ร้านค้าโอด.. คนละครึ่ง ไม่ครอบคลุมร้านค้าในรูปแบบนิติบุคคล
ร้านค้าโอด.. คนละครึ่ง ไม่ครอบคลุมร้านค้าในรูปแบบนิติบุคคล วอนรัฐปลดล้อคเงื่อนไข เปิดกว้าง SMEs ไทยที่จ่ายภาษี ที่มีสัดส่วน 43% ของจีดีพี และเป็นแหล่งจ้างงานหลัก รักษาชีวิตธุรกิจทุกขนาด ให้ได้รับอานิสงค์นโยบายช่วยเหลือจากรัฐ
หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เริ่มบรรเทาลง ส่งผลให้ภาคธุรกิจบางสาขาเริ่มส่งสัญญาณกลับมาฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ดี ยังมีผู้ประกอบการอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) รวมทั้งผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอ โดยสาเหตุสำคัญมาจากสถาบันการเงินยังไม่มั่นใจการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากมองว่าผู้ประกอบการดังกล่าวยังมีความเสี่ยงในการชำระหนี้คืน และ ทีผ่านมารัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีโครงการที่ได้ผล เช่นโครงการ คนละครึ่งซึ่ง ถือเป็นโครงของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อช่วยผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนทั่วไปซึ่งรัฐจะช่วยจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไปให้ 50% เมื่อซื้อสินค้าจากร้านที่เข้าร่วม จำกัดไม่เกิน 150 บาทต่อวัน และรวมวงเงินสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน จำนวน 10 ล้านคนตลอดระยะเวลาโครงการ แต่ได้มีการกำหนดว่า ร้านค้าที่เข้าร่วมต้องไม่เป็นนิติบุคคล ทั้งที่บริษัทนิติบุคคลคือบริษัทที่จ่ายภาษีให้กับรัฐ และ กำลังตกอยู่ในภาวะลำบากเช่นเดียวกัน ซึ่งหากรัฐขยายการช่วยเหลือให้ครอบครอบคลุม ก็จะเป็นการหมุนเวียนเงินหลายรอบ และ กลับมาสู่ภาครัฐในรูปแบบของภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีนิติบุคคลกลับมาสู่ภาครัฐ ทำให้สามารถหมุนเงินช่วยเหลือได้อีกหลายรอบ
ร้านค้าในห้างเช่น บิ๊กซี โลตัส ซีเจ เซ็นทรัล ล้วนเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ที่มักจดทะเบียนบริษัทในรูปแบบนิติบุคคล แต่ปัจจุบันผลกระทบจากโควิด ทำให้สูญเสียรายได้จำนวนมาก และ พิษโควิด-19 ทุบร้านค้าสายป่านสั้น "อาหาร-กาแฟ-เบเกอรี่-แฟชั่น" ตัดใจปิดสาขาไม่ทำเงินในห้าง รักษาสภาพคล่อง โอดต้นทุนสูง ยอดขายไม่ดีดกลับ รายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย ขาดสภาพคล่องหนัก จ่อปิดเพิ่มรอสัญญาหมด เพราะนโยบายช่วยเหลือภาครัฐไม่ครอบคลุม ช่วยเหลือเพียงร้านค้าที่ไม่จดทะเบียนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเงื่อนไข หากร้านค้าในรูปแบบของเฟรนไชน์ เช่น เซเว่น แฟมิลี่มาร์ท ท๊อปส์ ที่มีเจ้าของเป็นเอสเอ็มอี ก็ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ทั้งที่เจ้าของร้านในรูปแบบเฟรนไชน์ ก็เป็นเอสเอ็มอี ทำลำบากเช่นเดียวกัน ต่างกันเพียงที่ผ่านมาจ่ายภาษีครบถ้วน แต่เมื่อยามเดือนร้อนจากโควิด ทำไมรัฐจึงเลือกช่วยเพียงบางกลุ่มเท่านั้น
ผู้ประกอบการที่อยู่ในห้าง กล่าวว่า ด้วยข้อจำกัดด้านความปลอดภัย และทำให้จำนวนที่นั่งในร้านหายไป 50-60% บางสาขากำหนดความจุไว้ 20-30 ที่นั่ง ค่าเช่าพื้นที่สูง กำลังซื้อที่ลดลง ลูกค้าน้อยลง ฯลฯ ทำให้บริษัทต้องหันมาเน้นการบริหารการจัดมากขึ้น สาขาไหนไม่ทำกำไร เปิดแล้วขาดทุน ก็ต้องปิด ดังนั้น นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ควรเปิดกว้างให้ร้านค้าทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ เพื่อรักษาธุรกิจทุกระดับให้อยู่รอด อย่างไรก็ตาม ก็ชื่นชมรัฐบาลที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ต้องครอบคลุมให้มากขึ้น
ทั้งนี้โครงการเยียวยา และ กระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐในปัจจุบันประกอบด้วย
คนละครึ่ง :
- ได้รับเงินเยียวยาผ่านทางแอพพลิเคชั่น "เป๋าตัง"
- ใช้ซื้อ "สินค้า" อาหารและเครื่องดื่ม
- ใช้กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ผ่านแอพฯ ถุงเงินของร้านค้า เช่น หาบเร่ แผงลอย ร้านธงฟ้า ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านขายสินค้าทั่วไป และกิจการ OTOP ฯลฯ
- รัฐสนับสนุนไม่เกินวันละ 150 บาท หากใช้ไม่หมดรัฐทบให้
เราชนะ :
- ได้รับเงินเยียวยาผ่านทางแอพพลิเคชั่น "เป๋าตัง"
- ใช้ซื้อ "สินค้า และ บริการ"
- ใช้กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งและเราชนะ ร้านธงฟ้า ผ่านแอพฯ ถุงเงินของร้านค้า ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ร้านค้าคนละครึ่ง ร้านค้าเราชนะ รถเมล์ ขสมก. รถไฟฟ้า
- จะได้รับเงินเป็นรายสัปดาห์ สามารถทบได้ในสัปดาห์ต่อๆ ไป แยกเป็น
1) กลุ่มบัตรคนจน ได้รับ 675-700 บาทต่อสัปดาห์ ได้รับทุกวันศุกร์
2) กลุ่มคนละครึ่งและเราเที่ยวด้วยกัน สัปดาห์ละ 1,000 บาท ได้รับทุกวันพฤหัสบดี
3) กลุ่มที่ไม่เคยได้รับมาตรการอะไร รับสัปดาห์ละ 1,000 บาท ได้รับทุกวันพฤหัสบดี
ร้านค้าในรูปแบบนิติบุคคลก็จะอยู่ไม่ได้แล้วเหมือนกัน











