หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สะพานกู้กรุงศรี

โพสท์โดย Conan Notkill

        หลังจากกรุงแตกไปเมื่อปี 2310 กรุงศรีอยุธยาก็ตกเป็นสภาพเมืองร้างมาอย่างยาวนานเกือบ 200 ปี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 ก็ได้พยายามที่จะ “บูรณะ” กรุงเก่าเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะหัวแรงสําคัญคือ พระยาโบราณราชธานินทร์ ได้สำรวจกรุงเก่าโดยละเอียด และบูรณะวัดสำคัญ ๆ ไว้หลายแห่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะพลิกฟื้นกรุงเก่าให้กลับมามีชีวิตขึ้นอีกครั้ง

        กรุงศรีอยุธยาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีสภาพเป็นเมืองร้าง ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงอาศัยอยู่ตามลำน้ำรอบเกาะเมือง การอยู่อาศัย การค้าขาย และการคมนาคม ยังคงยึดลําน้ำเป็นหลัก ภาพภายในกำแพงเมืองจึงรกร้าง เปลี่ยว เต็มไปด้วยสัตว์ป่าและโจรผู้ร้าย การพลิกฟื้นอดีตของกรุงเก่าครั้งสําคัญนี้ เกิดขึ้นโดยนายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะเป็นชาวอยุธยาโดยกำเนิด ซึ่งแนวความคิดที่ว่า ต้องย้ายคนจากลำน้ำเข้าสู่เกาะเมืองให้ได้ เริ่มต้นด้วยการออกพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และที่วัดร้างภายในกำแพงเมืองปี 2481 ซึ่งแต่เดิม รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สงวนที่ดินในเกาะเมืองไว้ห้ามมิให้ผู้ใดเข้ามาถือครอง มาเป็นของกระทรวงการคลัง

        โดยในขณะนั้น นายปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการอยู่ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม แล้วขายที่ดินให้กับราษฎร เพื่อจูงใจให้เข้ามาตั้งบ้านเรือนในเกาะเมือง งานทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพราะสอดคล้องกับการรณรงค์เรื่องวัฒนธรรมของชาติอยู่พอดีและตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา การปรับปรุงพัฒนาบ้านเมืองมักมี “ถนน” เป็นตัวแปรสำคัญ ตลาดบกเริ่มมาแทนที่ตลาดน้ำ ในเกาะเมืองกรุงเก่าก็เช่นกัน มีการสร้างถนนเพิ่มขึ้น ติดตามมาด้วยหัวใจสำคัญของแผนคืนชีวิตให้กับกรุงศรีอยุธยาก็คือ สะพานปรีดี-ธำรง ถือเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนกรุงเก่า จากที่เคยเดินทางขนส่งสินค้าทางเรือจากจังหวัดต่าง ๆ มาสู่การใช้ถนน ซึ่งสะดวกรวดเร็วกว่า

        นอกจากนี้ยังมีการสร้างถนนเชื่อมต่อกับถนนพหลโยธิน ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ โดยตรง รวมถึงการสร้างศาลากลางจังหวัดให้อยู่กึ่งกลางของเกาะเมือง ตรงดิ่งจากตัวสะพาน การจัดสร้างสาธารณูปโภค และอาคารพาณิชย์ให้เช่า แทบจะเรียกได้ว่าเป็นเมืองสำเร็จรูปในยุคนั้นทีเดียว ประชาชนจึงค่อย ๆ ขยับขยายเข้าสู่ภายในเกาะเมืองมากขึ้น

        การก่อสร้างสะพานปรีดี-ธำรง เริ่มในปี 2483 เสร็จในปี 2486 และตั้งชื่อตามชาวอยุธยาในคณะรัฐมนตรี 2 ท่าน คือ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และหลวงธํารงนาวาสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

        หากพิจารณาจากจุดที่สร้างสะพานคือบริเวณวัดพิชัยสงคราม ก็เป็นจุดเดียวกับที่พระเจ้ากรุงธนบุรีรวบรวมไพร่พลตีฝ่าวงล้อมพม่าก่อนปักหลักที่บ้านโพธิ์สามหาว จะเป็นความบังเอิญหรือความตั้งใจก็แล้วแต่ ที่สำคัญจุดนี้คือจุดเริ่มต้นในการกู้กรุงศรีอยุธยา และประสบความสำเร็จทุกครั้ง

 

ที่มา: นิตยสารสะพานปรีดี-ธำรง แผนกู้กรุงศรีอยุธยาของปรีดี พนมยงค์

โพสท์โดย: Conan Notkill
อ้างอิงจาก: นิตยสารสะพานปรีดี-ธำรง แผนกู้กรุงศรีอยุธยาของปรีดี พนมยงค์
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Conan Notkill's profile


โพสท์โดย: Conan Notkill
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: Conan Notkill
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
การพบงูทะเลยักษ์ ในปี 2391รู้ยังค่าเทอม "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ค่าธรรมเนียมการศึกษา ปี 2567เมื่อสาวเจอความทรงจำที่หายไป..มาอยู่ที่ใต้สะพานลอยสำนักงานพุทธฯ สั่งตรวจสอบ พ่อแม่ "น้องไนซ์" เชื่อมจิต
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เมื่อสาวเจอความทรงจำที่หายไป..มาอยู่ที่ใต้สะพานลอยเอาอีกแล้ว! เขมรก็อปปี้หนังไทย เรื่องเด็กหญิงวัลลี ยอดกตัญญู?รู้ยังค่าเทอม "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ค่าธรรมเนียมการศึกษา ปี 2567สรุปดราม่า "กุสุมา สันป่าเหียง"
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
”ดอนเมือง“ ถูกยก สนามบินดีที่สุดในโลกอันดับ 10 ของสายการบินต้นทุนต่ำวิธีกินคอลลาเจนให้ได้ผลดีที่สุดเรื่องใกล้ตัวที่สาวๆไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด!!หลวงพ่อทองคำ พระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ตั้งกระทู้ใหม่