หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สหรัฐและสากลตีค่าไม้มีค่าอย่างไร

Share แชร์บอร์ด ข่าววันนี้ เนื้อหาโดย doctorsopon

            ตามที่ทางราชการได้กำหนดให้เอกชนสามารถปลูกไม้มีค่าได้ กรณีนี้จะช่วยในการลดภาษีในฐานะที่ดินเปล่า สร้างรายได้ได้มากมายกว่าการปลูกพืชตามฤดูกาล  แต่ประเด็นสำคัญก็คือ เราควรมาทำความเข้าใจเรื่องไม้มีค่า ไม้ในฐานะสินทรัพย์ชีวภาพซึ่งสามารถถือเป็นหลักประกัน และวิธีการประเมินค่าทรัพย์สินตามมาตรฐานสากล

            ก่อนอื่นเรามาศึกษาถึง พ.ร.บ.สวนป่า (ฉ.2) พ.ศ.2558 (https://bit.ly/2CtqUKS) ซึ่งมีสาระสำคัญคือ

            ม.3: “สวนป่า” หมายความว่า ที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียน. .. เพื่อทําการปลูกและบํารุงรักษาต้นไม้

            ม.4: ที่ดินที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า. . .ต้องเป็น (1) ที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน. . . (2) ที่ดินที่มีหนังสือของทางราชการรับรองว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ในระยะเวลาที่อาจขอรับโฉนดที่ดิน. . .(3) ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน. . .(4) ที่ดินที่มีหนังสืออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติให้บุคคลทําประโยชน์และอยู่อาศัย หรือปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น. . .(5) ที่ดินที่มีใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ให้ทําสวนป่า (6) ที่ดินที่ได้ดําเนินการเพื่อการปลูกป่าโดยส่วนราชการ. . .

            ม.5: ผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดิน. . .ประสงค์จะใช้ที่ดินนั้นทำสวนป่าเพื่อการค้า ให้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนต่อนายทะเบียน

            ม.8/1: ในกรณีที่การส่งออกไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่าจะต้องมีใบสําคัญรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนจากกรมป่าไม้ตามความต้องการของประเทศปลายทาง

 

            ม.9/1: ไม้และของป่าที่ได้มาจากการทำสวนป่าตามพระราชบัญญัตินี้ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ทำสวนป่า ผู้ทําสวนป่ามีสิทธิในการทําไม้ แปรรูปไม้ และเก็บของป่า

            ม.10: ในการทําไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า ผู้ทําสวนป่าอาจตัดหรือโค่นไม้ แปรรูปไม้ ค้าไม้ มีไว้ในครอบครอง และนําไม้เคลื่อนที่ผ่านด่านป่าไม้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต. . .

            ม.12: บรรดาไม้ที่ได้มาจากการทําสวนป่าไม่ต้องเสียค่าภาคหลวง ค่าบํารุงป่า และค่าธรรมเนียม. . .

            ม.13: การเก็บหา ค้า มีไว้ในครอบครอง หรือนําเคลื่อนที่ซึ่งของป่าจากสวนป่า. . . ไม่ต้องขออนุญาตและไม่ต้องเสียค่าภาคหลวงและค่าบํารุงป่า. . .(1) ไม้ รวมทั้งส่วนต่างๆ ของไม้ ถ่านไม้ น้ำมันไม้ ยางไม้. . . (2) พืชต่างๆ ตลอดจนสิ่งอื่น ๆ ที่เกิดจากพืชนั้น (3) ครั่ง รวงผึ้ง น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง และมูลค้างคาว (4) ของป่าอื่น. . .เพื่อประโยชน์ในการรักษาระบบนิเวศ. . . (แต่) เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ระบบความสมดุลของป่าไม้. . .ต้องขอรับใบอนุญาต และกําหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับวิธีการเก็บหาของป่าและปริมาณการเก็บของป่า. . .แต่จะกําหนดค่าภาคหลวงไม่ได้

            ม.18: ให้เพิ่มบัญชีต้นไม้ท้ายพระราชบัญญัตินี้เป็นบัญชีต้นไม้ (58 ชนิดที่สามารถปลูกได้)

