นการสรุปที่ไม่สมเหตุสมผล
หลักเกณฑ์และวิธีการอ้างเหตุผลแบบนิรนัย เรียกว่า ตรรกศาสตร์นิรนัย ซึ่งสิ่งที่สำคัญในการให้เหตุผลแบบนิรนัย คือ ตรรกบท (Syllogism)
ตรรกบทหนึ่ง ๆจะประกอบด้วยข้อความ 3 ข้อความ โดยที่ 2 ข้อความแรกเป็นข้อตั้ง และอีกข้อความหนึ่งเป็นข้อยุติ
ตรรกบท 1 ตรรกบท คือ การอ้างเหตุผลที่ประกอบด้วยพจน์ 3 พจน์ โดยมีพจน์ 2 พจน์ที่มีความสัมพันธ์กับพจน์ที่3 ในรูปของภาคประธาน หรือภาคแสดงต่อกันด้วย
เช่น เหตุ 1.สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นสัตว์เลือดอุ่น
2.สุนัขเลี้ยงลูกด้วยนม
ผล สุนัขเป็นสัตว์เลือดอุ่น
ในการให้เหตุผลแบบนิรนัย รวมถึงจากตัวอย่าง จะเห็นว่า การยอมรับความรู้พื้นฐาน
หรือความจริงบางอย่างก่อน แล้วหาข้อสรุปจากสิ่งที่ยอมรับ ซึ่งจะเรียกว่า ผล การสรุปผลจะ
สรุปได้ถูกต้องก็ต่อเมื่อเป็นการสรุปได้อย่าง สมเหตุสมผล(Valid)
เช่น เหตุ 1. หมูอวกาศทุกตัวบินได้
- โน๊ตบินได้
ผล โน๊ตเป็นหมูอวกาศ
การสรุปในข้อนี้ไม่สมเหตุสมผล (Invalid) แม้ว่าข้ออ้างทั้งสองจะเป็นจริง แต่การที่เราทราบว่า หมูอวกาศบินได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นที่บินได้ต้องเป็นหมูอวกาศเสมอไป
ข้อสรุปดังกล่าวจึงไม่สมเหตุสมผล
สรุป การให้เหตุผลแบบนิรนัย ผลหรือข้อสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ ยอมรับเหตุเป็นจริงทุกข้อ และการสรุปสมเหตุสมผล
การตรวจสอบข้อความว่าสมเหตุสมผลนั้น สามารถทำได้หลายวิธี ในที่นี้ จะนำเสนออยู่ 2 วิธี คือ การใช้แผนภาพเวนน์ – ออยเลอร์ในการตรวจสอบ
และการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างข้อความตรวจสอบ...
แนวคิด!!!
การให้เหตุผลแบบนิรนัย
- อาศัยหลักฐานจากความรู้เดิม
- เริ่มต้นจากข้ออ้างซึ่งมีลักษณะทั่วไป (Universal) ไปสู่ข้อสรุปซึ่ง มีลักษณะเฉพาะ (particular)
- ความน่าเชื่อถือของข้อสรุปอยู่ในขั้นความแน่นอน (Certainty)
- ไม่ให้ความรู้ใหม่










