หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ญี่ปุ่นชี้ "ชุดนักเรียน" คือสิ่งที่ทำลาย "ความคิดสร้างสรรค์" ของคนไทย ห่วงไปไม่รอดในยุคดิจิตอล

 ‘เครื่องแบบนักเรียน’ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่บ่งบอกความเป็นวัฒนธรรมของประเทศไทย ซึ่งหลายครั้งชุดนักเรียนได้กลายเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาหลายต่อหลายครั้ง

  เมื่อไม่นานมานี้ เว็บไซต์สำนักพิมพ์ชื่อดัง Nikkei Asian Review ในญี่ปุ่น ได้นำเสนอรายงานพิเศษ “Tailor-made uniformity threatens Thai creativity” ที่ผ่านมา ระบุว่า ความเข้มงวดในการสวมใส่ชุดนักเรียน - นึกศึกษาของเยาวชนในสังคมไทยนั้นเป็นอุปสรรคต่อการฝึกฝนทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยกล่าวความพยายามของ ร.ร.กรุงเทพคริสเตียน (Bangkok Christian College) ที่ก่อนหน้านี้เคยมีนโยบายทดลองให้นักเรียนแต่งตัวตามสบายมาเรียนในทุกวันอาคาร แต่แล้วก็ถูกปรามไว้จนต้องยุตินโยบายดังกล่าวไป  เพราะมีหลายๆ ฝ่ายไม่เห็นด้วย

ญี่ปุ่นชี้ "ชุดนักเรียน" คือสิ่งที่ทำลาย "ความคิดสร้างสรรค์" ของคนไทย ห่วงไปไม่รอดในยุคดิจิตอล

    รายงานของสื่อญี่ปุ่นอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ นายชลำ อรรถธรรม (Chalam Attham) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่กังวลว่านโยบายดังกล่าวของ ร.ร.กรุงเทพคริสเตียน อาจขัดต่อระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551 

 

ญี่ปุ่นชี้ "ชุดนักเรียน" คือสิ่งที่ทำลาย "ความคิดสร้างสรรค์" ของคนไทย ห่วงไปไม่รอดในยุคดิจิตอล

    และนั่นทำให้เกิดข้อถกเถียงในสังคมไทย โดยเฉพาะประเด็นประเทศไทยมีโครงสร้างสังคมเป็นแบบกึ่งศักดินา (semi-feudal) ให้ความสำคัญกับเครื่องแบบในฐานะเครื่องบ่งบอกสถานะที่สูงขึ้นมากกว่าบทบาทในหน้าที่การงาน

 

  ไม่ต่างจากผู้คนในอาชีพอื่นๆ ในสังคมไทย ที่ยกเครื่องแบบเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่คณะ ตั้งแต่คนทำงานในโรงงาน พนักงานออฟฟิศ ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ครู เจ้าหน้าที่ของรัฐ ขณะที่ระบบการศึกษาไทยมีการส่งเสริมค่านิยมรวมศูนย์ว่าด้วยอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติ โดยกระทรวงศึกษาธิการดำเนินบทบาทนี้มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950s หรือตั้งแต่ปี 2493 เป็นต้นมา

 

ญี่ปุ่นชี้ "ชุดนักเรียน" คือสิ่งที่ทำลาย "ความคิดสร้างสรรค์" ของคนไทย ห่วงไปไม่รอดในยุคดิจิตอล

    มาร์วาอัน มาคาน-มาร์คาร์ (Marwaan Macan-Markar) ผู้เขียนรายงานนี้ให้ Nikkei Asian Review เล่าว่า ตนมาประเทศไทยในปี 2544 แล้วรู้สึกแปลกใจที่เห็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่งกายเหมือนกันหมด กล่าวคือ ทุกคนสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวและกางเกงหรือกระโปรงสีดำ ราวกับเป็นโรงเรียนมัธยม อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นมีการแบ่งปันรสนิยมในการสวมเครื่องแบบของนักศึกษาไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา แม้กระทั่งในญี่ปุ่นเอง ด้วยความที่มองว่าการแต่งกายให้สอดคล้องกันนั้นเกื้อหนุนความกลมเกลียวกันในสังคม

ญี่ปุ่นชี้ "ชุดนักเรียน" คือสิ่งที่ทำลาย "ความคิดสร้างสรรค์" ของคนไทย ห่วงไปไม่รอดในยุคดิจิตอล