            โดยนัยนี้ การปลูกสวนป่าในระยะยาวย่อมคุ้มค่ากว่าการปลูกพืชไร่ระยะสั้นทั่วไป แต่ต้องลงทุนสูง ย่อมทำให้ "นายทุน" ได้ประโยชน์มากและปลูกป่ากันมากขึ้น ผู้ที่จะทำสวนป่าได้ หากเป็นรายย่อยก็อาจไม่คุ้ม  ผู้ที่เช่าที่ดินหรือใช้ที่ดินหลวงเพื่อการทำสวนป่า จะได้รับประโยชน์ที่สุดเพราะต้นทุนต่ำ  แต่ประชาชนทั่วไปก็ได้ประโยชน์ เพียงแต่จะมีปริมาณไม้หรือของป่าไม่มากนัก  นอกจากนั้นยังมีกฎกระทรวงกำหนดให้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกัน พ.ศ. 2561 ระบุ "ให้ไม้ยืนต้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้" ทำให้ผู้ปลูกป่าโดยเฉพาะนายทุนใหญ่ๆ สามารถไปขอสินเชื่อเพื่อการปลูกได้ (https://bit.ly/2Y5kXgo)

            โดยที่ไม้มีค่าเหล่านี้ถือเป็นหลักประกัน เป็นทรัพย์ประเภทหนึ่ง จึงต้องมีการตีค่าทรัพย์สินให้ชัดเจน IAS 41 รศ.ดร. อังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์ (https://bit.ly/2TQ9TEw อธิบายว่า). . .สินทรัพย์ชีวภาพ (Biological Assets) หมายถึงสัตว์หรือพืชที่มีชีวิต. . .ต้องวัดมูลค่ายุติธรรม (โดย) หักประมาณการต้นทุนการขาย ณ จุดขายนับตั้งแต่มีการรับรู้เริ่มต้นจนกระทั่งมีการเก็บเกี่ยว เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือเมื่อมีการรับรู้เริ่มต้น . . .

            มูลค่ายุติธรรม เป็นจํานวนซึ่งสินทรัพย์สามารถแลกเปลี่ยนหรือหนี้สินสามารถตกลงกันได้ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่รอบรู้และเต็มใจในรายการที่เป็นอิสระระหว่างกัน ต้นทุนการขาย ณ จุดขาย รวมค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้นายหน้าและตัวแทนจําหน่ายตามที่กําหนดโดยหน่วยงานกํากับดูแลและตลาดสินค้าเกษตร และรวมค่าภาษีและอากรในการโอน แต่ไม่รวมค่าขนส่งและต้นทุนอื่นที่จําเป็นในการนําสินทรัพย์ไปยังตลาด ในบางกรณีต้นทุนอาจใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรม โดยเฉพาะเมื่อการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพยังมีไม่มากหลังจากการเกิดต้นทุนเริ่มแรกขึ้น เช่น เพิ่งมีการเพาะเมล็ดพันธุ์ของไม้ยืนต้นก่อน . . .

            ในมาตรฐานการประเมินค่าทรัพย์สิน Uniform Standards of Professional Appraisal Practice (USPAP) (https://bit.ly/2WasGro) ของ the Appraisal Foundation ที่กรุงวอชิงตัน ซึ่งผู้เขียนเคยอยู่ใน Global Valuation Forum  ของมูลนิธินี้ กำหนดข้อพึงพิจารณาในการประเมินค่าต้นไม้ว่าต้องพิจารณาอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เสื่อมค่าได้ (ถนน สะพาน ระบบระบายน้ำ ระบบน้ำหยด) เครื่องมือที่ใช้ ที่ดิน และตัวต้นไม้เอง

            ตามข้อกำหนดในสหรัฐอเมริกา USPAP Forestland appraisals พิจารณาถึงประเด็นประโยชน์สูงสุดและดีที่สุด (Highest and Best Use) ทั้งในแง่กายภาพ กฎหมาย ตลาดและการเงิน  ในเงื่อนไขหนึ่ง ที่ดินที่เหมาะสมกับการเกษตรหรือปลูกป่าในเงื่อนไขหรือห้วงเวลาหนึ่ง อาจกลายเป็นที่ๆ เหมาะสมกับการพัฒนาที่อยู่อาศัย เมื่อการขยายตัวของเมืองไปถึงในภายหลังก็ได้

