ไปเที่ยว กาดเก๊าจาว ลำปาง กัน
ตลาดเก๊าจาว ถือเป็นตลาดสด ที่สร้างขึ้นถาวร บนที่ทำการของรถไฟ โดยการเช่า เป็นเพียงเพิงมุงใบจาก เมื่อเริ่มต้นสร้าง ในแรกเริ่ม ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นตลาดไม้ถาวร คือ เป็น ร้านที่สร้างจากไม้ พ.ศ.๒๔๙๒ เริ่มสร้างห้องแถวไม้ชั้นเดียวให้คนเช่า ด้านติดกับทางรถไฟ ๓ ล็อค และสร้างอาคารไม้ ๒ ชั้น ล็อคละ ๖ ห้อง เป็นรูปตัวยู รอบตลาด จำนวน ๔ ล็อค โดยตั้งชื่อว่า “ตลาดรัตน์” แต่คนก็ยังเรียกว่า “กาดเก๊าจาว” เพราะมีต้นขะจาว เป็นเครื่องหมาย
ตลาดเก๊าจาว เป็นตลาดขายของเฉพาะตอนเช้า ภาษาท้องถิ่น เรียกว่า “กาดมั่วเช้า” เงินลงทุนสร้างอาคารถาวร และ ตลาดปัจจุบัน ในอดีต เป็นจำนวนเงิน ที่ 390,000 บาท
ตลาดเก๊าจาว เป็นจุดรับซื้อ – ขาย ของ จากชาวบ้าน จากที่ต่าง ๆ ที่เอาของสดมาขาย แม่ค้าจะรับสินค้ามาจากที่ต่าง ๆ เช่น ขุนตาล ปางป๊วย แม่ตาลน้อย มาลงของขายที่สถานีรถไฟ แม่ค้าจะรับมาขายสด ๆ ตลาดนี้ จึงมีคนนิยมมาซื้อสินค้าพื้นเมือง ของสด ๆ และ สัตว์แปลก ๆ จาก พ่อค้า – แม่ค้า ที่ขาย และ ไปจนถึง ผักตามฤดูกาล พ่อค้า – แม่ค้า จะนำ กระบุง – กระจาด มาตั้งขายรอบทางเดินและทั่วไปใน ตลาดเก๊าจาวแห่งนี้
ตลาดเก๊าจาว ตลาดนี้ อาหารสดอร่อย เช่น จิ้นส้ม (แหนม) , แคบหมู (ทอดเดียวนั้น) ,ตำขุนน , แกงกระด้าง, ไส้อั่ว, ยำผักแพะ, คั่วแค,แกงหอย,แกงบอน,ซ้าผัก,ยำหนัง,ยำหน่อไม้, ขนมจีนน้ำเงี้ยว,ข้าวกั้นจิ้น ,น้ำพริกหนุ่ม ฯลฯ .
หมาเหตุ : จากตลาดเก๊าจาว นี้ เดิมมุ่งหน้า เรียบเส้นทางรถไป ขึ้นไปทางด้านตะวันออก ประมาณ ๒๐๐ - ๕๐๐ เมตร ยังมี ร้านอาหาร อร่อย ประเภทสัมตำ และ ยังมี สถานีรถไฟ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘ เสร็จ ปีพ.ศ.๒๔๕๙ ออกแบบโดยวิศวกร ชาวเยอรมันซึ่งได้รับหมอบหมายให้สร้างทางรถไฟสายเหนือในขณะนั้น มีการปรับปรุงครั้งใหญ่ ปีพ.ศ.๒๕๓๘ เปลี่ยนกระเบื่องหลังคา กระเบื้องพื้น ปรับพื้นชั้นล่างทั้งหมด เปิดเส้นทางรถไฟขบวนแรก วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๙ สถานีรถไฟจังหวัดลำปางที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม ให้ได้ชมอีกด้วย อาคารสถานีรถไฟลำปาง ยังคงเป็น อาคารที่ รักษาสภาพเดิมของตัวอาคาร ที่ เหลืออยู่ไม่กี่แห่งในประเทศไทย เป็นรูปแบบสถาปัตย์ สไตล์โคโลเนียน คือ รูปแบบอาคารเป็นสิ่งก่อสร้าง ท ได้รับอิทธิพล จากประเทศที่เป็นเจ้าอาณานิคมในเอเชีย โปตุเกตุ ฮอลลันดา ฝรั่งเศล อังกฤษ
นับตั้งแต่สร้างรถไฟ ถึง จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ.๒๕๖๔ ใน ยุคนั้น ลำปาง ถึงเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้า ที่เชื่อมไปยังเขต จังหวัดภาคเหนือตอนบน.