หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เมืองเก่าภูเก็ตเป็นมรดกวัฒนธรรมที่มีชีวิต (Living Heritage) ที่คุณค่าสูง และเป็นสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในบริบทชุมชนเมือง (Urban Heritage)

 

เมืองเก่าภูเก็ตเป็นมรดกวัฒนธรรมที่มีชีวิต (Living Heritage) ที่คุณค่าสูง และเป็นสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในบริบทชุมชนเมือง...

โพสต์โดย Parinya Chukaew เมื่อ วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2021

 

เมืองเก่าภูเก็ตเป็นมรดกวัฒนธรรมที่มีชีวิต (Living Heritage) ที่คุณค่าสูง และเป็นสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในบริบทชุมชนเมือง (Urban Heritage) ที่เป็นหลักฐานแสดงถึงความรุ่งเรืองจากการค้าขายและการทำเหมืองแร่ดีบุก รวมทั้งเป็นประจักษ์พยานของการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนหลากหลายวัฒนธรรมที่เดินทางมาจากโลกตะวันออกและโลกตะวันตกผ่านเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) ย่านเมืองเก่าภูเก็ตจึงเป็นผลอันเกิดขึ้นจากกระบวนการทางวัฒนธรรมผ่านช่วงเวลาที่ยาวนานจนทำให้เมืองเก่าภูเก็ตมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเมืองเก่าภูเก็ตยังผ่านกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องร่วมกับเมืองท่าอื่น ๆ ในบริเวณช่องแคบมาละกาอีกด้วย

ปัจจุบันเมืองเก่าภูเก็ตกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกวัน จนมีผลกระทบต่อมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงควรมีแนวทางการบริหารจัดการเมืองเก่าภูเก็ตที่เหมาะสม รองรับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ และสอดคล้องกับศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ โดยที่การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่เกิดขึ้นจะไม่สร้างผลกระทบต่อเมืองเก่าภูเก็ตและมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า

1. แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าภูเก็ต

1.1 การสงวนและการรักษาคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ต :: เพื่อสงวนคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมของเมืองเก่าภูเก็ตตามที่ได้แถลงไว้ในถ้อยคำแสดงคุณค่าและความสำคัญ (Statement of Significance) และดำรงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ต

1.2 การฟื้นฟูและการป้องกันภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ต : เพื่อฟื้นฟูความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่เป็นหลักฐานสำคัญในการบ่งชี้ถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของเมืองเก่าภูเก็ต คุ้มครองภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเก่าภูเก็ต และป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ต

1.3 การยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมืองเก่าภูเก็ตสู่เมืองอัจฉริยะ : เพื่อยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและชุมชนเมืองเก่าภูเก็ตสู่เมืองอัจฉริยะ

1.4 การส่งเสริมขีดความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ต : เพื่อสร้างและส่งเสริมขีดความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลง (Capacity Building and Development) ของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมในการอนุรักษ์และการพัฒนาพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ต

1.5 การบริหารและการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองเก่าภูเก็ตแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ : เพื่อทำให้การบริหารและการจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแบบบูรณาการภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมเป็นไปอย่างเป็นระบบโดยมีพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ตเป็นตัวตั้ง ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมเต็มรูปแบบ กลไกประชารัฐและมีมาตรฐานทางจริยธรรม โดยมีความต่อเนื่องตามทิศทางและแนวทางของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

2. แผนงานแม่บท

2.1 แผนงานแม่บทด้านการสงวนและการรักษาคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ต : คุณค่าความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรม ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานอย่างลงตัวของวัฒนธรรมตะวันออกและวัฒนธรรมตะวันตกจนกลายเป็นมรดกที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน จำเป็นต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองด้วยเทคนิคและวิธีการที่เหมาะสม

2.2 แผนงานแม่บทการฟื้นฟูและการป้องกันภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ต : ภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมเมืองเก่าภูเก็ตมีความเชื่อมโยงอันแบ่งแยกมิได้กับสภาพภูมิศาสตร์โดยรอบ ทั้งภูเขา แหล่งน้ำ และชายฝั่งทะเล เนื่องด้วยสัมพันธ์ทั้งด้านคติความเชื่อ ด้านการใช้งานพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ และด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงฟื้นฟู และปกป้องคุ้มครองผลกระทบจากการพัฒนาเมือง โดยต้องคำนึงถึงวิธีการที่เหมาะสมและเอื้อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีเป็นไปตามหลักวิชาการ

2.3 แผนงานแม่บทการยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมืองเก่าภูเก็ตสู่เมืองอัจฉริยะ : คุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และคุณภาพชีวิตของคนและชุมชนเมืองเก่าภูเก็ตสามารถยกระดับขึ้นได้ด้วยการนำแนวคิดเมืองอัจฉริยะมาปรับใช้

