2475: ประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้เล่า "ทุบวัง ปล้นคลังหลวง"
ในช่วงเวลาที่ประเทศว่างเว้นจากการมีพระมหากษัตริย์ทรงประทับอยู่ รัฐบาลคณะราษฎรก็ได้แต่งตั้งคนของตัวเองเข้าไปเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รวมถึงเป็นคณะกรรมการจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทำให้มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการที่จัดการกับทรัพย์สิน ครั้นมีผู้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลคณะราษฎรในสภาเกี่ยวกับการขายที่ดินของพระมหากษัตริย์ สิ่งที่ได้รับภายหลังกลับเป็นจดหมายขู่ฆ่า และการโดนจับโยนบ่อน้ำ ส่วนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ ภายหลังถูกนำมาเร่ขายให้คนกันเองในราคาถูก บ้างก็ถูกยึดเป็นที่ทำงานของรัฐบาล บางวังก็ถูกทุบทำลายเพื่อทำเป็นสนามกีฬา ซึ่งภายหลังถูกตั้งชื่อตามบุคคลของคณะราษฎรที่เสนอให้ทุบวังนั่นเอง
ข้อมูลอ้างอิง
การเมืองจังหวัดอุบลราชธานี- นักการเมืองดี "ศรีอุบล" โดย แคนไทเมือง
ชีวประวัติ เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ
ชำแหละสมบัติ “ขุนนิรันดรชัย” ในวันที่ทายาทสำนึกผิดแทน “พ่อ” โดย ผู้จัดการสุดสัปดาห์
เบื้องแรกประชาธิปตัย ๒ โดย สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย
ประวัติศาสตร์นอกตำราสยามรัฐตามทรรศนะโลกตะวันตก โดย ไกรฤกษ์ นานา
ยุคทมิฬ บันทึกนักโทษฝ่ายกบฏบวรเดช โดย พายัพ โรจนวิภาต
เลียง ไชยกาล: เจ้าของกระทู้ล้มรัฐบาล โดย นรนิติ เศรษฐบุตร
เดลินิวส์ฉบับที่ 24,228
เหตุการณ์สำคัญใน วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 โดย ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
78 ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองธรรมศาสตร์ผ่านจดหมายเหตุ
เว็บไซต์ สถาบันพระปกเกล้า
เว็บไซต์ สยามานุสสติ
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
#ปฏิวัติ2475 #คณะราษฎร #ประชาธิปไตย #อภิวัฒน์สยาม