    ทั้งนี้ ประเทศไทยกำลังพยายามสร้างบุคลากรที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลทหารได้ชูยุทธศาสตร์ “ไทยแลนด์ 4.0” (Thailand 4.0) ดึงดูดการลงทุนในเศรษฐกิจดิจิตอลและเทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับฐานการผลิต แต่ผลการศึกษาของธนาคารโลก (World Bank) ชี้ว่านักเรียนไทย 1 ใน 3 แม้อ่านหนังสือออกแต่ไม่สามารถจับใจความได้

 

 เมื่อเทียบประเทศไทยกับคู่แข่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) อย่างเวียดนาม ซึ่งก็เป็นประเทศที่ส่งเสริมให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบไปเรียนเช่นกัน พบว่า นักเรียนเวียดนามมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงกว่านักเรียนไทย เช่น การสอบความรู้ประชากรอายุ 15 ปีในระดับนานาชาติ (PISA) ที่จัดสอบทุกๆ 3 ปี เยาวชนเวียดนามอันเป็นประเทศที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ทำคะแนนได้สูงกว่าเยาวชนไทยทั้งด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน

 

 บทความของสื่อญี่ปุ่นทิ้งท้ายว่า ประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพการศึกษา มากกว่าเรื่องของความเป็นเอกภาพที่เป็นภาพลักษณ์ภายนอก หาไม่แล้วประเทศไทยจะล้มเหลวในยุคดิจิตอล อันเป็นยุคสมัยที่ส่งเสริมความเป็นปัจเจก ความคิดสร้างสรรค์ และอิสรภาพในการเติบโต

ญี่ปุ่นชี้ "ชุดนักเรียน" คือสิ่งที่ทำลาย "ความคิดสร้างสรรค์" ของคนไทย ห่วงไปไม่รอดในยุคดิจิตอล

    รายงานของ Nikkei Asian Review ยังอ้างถึงความเห็นของ ศศนันท์ บุญยะวนิช (Sasanun Bunyawanich) นักวิชาการคนหนึ่งของไทย เมื่อปี 2561 ที่ระบุว่า การกำหนดเครื่องแบบในมหาวิทยาลัยของไทยสะท้อนวัฒนธรรมว่าด้วยลำดับชั้นและความสอดคล้อง ซึ่งธรรมเนียมการใช้คำสั่งจากบนลงล่างในระบบการศึกษานั้นมีบทบาทในการปลูกฝังแนวคิดชาตินิยมแบบอนุรักษ์นิยมของไทย

เนื้อหาโดย: most posts liekr.com
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รพ.แม่ลาน แจง! "บังชาติ"หรือ"แม่หญิงลี" ไม่ได้เป็นบุคลากรรพ.แม่ลาน หลังบุคคลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด!ครูหนุ่มชาวจีนโพสต์รูปตัวเอง เปรียบเทียบสมัยก่อนเเละหลังทำงานได้ 6 ปี เปลี่ยนไปจริง ๆ 😌เปิดบ้านซุปตาร์ "ลิซ่า BLACKPINK" ที่เกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 200 ล้าน..ฉลองวันเกิดครบ 27 ปีระทึก! เรือยักษ์บรรทุกสินค้าชนสะพานถล่ม ทำให้มีผู้คนและรถยนต์จำนวนมากตกลงสู่แม่น้ำเบื้องล่างภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก ที่ทำรายได้รวมมากถึง 300 ล้านบาทชาวเน็ตเมนต์บูลลี่ "เป๊ก ผลิตโชค"..ต้นสังกัดจ่อดำเนินคดีแล้ว"บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขังลาวขุดพบเจอหีบกะไหล่โบราณ รอการเปิด คาดว่าน่าจะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ!OK ล็อตเตอรี่ รวมเลขดังไว้ที่นี่ 1 เมษายน 2567
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ประเทศที่ระบบการศึกษา มีมาตรฐานดีเยี่ยมมากที่สุดในปัจจุบันรพ.แม่ลาน แจง! "บังชาติ"หรือ"แม่หญิงลี" ไม่ได้เป็นบุคลากรรพ.แม่ลาน หลังบุคคลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
CIB ร่วม อย. ทลายแก๊ง ขายอาหารเสริม อาหารหลอกรักษาโรคร้าย มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท"บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขังWhoscall เปิดให้เช็กข้อมูลหลุด โดยการกรอกเบอร์มือถือ"ทนายตั้ม" หอบหลักฐาน "บิ๊กตำรวจ" รับส่วยให้ "บิ๊กเต่า" ตรวจสอบแล้ว
ตั้งกระทู้ใหม่