2.4 แผนงานแม่บทการส่งเสริมขีดความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ต : ปัจจุบันเมืองเก่าภูเก็ตได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกวัน จนมีผลกระทบต่อมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การบริหารจัดการเมืองเก่าเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและรองรับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องกำหนดขนาดเขตเมืองเก่าและพื้นที่ต่อเนื่องให้ชัดเจน และสอดคล้องกับศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ อันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่เกิดขึ้น ไม่สร้างผลกระทบต่อเมืองเก่าและมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า

2.5 แผนงานแม่บทการบริหารและการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองเก่าภูเก็ตแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ : เนื่องจากการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าภูเก็ตในอนาคตจะมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาหลายด้านตามยุทธศาสตร์ชาติ ดังนั้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าภูเก็ตโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมทั้งในระดับการมีส่วนร่วม ขั้นตอนการมีส่วนร่วม และหลักความครอบคลุมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงมีความสำคัญ

3. แนวทางและมาตรการส่งเสริม

3.1 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตทั้งหมดควรมีความเห็นร่วมกันว่า

3.1.1 เมืองเก่าภูเก็ตเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญต่อผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต แม้ว่าผู้คนเหล่านี้จะมาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

3.1.2 เมืองเก่าภูเก็ตเป็นพื้นที่สากลที่บุคคลและชุมชนจะได้นำเสนออัตลักษณ์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่อประชาคมโลก

3.1.3 การอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตเป็นกลไกในการรักษาสมดุลระหว่างการบริโภคและการผลิตตามแนวทางสากลของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

3.1.4 แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมเอกภาพบนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Uniqueness on Cultural Diversity) เพื่อจะนำไปสู่ความเข้าใจถึงความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์และเสรีภาพในที่สุด

3.2 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตทั้งหมดควรมีความรู้และความเข้าใจในแนวคิดสากลของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เป็นปัจจุบัน รวมทั้งสาระและแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

3.3 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตทั้งหมดจะต้องตระหนักกึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติผ่านทางวัฒนธรรมจนเกิดเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape) และภูมิสังคม (Socio-geography) ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เป็นลักษณะสำคัญของคุณค่าของเมืองเก่าภูเก็ต

3.4 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตทั้งหมดควรมีความรู้และความเข้าใจในการบริหารการพัฒนาประเทศแบบบูรณาการทั้งเชิงภารกิจ เชิงพื้นที่ และเชิงยุทธศาสตร์ โดยเน้นที่การประสานพลังการทำงานร่วมกันท่ามกลางผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนและหลีกเลี่ยงการแข่งขันซึ่งกันและกัน

3.5 การอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตควรให้น้ำหนักกับความต้องการของคนในที่อยู่ข้างใน คนในที่อยู่ข้างนอก และคนนอกที่อยู่ข้างในเมืองเก่าภูเก็ตตามลำดับ และให้ความสำคัญมากกว่าความต้องการของคนนอกที่อยู่ข้างนอกเมืองเก่าภูเก็ตและนักท่องเที่ยว

3.6 การอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตต้องดำเนินการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนตั้งแต่การริเริ่ม การออกความคิดเห็น การตัดสินใจ การรับผิดชอบ การวางแผน การดำเนินการ การแบ่งปันผลประโยชน์ การตรวจสอบและการติดตามผล การพัฒนาและการปรับปรุงการบริหารการอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ต

3.7 การบริหารการอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตจะต้องเคารพสิทธิทางสิ่งแวดล้อม สิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิชุมชน สิทธิเด็กและเยาวชน ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากสิทธิมนุษยชนได้

3.8 การบริหารการอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตควรดำเนินการทั้ง 5 ระดับ อย่างบูรณาการและเป็นรูปธรรม กล่าวคือ

3.8.1 ระดับสากล ควรสร้างเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในด้านการบริหารการอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตกับเมืองเก่าอื่น ๆ ในระดับสากล โดยเริ่มต้นจากเมืองเก่าบริเวณช่องแคบมาละกา

3.8.2 ระดับประเทศ ควรมีการบริหารการอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตเชิงระนาบ (Cross-sectoral Integration) ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพิ่มเติมจากการบริหารการอนุรักษ์และการพัฒนาแบบบนลงล่าง (Top-down Approach) และแบบล่างขึ้นบน (Bottom-up Approach) ที่ดำเนินการอยู่แล้ว

3.8.3 ระดับกลุ่มจังหวัด ควรใช้กลยุทธ์การทำงานแบบผสานกำลัง (Synergy) เพื่อบูรณาการการบริหารการอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมืองเก่าอื่น ๆ ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

3.8.4 ในระดับจังหวัด ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้คนในชุมชนทั้งในและนอกบริเวณเมืองเก่าภูเก็ตได้มีส่วนร่วมในการบริหารการอนุรักษ์และการพัฒนาเมืองเก่าภูเก็ต โดยภาครัฐจะต้องไม่แทรกแซง ไม่ร่วมกันทำให้ หรือไม่ร่วมกันทำแทนคนในชุมชน

