หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ฟื้นฟูเมืองปัตตานี กระตุ้นการใช้พื้นที่สาธารณะ และสร้างความรู้สึกปลอดภัย

เนื้อหาโดย มารคัส

 

          ประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเต็มไปด้วยความซับซ้อนและสุดละเอียดอ่อน ท่ามกลางความพยายามแก้ปัญหาตั้งแต่ระดับการเมือง นโยบาย การทหาร ไปจนถึงกฎหมายที่ต่างมี พัฒนาการการจัดการปัญหาในหลากหลายระดับที่ต่างให้ผลหลากหลายออกไป ส่วนวิธีที่ อ๋อง-วชิรกร อาษาสุจริต นิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คนรุ่นใหม่ที่เป็นชาวปัตตานีโดยกำเนิดสนใจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหานี้คือกลไกทางผังเมือง เพื่อการบรรเทาและรับมือกับสถานการณ์ทั้งความเป็นอยู่โดยทั่วไป และเหตุการณ์ใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ภายใต้โจทย์ที่เขาตั้งขึ้นมาว่า “เราจะออกแบบทางกายภาพอย่างไรให้คนอยู่ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ได้ในบรรยากาศที่ดีขึ้น” 

     

         คำว่าบรรยากาศที่ดีขึ้นของอ๋องนั้นหมายถึงการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างคลายกังวล หลังจากที่อ๋องสังเกตพบตัวเองระมัดระวังการใช้ชีวิตเป็นพิเศษ ในระยะแรกของการมาอยู่ที่กรุงเทพ เขาจะรีบกลับที่พักภายในเวลาหกโมงเย็นและพยายามใช้เส้นทางกลับบ้านแตกต่างกันในแต่ละวัน ซึ่งเป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่อ๋องเชื่อว่าเป็นผลจากการระมัดระวังตัวเองหลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในบ้านเกิด

 

กลยุทธ์จัดการเมือง

          เพราะปัตตานีไม่ใช่ที่แรกที่มีปัญหาเกี่ยวเนื่องกับความแตกต่างของวัฒนธรรม อ๋องจึงศึกษารูปแบบการจัดการเมืองของที่อื่น ๆ ที่ประชากรมีวัฒนธรรมและความเชื่อที่หลากหลาย อย่างในเมืองเบลฟาสต์ (Belfast) ประเทศไอร์แลนด์เหนือ เมืองเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ประเทศอิสราเอล และเมืองเบรุต (Beirut) ประเทศเลบานอน ซึ่งมี 3 กลยุทธหลักที่ใช้อยู่

          กลยุทธ์เป็นกลาง (Neutral Strategy): พื้นที่กันชน พื้นที่กลางที่ทุกฝ่ายสามารถใช้ได้โดยไม่มีใครได้ สิทธิเหนือใคร

          กลยุทธ์เสมอภาค (Equity Strategy): สร้างเอกลักษณ์ให้แต่ละพื้นที่เพื่อให้คนในชุมชนรู้สึกถึงความ เป็นเจ้าของที่นั้นๆ

          กลยุทธ์พวกพ้อง (Partisan Strategy): สร้างคุณค่าและความหมายใหม่ให้กับพื้นที่หรือสร้างสัญลักษณ์ บางอย่างให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งรู้สึกมีอำนาจ

 

 

มองปัตตานี

          ปัตตานีคือจังหวัดติดทะเลที่มีอาชีพดั้งเดิมเป็นการประมงที่มีความหลากหลายทั้งชาวจีน ชาวพุทธ​และชาวมุสลิม ทั้งสามกลุ่มมีวัฒนธรรมของตนเอง ความพยายามทำให้ความหลากหลายกลายเป็นหนึ่งของรัฐ ไทยจึงไม่ใช่เรื่องง่ายและถูกตั้งคำถามอยู่ไม่น้อย

          นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ปัตตานีเกิดความรุนแรงขึ้น แม้ร้ายแรงมากในช่วงแรกๆ แต่ความหวาดกลัว ในการใช้ชีวิตยังฝังอยู่ไม่ไปไหน

          หากศึกษาสถิติและรูปแบบในการเกิดอุบัติเหตุย้อนกลับไปจะพบว่า เหตุการณ์ระเบิดมักเกิดในพื้นที่สาธารณะ ส่วนการก่อการด้วยการยิงมักเกิดในที่เปลี่ยว 

 

 

 

 

          พื้นที่กิจกรรมหลักของเมือง แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ พื้นที่นันทนาการที่ไม่มีคนใช้งานมากนัก พื้นที่ การค้า และพื้นที่อุตสาหกรรม

          กลไกระดับเมืองที่อ๋องเลือกใช้คือกระจายพื้นที่ที่เป็นกลาง (Neutral Space) รอบๆ เมือง และเพิ่มความ เป็น Equity ในแต่ละส่วนผ่านการทำให้เอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อให้แต่ละคนรู้สึกมีที่มีทางและ ต่างเป็นเจ้าของในที่ที่ตนอยู่ นอกจากนี้ยังมีการใช้กลยุทธ์ Partisan เพื่อสร้างจุดร่วมของชุมชนที่มีความแตกต่าง คีย์เวิร์ดสำคัญของอ๋องหลังจากศึกษาสภาพเมืองและเครื่องมือต่างๆ แล้ว จึงคือการสร้างพื้นที่ให้คนออกมาใช้ชีวิต โดยกระจายไปในส่วนต่างๆ ของเมือง 

