หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

พรบ.ทรัพย์อิงสิทธิ เป็นยังไง

เนื้อหาโดย doctorsopon

            พระราชบัญญัติ ทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ที่ลงในราชกิจจานุเบกษา 30 เมษายน 2562 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

คำจำกัดความ

“ทรัพย์อิงสิทธิ” หมายความว่า ทรัพย์สินที่อิงจากสิทธิการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ตามที่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

“อสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่มี โฉนดที่ดิน และห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินและพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

เหตุผลในการประกาศใช้
            โดยที่การเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีลักษณะเป็นสิทธิตามสัญญาที่ใช้บังคับระหว่างบุคคลที่เป็นคู่สัญญาโดยเฉพาะ ซึ่งมีข้อจำกัดบางประการในการนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ส่วนการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมมีขอบเขตการบังคับใช้ที่จำกัด ทำให้ ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวในหลายกรณี สมควรกำหนดให้มีทรัพย์อิงสิทธิเป็นสิทธิการใช้ ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งสามารถโอนและตราเป็นประกันการชำระหนี้โดยการจำนองได้ อันจะส่งเสริม และสนับสนุนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

สาระสำคัญ

1. ทรัพย์อิงสิทธิใช้กับโฉนดที่ดินหรือหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (ม.4)

2. ทรัพย์อิงสิทธิมีกำหนดเวลาได้ไม่เกินสามสิบปี (ม.4)

3. การก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิเฉพาะบางส่วนในอสังหาริมทรัพย์ตามโฉนดที่ดินหรือหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดจะกระทำมิได้ (ม.4)

4. การก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่มีการจำนอง. . . ให้กระทำได้เมื่อได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับจำนองหรือผู้รับหลักประกัน (ม.4)

5. เมื่อได้รับคำขอก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิในโฉนดที่ดินหรือหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด พร้อมทั้งออกหนังสือ รับรองทรัพย์อิงสิทธิ (ม.5)

6. ทรัพย์อิงสิทธิจะแบ่งแยกมิได้ (ม.8)

7. เมื่อมีการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ใด เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ จะก่อตั้งทรัพยสิทธิใด ๆ ในอสังหาริมทรัพย์นั้นมิได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก ผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิ (ม.9)

8. ผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดในอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อตั้ง ทรัพย์อิงสิทธิเสมือนหนึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยมิชอบ ด้วยกฎหมาย ให้ยังคงเป็นสิทธิของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์โดยผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิต้องแจ้งเหตุดังกล่าว ให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ทราบโดยพลัน (ม.11)

9. ให้กรรมสิทธิ์ในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่ผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิดัดแปลง ต่อเติม หรือสร้างขึ้นใหม่ในอสังหาริมทรัพย์ ตกเป็นของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เมื่อทรัพย์อิงสิทธิระงับลง เว้นแต่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์และผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิจะตกลงเป็นอย่างอื่น (ม.11)

10. ทรัพย์อิงสิทธิสามารถโอนให้แก่กัน หรือใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ โดยการจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ (ม.12)

11. ทรัพย์อิงสิทธิสามารถตกทอดทางมรดกได้ (ม.12)

12. เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิอาจยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิ ก่อนครบกำหนดเวลาได้ เว้นแต่ในกรณีที่การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธินั้นจะกระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว (ม.14)

13. เมื่อทรัพย์อิงสิทธิระงับลง ให้ผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิส่งมอบอสังหาริมทรัพย์คืนแก่ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลานั้น เว้นแต่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์และผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิ จะตกลงเป็นอย่างอื่น (ม.15)

ข้อสังเกต
            กฎหมายนี้คงอิงเพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติเพราะสามารถให้เช่าช่วงและทำอะไรได้หลายประการ เป็นการเอื้อเพื่อหวังให้มีการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น  แต่ในอันที่จริงกรณีนักลงทุนทั่วไปก็สามารถใช้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อยู่แล้ว ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

มูลค่าของสิทธิการเช่าหรือทรัพย์อิงสิทธินี้ในระยะเวลา 30 ปี ก็คงเป็นราว 30%-60% ของราคาตลาด เช่นในกรณีเกษตรกรรมอาจต่ำเพียง 30% แต่ในกรณีอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชยกรรมในใจกลางเมืองอาจสูงถึง 60% หรือมากกว่านี้

ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0097.PDF)

เนื้อหาโดย: doctorsopon
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
doctorsopon's profile


โพสท์โดย: doctorsopon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: iwootjung, doctorsopon
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อยเกิดเหตุม้วนเหล็กกลิ้งทับคนตายiPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!นกอันตรายที่สุดในโลกสาว "เจี๊ยบ" ทำเนียนเดินรวมกับ นร.ญี่ปุ่น..ทำเอาหนุ่ม "บอย" ถึงกับแยกไม่ออกชาวลาวไม่ทน! หลังหนุ่มจีนโพสทิ้งเงินกีบลงในถังขยะ ทำคนลาวถึงกับไม่พอใจ?"ลาบูบู้" ไม่รอด โดนเขมรเคลมเรียบร้อยแล้ว..บอกรากเหง้ามาจาก "หน้ากาล"เกมพลิก!! เมื่อหนุ่ม ๆ เเอบเเม่ไปหาปลา เกือบโดนด่า เเต่พอเห็นลูกได้ปลาตัวใหญ่กลับบ้าน เสียงเปลี่ยนทันทีเลยนะเเม่เพื่อน "ออกัส" ซัดแหลก..พระเอกดังต่างหาก ถูกข่มขู่ให้กราบเท้า!!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เรื่องมาไม่หยุด เงินหายกว่าครึ่งล้าน เลี้ยงโจรไว้ใกล้ตัว!ลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อย"ลาบูบู้" ไม่รอด โดนเขมรเคลมเรียบร้อยแล้ว..บอกรากเหง้ามาจาก "หน้ากาล"หนังเรื่อง "คนกราบหมา" ได้เข้าฉายหลังจากถูกแบนมา 25 ปี
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
คนไข้วัย 72 ติดเชื้อโควิดนาน 613 วัน ก่อนกลายพันธุ์ในร่างกายกว่า 50 ครั้งชาวเน็ตจีนวิจารณ์หลังสถานีรถไฟใหม่หน้าตาเหมือนโกเต็กลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อยเกิดเหตุม้วนเหล็กกลิ้งทับคนตาย
ตั้งกระทู้ใหม่