3.8.5 ระดับชุมชน ควรมีการเสริมสร้างและการพัฒนาขีดความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (Capacity Building and Development) ร่วมกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และ สมรรถนะด้านการดำเนินการ การบริหารการอนุรักษ์และการพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ต เพื่อให้คนในชุมชนมีวิธีคิดแบบสากลแต่มีวิถีชีวิตแบบท้องถิ่น (Think Global but Act Local)

3.8.6 ระดับบุคคล ควรยกระดับความมีน้ำใจให้เป็นสำนึกสาธารณะ ผ่านโครงการจิตอาสาเพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคมและคุณภาพชีวิต รวมทั้งเมืองเก่าภูเก็ตเป็นสิ่งดึงดูดใจด้านการและเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญ คนในชุมชนเมืองเก่าภูเก็ตจึงควรต้องมีจิตสำนึกแบบนักท่องเที่ยวในขณะที่เป็นเจ้าบ้าน มีจิตสำนึกแบบคนในชุมชนขณะที่เป็นนักท่องเที่ยว และมีจิตสำนึกแบบคนในชุมชนพร้อมกับจิตสำนึกแบบนักท่องเที่ยวขณะที่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว

4. ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดและข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบในระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดและข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องมีการนำระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดและข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาทบทวนตามกรอบ หลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะประเด็นสิทธิของบุคคลและชุมชน หน้าที่ของรัฐ และแนวนโยบายแห่งรัฐ

นอกจากนั้นหน่วยงานภาครัฐยังต้องนำระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดและข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาทบทวนกับกฎหมายที่มาซึ่งอำนาจของระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดและข้อบัญญัติท้องถิ่น รวมทั้งคำสั่งทางการปกครองและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เนื่องจากมีการออกคำสั่ง และมีกฎหมายที่ได้ตราขึ้นใหม่และปรับปรุงให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจำนวนมาก

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดและข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พุทธศักราช 2562 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2562

ที่มา แผนที่มรดกวัฒนธรรมเมืองเก่าภูเก็ต จัดทำโดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/parinya.chukaew/posts/3694666793986519
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
มารคัส's profile


โพสท์โดย: มารคัส
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: อกหัก มารักกะลิง, PlengDee
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ยลโฉมความงดงามของนครวัดก๊อปเกรดเอจากฝีมือจีน อลังการไม่แพ้นครวัดของกัมพูชา!แม่น้ำที่อันตรายที่สุดในโลกนักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้ปรี๊ดเลย! "ครูไพบูลย์" โดนแซวว่าเล็ก..โต้กลับทันที "ผมเล็กหรือคุณโบ๋" กันแน่โป๊ะแตกอีก! เมื่อเขมรพยายามตัดต่อวิดีโอเพื่อใช้อ้างว่า "สงกรานต์" คือของเขมรแต่โบราณ?"ศรีสุวรรณ" รีเทิร์น ลุยฟ้อง ครม.-มท.1 ใช้อำนาจโดยมิชอบก่อสร้างถนนผ่านสวนเฉลิมพระเกียรติ ขัดต่อกฎหมายความน่ารักสดใส ของปลาคาร์ฟที่แหวกว่ายผ่านท่อระบายน้ำข้างถนนในญี่ปุ่นJKN ขาดทุน 2,157 ล้านบาท ครั้งแรกในรอบ 10 ปี ธุรกิจคอนเทนต์แผ่วเมื่อท่านรมต.ลาว เม้นแซะไทย ลั่น ถึงลาวไม่หลุดพ้นจากประเทศด้อยพัฒนา..แต่ลาวไม่มีขอทานแบบไทย!?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์"เมื่อท่านรมต.ลาว เม้นแซะไทย ลั่น ถึงลาวไม่หลุดพ้นจากประเทศด้อยพัฒนา..แต่ลาวไม่มีขอทานแบบไทย!?"ศรีสุวรรณ" รีเทิร์น ลุยฟ้อง ครม.-มท.1 ใช้อำนาจโดยมิชอบก่อสร้างถนนผ่านสวนเฉลิมพระเกียรติ ขัดต่อกฎหมาย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
"ศรีสุวรรณ" รีเทิร์น ลุยฟ้อง ครม.-มท.1 ใช้อำนาจโดยมิชอบก่อสร้างถนนผ่านสวนเฉลิมพระเกียรติ ขัดต่อกฎหมายสลดหนุ่มติดตั้งเครื่องปั้มน้ำเชือกขาดพลัดตกบ่อดับ 2ไร่แม่ฟ้าหลวง เปิดหอคำน้อยโชว์ภาพเขียนอายุกว่า 120 ปีโจรใต้ลอบยิงทหารพรานหญิง
ตั้งกระทู้ใหม่