 

 

 

เจ้าหน้าที่จำนวนมาก

          เมื่อความขัดแย้งเข้ามา การมีเจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่กลายเป็นดาบสองคม สำหรับชาวมุสลิม การที่ต้อง ถูกเจ้าหน้าที่ทหารตรวจค้นอยู่เสมอไม่ใช่เรื่องที่น่าพอใจ อีกทั้งยังรู้สึกราวกับถูกเลือกปฏิบัติ สำหรับคนอื่น ๆ ที่อยู่ในปัตตานี แม้จะรู้สึกปลอดภัยที่มีเจ้าหน้าที่ทางการคุ้มกัน แต่ขณะเดียวกันหากมีเจ้าหน้าที่มากเกินก็ทำให้รู้สึกว่า บริเวณดังกล่าวอาจตกเป็นเป้าได้ง่ายเช่นกัน ข้อมูลนี้สอดคล้องกับการสำรวจ Peace Survey เรื่องความหวาด กลัวพบว่าการอยู่ใกล้เจ้าหน้าที่เป็นหนึ่งในความปลอดภัยลำดับต้นๆ ที่ชาวเมืองสัมผัสได้

          อ๋องจึงเลือกออกแบบเมืองโดยขยับปรับเส้นทางใหม่ให้บริเวณที่เป็นจุดราชการกับถนนที่ผู้คนใช้สัญจร ทั่วไปแยกกัน เพื่อที่การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะจะทำได้ด้วยความสบายใจขึ้น

 

 

เมืองที่เป็นกริด 

          ผู้ลงมือก่อเหตุในปัตตานีโดยมากเป็นบุคคลจากนอกพื้นที่ รูปแบบของเมืองที่เป็นกริด (Grid) มีทางเข้าออกได้หลายทางนั้นไม่ใช่รูปแบบที่เหมาะกับเมือง ที่ต้องการความปลอดภัยและการตรวจตราสูง อ๋องจึงเลือกปรับเส้นทางถนนด้านในให้เป็นลักษณะเดินรถทางเดียว และไม่เป็นเส้นตรง เพื่อที่ทำให้คนในแต่ละชุมชนมองเห็นรถที่ผ่านไปมาได้ง่าย หากเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ก็จะสามารถสังเกตสิ่งต่างๆ ได้สะดวกขึ้น ในขณะเดียวกันอ๋องเชื่อว่าความเป็นชุมชนจะเกิดได้ง่ายขึ้นด้วย 

 

พักผ่อน-สอดส่อง

          ที่ปัตตานีมักมีร้านน้ำชาอยู่บริเวณหัวมุม อ๋องดึงคุณสมบัตินี้เพื่อพัฒนาพื้นที่ในตลาดซึ่งเป็นพื้นที่ neutral โดยอ๋องตั้งใจให้ร้านน้ำชาทำตั้งอยู่บริเวณหัวมุมของชั้น 2-3 เพื่อระหว่างใช้เวลาจิบน้ำชาจะได้มองเห็นเบื้องล่าง จากมุมสูงเป็นการตรวจตราพื้นที่โดยธรรมชาติ (Natural Surveillance) ส่วนพื้นที่ลานด้านล่างของตลาดที่เป็นพื้นที่ขายอาหาร เดิมทีแต่ละร้านจะมีพื้นที่รับประทานอาหารเป็น ของตัวเอง อ๋องเสนอเปลี่ยนเป็นพื้นที่รับประทานรวม เพื่อที่คนจำนวนมากจะได้มองเห็นกันหมดหากมีสิ่งของ ต้องสงสัยวางทิ้งไว้

 

 

ส่งเสริมความเป็นชุมชน

          เพราะแต่ละชุมชนมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เพื่อเสริมความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่และแสดงให้เห็นถึง ความสำคัญของทุกกลุ่มคน อ๋องเสนอการนำองค์ประกอบด้านการออกแบบมาแต่งเสริมเติมแต่งผ่านกลยุทธ์ Equity อย่างเช่น การใช้สีที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อให้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพื้นที่มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ไม่ปิดกั้น คนต่างวัฒนธรรมที่อาจเข้ามาในพื้นที่

 

ความปลอดภัยสร้างได้

          ความรู้สึกปลอดภัย หรือการลดผลกระทบจากอันตรายสามารถสร้างได้ผ่านการออกแบบ เช่น ลักษณะตึกที่เป็นขั้น (Step), ทางเท้าที่กว้างขึ้น รวมไปถึง street furniture บนท้องถนนอย่างเช่น เสาไฟฟ้า เก้าอี้ ที่มีลักษณะโค้งมน ทำให้ลดความรุนแรงจากเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