            ในกรณีสวนป่า นักลงทุนที่รอบรู้จะพิจารณาถึงมูลค่าในอนาคตในฐานะที่เป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิจากการขายไม้และผลิตภัณฑ์ทั้งมวลจากไม้  ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการประเมินค่าทรัพย์สิน โดยหามูลค่าปัจจุบันสุทธิตามเวลา เช่น เก็บเกี่ยวในระยะเวลา 30 หรือ 50 ปีที่ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดและตามรอบการปลูกทดแทนใหม่ซึ่งปลูกทดแทนได้ไม่มีที่สิ้นสุด หรือตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน

            สำหรับวิธีการประเมินค่าทรัพย์สินตามมาตรฐานสากล กำหนดไว้ดังนี้:

            1. วิธีต้นทุน โดยการขายท่องซุง ณ สวนป่าตามราคาท้องตลาดในวันที่ปัจจุบัน และลดด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ

            2. วิธีการเปรียบเทียบตลาด ทั้งนี้พิจารณาจากการขายที่ดินที่มีต้นไม้ตามอายุและสภาพที่ใกล้เคียงกัน

            3. วิธีการแปลงรายได้เป็นมูลค่า ซึ่งเป็นการคาดการณ์มูลค่าตามสมมติฐานการคิดลดของรายได้ที่จะได้รับในอนาคตจากการทำสวนป่า เป็นต้น

            ในอนาคตไทยอาจเดินตามแนวทางสหรัฐอเมริกาที่ Forestland (ในทำนองสวนป่า) ส่วนใหญ่เป็นของภาคเอกชน โดยในสหรัฐอเมริกามี Forestland ทั้งหมด 3,099,892 ตารางกิโลเมตร (https://bit.ly/2Ti2yJo) หรือขนาดใหญ่กว่าประเทศไทย 6 เท่า แต่ปรากฏว่า 58% เป็นของภาคเอกชน  ต่อไป "นายทุนใหญ่" จะครองป่า!

 

สหรัฐและสากลตีค่าไม้มีค่าอย่างไร

ตีพิมพ์ครั้งแรก กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2562

http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646861

 

ที่มา : https://bit.ly/2W2ajW3

เนื้อหาโดย: doctorsopon
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
doctorsopon's profile


โพสท์โดย: doctorsopon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
15 VOTES (5/5 จาก 3 คน)
VOTED: nj009, trebsschool, doctorsopon
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สาวสั่งอาหารผ่านแอพฯ แต่ไรเดอร์แชทบอกเธอให้เปลี่ยนร้าน เพราะร้านนี้สกปรกมาก 😌เปิดบ้านซุปตาร์ "ลิซ่า BLACKPINK" ที่เกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 200 ล้าน..ฉลองวันเกิดครบ 27 ปีบ้าไปแล้ว! โพสต์ขายดินสอ 5 ล้าน..อึ้งกว่าคือ มีคนแย่งซื้อถึง 4 คนสารก่อมะเร็ง 4 อย่าง ที่ลูกคุณอาจจะได้รับทุกวันมหาวิทยาลัย ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ มากที่สุดในประเทศ!ลาวขุดพบเจอหีบกะไหล่โบราณ รอการเปิด คาดว่าน่าจะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ!CIB ร่วม อย. ทลายแก๊ง ขายอาหารเสริม อาหารหลอกรักษาโรคร้าย มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ประเทศในทวีปเอเชีย ที่มีมูลค่าการส่งออกทองคำมากที่สุด
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
CIB ร่วม อย. ทลายแก๊ง ขายอาหารเสริม อาหารหลอกรักษาโรคร้าย มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท"บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขังWhoscall เปิดให้เช็กข้อมูลหลุด โดยการกรอกเบอร์มือถือ"ทนายตั้ม" หอบหลักฐาน "บิ๊กตำรวจ" รับส่วยให้ "บิ๊กเต่า" ตรวจสอบแล้ว
ตั้งกระทู้ใหม่