ใจแข็งหน่อย! หุ่นจำลองกายวิภาคในศตวรรษที่ 18 ที่สวยงามและน่าหลงใหล
ใจแข็งหน่อย! หุ่นจำลองกายวิภาคในศตวรรษที่ 18 ที่สวยงามและน่าหลงใหล
หากพูดถึง กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน
โดยอารยธรรมแรกที่มีการศึกษาด้านกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ก็คือ อารยธรรมอียิปต์โบราณ จากการค้นพบบันทึกในกระดาษปาปิรุส (papyrus) ที่มีการกล่าวถึงอวัยวะภายในของมนุษย์ อาทิ หัวใจ หลอดเลือด ตับ ไต ม้าม มดลูก และกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
เช่นเดียวกันกับการศึกษากายวิภาคในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งจะมีการศึกษาจากหุ่นจำลองกายวิภาค โดยส่วนใหญ่จะเป็นหุ่นขี้ผึ้งของผู้หญิง ซึ่งจะมีการเปิดหน้าท้องทำให้เห็น อวัยวะภายใน และลำไส้ ที่ทะลักออกมา
แต่อย่างไรก็ตาม ความงามที่แปลกประหลาดเหล่านี้เรียกว่า “Anatomical Venuses” ถูกสร้างขึ้นโดยประติมากร Clemente Susini ในปลายศตวรรษที่18 เนื่องจากรู้สึกว่าเป็นวิธีการสอนกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ โดยไม่จำเป็นต้องผ่าร่างของมนุษย์จริงๆ ซึ่งหุ่นขี้ผึ้งที่ดูสมจริงเหมือนจริงของ Susini ซึ่งมักประดับด้วยขนจริงของมนุษย์นั้นมีความแม่นยำทั้งทางกายวิภาคและศิลปะอย่างลึกซึ้ง
โดยได้รับคำชมจากแพทย์และนักประวัติศาสตร์ศิลปะจากทั่วทุกมุม ระหว่างอาชีพที่โด่งดังของเขาในฐานะช่างแกะสลักหุ่นขี้ผึ้งทางการแพทย์ ซึ่งประกอบไปด้วยหลายทศวรรษ Clemente Susini สร้างและดูแลการผลิตมากกว่า 2,000 แบบ
ทั้งนี้ “Anatomical Venuses” ถูกสร้างขึ้นระหว่างปี 1780 และ 1782 และยังสามารถพบได้ที่พิพิธภัณฑ์สัตววิทยาและประวัติศาสตร์ธรรมชาติ หรือที่รู้จักกันดีในนาม La Specola ในฟลอเรนซ์ประเทศอิตาลี ส่วนแบบอื่น ๆ ที่เรียกว่า "Slashed Beauties" หรือ "Dissected Graces" ยังแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์การแพทย์ต่างๆทั่วยุโรป