          อ๋องคิดต่อเนื่องไปถึงอนาคตหากปัญหาสิ้นสุดลง พื้นที่ที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยจะเปลี่ยน ฟังก์ชันเพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้ เช่น ทางเท้าที่กว้างอาจจัดสรรบางส่วนเพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องรื้อใหม่ทั้งหมด เป็นต้น

 

ลานคนเมือง

          เมื่อพื้นที่กลางเมืองเคยสร้างให้มีเพียงสัญลักษณ์รูปแบบเดียวนั่นคือ ศาลหลักเมือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ไม่ใช่ทุกกลุ่มคนในปัตตานีรู้สึกร่วม งานของอ๋องเลือกเปิดพื้นที่เชื่อมต่อให้บริเวณลานมีมุมมองกว้างขึ้นเห็นทั้งมัสยิด และจากที่รั้วรวดหนามเคยเป็นที่กำหนดขอบเขตเมื่อมีกิจกรรมกลางเมืองก็เปลี่ยนเป็นที่กั้นที่เป็นมิตรยิ่งขึ้น

 

 

ส่วนเชื่อมต่อ

          พื้นที่เชื่อมต่อระหว่างชุมชนหนึ่งไปสู่อีกชุมชนหนึ่งซึ่งหลายจุดเป็นคนต่างศาสนิก อ๋องต้องการพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้เป็นสนามเด็กเล่นโดยตั้งใจให้เด็กเป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนต่างชุมชน รวมถึงเปิดพื้นที่กิจกรรมให้วัยรุ่นและคนในชุมชนมาใช้ อย่างน้อยที่สุดอ๋องเชื่อว่าพื้นที่นี้จะทำให้คนต่างชุมชนคุ้นหน้ากันมากยิ่งขึ้น

 

 

พหุวัฒนธรรม

          เมื่อนึกถึงกิจกรรมที่คนต่างวัฒนธรรมทำร่วมกันมาอย่างยาวนานทั้งชาวมุสลิม ชาวพุทธ และชาวจีน กิจกรรมนั้นหนีไม่พ้นการประมง อ๋องจึงคิดใช้กลยุทธ์ Partisan สร้างพิพิธภัณฑ์เรียนรู้เกี่ยวกับการประมงขึ้นมา ให้เข้าใจถึงความเป็นปัตตานีและความเป็นอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรมของคนในพื้นที่

          “ผมมองว่ากลยุทธ์ Urban Design ทั้งหมดจะทำให้เกิดความเข้าใจและช่วยแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้บ้าง ถึงมันอาจจะแก้ที่รากของ ปัญหาไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็ทำให้บรรยากาศหรือความเป็นอยู่ในปัจจุบันดีขึ้น และแยกกันอยู่น้อยลง” อ๋องทิ้งท้าย

 

 

 

 ข่าวจาก http://uddc.net/th/knowledge/ฟื้นฟูเมืองปัตตานี-กระตุ้นการใช้พื้นที่สาธารณะ-และสร้างความรู้สึกปลอดภัย

เนื้อหาโดย: มารคัส
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
มารคัส's profile


โพสท์โดย: มารคัส
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: เยี่ยหัว, NameNickName
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ลูกสาวนางเอกดัง รุ่นใหญ่ โตเป็นสาวแล้วชาวเน็ตฮือฮา! ขายที่ดินพร้อมบ้าน 200 ล้าน ติดวิวสภาสัปปายะสภาสถานทีมเชื่อมจิตจ่อฟ้อง! สื่อปล่อยเฟกนิวส์..ไม่เคยบอกเชื่อมจิตแล้วจะไปนิพพาน"เสก โลโซ" ลั่น! ผมพลาดนิดเดียว..เกือบจะได้เป็นเจ้าสัวแล้วเขมรคือต้นกำเนิด วัฒนธรรมของการกิน 'สุนัข' ?หนุ่มเร่ขาย "ลาบูบู้" กลางสี่แยก..ทำเอาหลายคนแห่ถามพิกัดจากผลการวิจัยพบว่า "เอเลี่ยนไม่ได้ตัวสีเขียว"แผ่นดินไหวทำเศียรพระพุทธเจ้าหักสาวร้องสายไหมต้องรอด คลีนิกทำ "จิ๊มิไหม้" แล้วไม่รับผิดชอบ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชาวเน็ตฮือฮา! ขายที่ดินพร้อมบ้าน 200 ล้าน ติดวิวสภาสัปปายะสภาสถานเขมรคือต้นกำเนิด วัฒนธรรมของการกิน 'สุนัข' ?การกระทำที่คุณไม่สมควรทำเมื่อมาเที่ยวประเทศญี่ปุ่นจากผลการวิจัยพบว่า "เอเลี่ยนไม่ได้ตัวสีเขียว"
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
สลด! พ่อเฒ่าผูกคอตๅย ฝากสื่อตามหาญาติเพื่อนำร่างบำเพ็ญกุศลแผ่นดินไหวทำเศียรพระพุทธเจ้าหักจากผลการวิจัยพบว่า "เอเลี่ยนไม่ได้ตัวสีเขียว"วาฬนับร้อยตัวเกยตื้น ที่หาดออสเตรเลีย
ตั้งกระทู้ใหม่